SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 31
Descargar para leer sin conexión
1
สรุปสาระสาคัญ POL2101(PS190) : VERSION2 04/04/58
จัดทาขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการแบ่งปันความรู้จากพี่สู่น้องรัฐศาสตร์รามคาแหง
สรุปแนวความคิดของนักคิดนี้ เป็นเพียงส่วนสาคัญของแต่ละบท ไม่ใช่ทุกส่วนของบทเรียน
ผู้ที่ลงเรียนวิชา POL2101 (PS190) ควรที่จะอ่านหนังสือเรียนเป็นหลัก
เพราะไม่อาจทราบได้ว่าอาจารย์ผู้สอนจะนาบรรทัดไหนในหนังสือเรียนมาออกข้อสอบ
วิชานี้ไม่มีการออกข้อสอบซ้าๆแบบที่ผ่านมา เป็นการเลือกตอบแบบปรนัย 5 ตัวเลือก
อาจต้องตีความคาถามในข้อสอบของอาจารย์ แล้วดูว่าคาตอบข้อใดตรงกับหลักแนวคิดของนักคิด
หลักการอ่านหนังสือเรียน ควรอ่านเกิน 2 รอบขึ้นไป ชีทแดงสามารถซื้อมาอ่านได้เป็นแนวทางเท่านั้น
โดยอาจจดคาอธิบายในชีทด้วยความเข้าใจของเราเอง
สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณอาจารย์ประจาวิชาที่ได้ให้คาปรึกษาและคาแนะนาต่างๆ
ขอให้ทุกคนโชคดีในการสอบนะคะ
มีข้อสงสัยติดต่อได้ที่ FB:Yanissa Lekmuang (พี่ปาล์ม) ได้เลยนะจ๊ะ 
2
บทนา
1. ความคิดทางการเมือง (Political Though) หมายถึงความคิดที่เกี่ยวกับการเมืองอย่างกว้างๆ มี
แนวโน้มหนักไปด้านพรรณนาและความคิดเชิงประวัติศาสตร์ คือเรียงลาดับว่าใครคิดอย่างไร เมื่อใด
2. ปรัชญาการเมือง (Political Philosophy) เป็นการศึกษาการเมืองในระดับลึกซึ้งและเกี่ยวโยงกับ
สาขาวิชาอื่น เพื่อให้รู้แจ้ง มักจะเน้นหลักจริยธรรมซึ่งเป็นเหมือนหลักการหรือเหตุผลที่ถูกต้องและมี
คุณธรรม ถือเป็นรากฐานของระบบการเมืองแต่ละแบบ มีลักษณะที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์คือเป็นข้อคิดที่
พิสูจน์ไม่ได้
3. อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) หมายถึงความเชื่อและความคิดในระดับที่ไม่ลึกซึ้งนัก
เน้นในเรื่องความเชื่อความศรัทธามากกว่าเหตุผล ไม่จาเป็นต้องเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือยึดหลักศีลธรรม
เสมอไป แต่เป็นความคิดหรือความเชื่อที่ปลูกฝังเพื่อให้เกิดผลทางการเมือง
4. สังกัปทางการเมือง (Political Concepts) หมายถึงความคิดหรือทรรศนะเกี่ยวกับคาศัพท์เชิง
นามธรรมทางการเมือง เช่น ความยุติธรรม จุดมุ่งหมายแห่งรัฐ ผู้ปกครองที่ดี สิทธิ เสรีภาพ เป็นต้น
5. ลัทธิทางการเมือง (Political Ism) เป็นหลักทางการเมืองซึ่งมีลักษณะผสมผสานจากหลายความคิดของ
แต่ละนักคิดหลายท่านมาประกอบกันเป็นแนวคิดเกี่ยวกับระบบการเมือง อาจนาความคิดจากหลาย
ปรัชญามาผสมผสานกันก็ได้ เช่น การปกครองแบบประชาธิปไตยสายกลาง(Polity)ของอริสโตเติ้ลที่นา
หลักการส่วนใหญ่มากจากหนังสือ Statesman และ Laws ของเพลโต
ยอร์ช แคทแท็บ (George Kateb) ให้ความคิดว่าทฤษฎีการเมืองคือข้อเขียนซึ่งเสนอทรรศนะหรือ
แนวความคิดที่คิดว่าดีและถูกต้องเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างทางการเมือง เสนอบรรยากาศการเมืองใน
ความคิดฝัน เช่น ผู้ปกครองในอุดมคติ (The Republic)
รอเบิร์ต อี เมอร์ฟี่ (Robert E. Murphy) ให้ความคิดว่า ทฤษฎีการเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ
วิเคราะห์ความคิดหรือปรัชญาเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง
เอ็ดเวิร์ด ซี สมิธและอาโนลด์ เจ เซอร์เชอร์ (Edward C. Smith & Arnold J. Zurcher) เป็นผู้เสนอคา
จากัดความที่ครอบคลุมลักษณะและขอบเขตของทฤษฎีการเมืองไว้ได้ทั้งหมด โดยให้ความคิดว่า ทฤษฎี
การเมืองคือส่วนทั้งหมดของคาสอน(Doctrine)ที่เกี่ยวข้องกับกาเนิดรัฐ รูปแบบของรัฐ พฤติกรรมของรัฐ
และจุดมุ่งหมายของรัฐ ซึ่งส่วนของคาสอนแบ่งลักษณะออกเป็นประเภทได้ ดังนี้
1.ลักษณะแบบจริยธรรม(Ethical) ได้แก่ส่วนของทฤษฎีการเมืองที่เกี่ยวข้องกับสิ่งใดควรทาหรือไม่
ควรทา ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องในกิจกรรมทางการเมือง เช่นพันธะของคนของซอคราตีส
2.ลักษณะแบบจินตนาการ(Speculative) คือส่วนที่เป็นความคิดฝันหรือมโนภาพที่ยังไม่ปรากฏเป็น
จริงขึ้นมา เช่น การใฝ่ฝันถึงรัฐในอุดมคติหรือการวาดภาพเลิศนครในจินตนาการ
3.ลักษณะเชิงสังคมวิทยา(Sociological) เป็นส่วนของทฤษฎีการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์หรือ
ทดลองเปรียบเทียบเพื่อแสวงหาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับส่วนอื่นๆของสังคมหรือการวิเคราะห์รัฐในรูปของ
การรวมตัวทางสังคม
4.ลักษณะแบบกฎหมาย(Legal) ได้แก่ส่วนที่ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของกฎหมาย สังกัปของกฎหมาย
และสถานทางกฎหมาย ซึ่งเกิดขึ้นมาจากสถาบันต่างๆและเป็นเสมือนเครื่องมือที่จะกระจายและควบคุมการ
ใช้อานาจทางการเมือง
3
5.ลักษณะแบบวิทยาศาสตร์(Scientific) ได้แก่ทฤษฎีที่เกิดจากการสังเกตการณ์ การทดลอง เปรียบเทียบ
พฤติกรรมการเมือง เพื่อจะค้นหาแนวโน้มและความน่าจะเป็น การศึกษาสาเหตุและธรรมชาติของการ
เปลี่ยนแปลงทางการเมือง เป็นต้น
จุดหมายปลายทาง(Ends) หรือวัตถุประสงค์ของทฤษฎีการเมืองส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกันคือ การ
ใฝ่หา “สัมมาร่วม” (Common Good) หรือการสรรค์สร้างสังคมให้มีความสุข(การเห็นพ้องต้องกัน) ซึ่ง
เป็นผลมาจากการดาเนินการทางการเมืองที่ถูกต้องแลมีประสิทธิภาพ สามารถบันดาลความสุขให้เกิดขึ้นแก่
สังคมโดยส่วนรวม แต่ความแตกต่างของทฤษฎีการเมืองของแต่ละนักคิดนั้นจะอยู่ที่วิธีการหรือมรรควิธี
(Means) ที่จะนาไปสู่จุดหมายปลายทางดังกล่าว เช่น รูปแบบการปกครองที่ดี คุณสมบัติของผู้ปกครอง จาน
วนผู้ปกครอง หน้าที่ของรัฐ เป็นต้น
รอเบิร์ต เอ ดอลล์(Robert A. Dahl) กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีกับสถาบันเป็นการโต้แย้ง
ระหว่าง 2 กลุ่มคือ
1. กลุ่มที่อธิบายโดยอาศัยหลักวิตรรกวาทหรือเหตุผลนิยม(Rationalist Explanation)
เชื่อว่าบรรดาสถาบันต่างๆล้วนแต่เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งนั้น คนต่างจากสัตว์อื่นคือเป็นผู้ที่มีเหตุผล สถาบัน
การเมืองจึงเกิดขึ้นจากการหล่อหลอมด้วยเหตุผลของคน
ข้อบกพร่องของกลุ่มนี้ ได้ถูกตั้งคาถามขึ้นว่า หากสถาบันต่างๆ ได้รับการจัดตั้งตามทฤษฎีที่กาหนดไว้และ
ทฤษฎีที่ว่านั้นมาจากเหตุผลแล้ว ทาไมจึงยังมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นภายในหรือระหว่างสถาบัน เพราะเมื่อสถาบัน
เกิดขึ้นจากเหตุผลก็ไม่ควรที่จะมีข้อขัดแย้ง พวกวิตรรกวาทให้คาตอบว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้นจะเกิดขึ้น
เฉพาะกับสถาบันที่มีรากฐานมาจากการใช้เหตุผลที่เลว(Bad Reasoning)เท่านั้น หมายความว่า หาก
ผู้ปกครองเชื่อในทฤษฎีการเมืองที่มาจากเหตุผลที่ไม่ถูกต้อง และก่อตั้งสถาบันนั้นขึ้นตามทฤษฎีนั้น ปัญหาข้อ
ขัดแย้งจึงตามมา
2. กลุ่มที่อธิบายโดยอาศัยหลักสสารวาทหรือวัตถุนิยม(Materialist Explanation)
สถาบันทางการเมืองและทฤษฎีการเมืองต่างๆ ล้วนแต่เป็นผลมาจากบทบาทของผลประโยชน์ทางวัตถุหรือ
เศรษฐกิจ คือสถานภาพทางสังคม รายได้ และทรัพย์สมบัติ คือเศรษฐกิจจะเป็นสิ่งกาหนดการเมืองนั่นเอง
สถาบันเป็นสิ่งกาหนดผลประโยชน์ของแต่ละคน ใครก็ตามที่ได้ผลประโยชน์จากสถาบันก็พยายามที่
จะรักษาสถาบันไว้เพื่อผลประโยชน์ของตน ทฤษฎีเป็นเพียงเครื่องมือค้าจุนสถาบันให้ดูมีความชอบธรรมในการ
ตั้งอยู่เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ที่ได้รับ จึงได้พยายามสร้างทฤษฎีขึ้นมาเพื่อรองรับผลประโยชน์ของตน
ข้อบกพร่องของกลุ่มนี้ ได้ถูกตั้งคาถามขึ้นว่า หากสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจเป็นรากฐานของ
ความคิดมนุษย์ ทาไมชนชั้นเดียวกัน มีสถานทางสังคมเหมือนกัน จึงมีแนวคิดหรืออุดมการณ์ไม่เหมือนกัน เช่น
พวกกรรมกรหรือผู้ใช้แรงงานในอังกฤษ แทนที่จะสนับสนุนพรรคการเมืองพรรคเดียวกัน กลับแบ่งแยก
สนับสนุนทั้งพรรคอนุรักษนิยมและพรรคกรรมกร พวกสสารวาทให้คาตอบว่า เป็นเพราะบางคนเข้าใจใน
สถานะของตนผิด เช่น กรรมกรบางคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าตนเป็นคนชนชั้นกลาง การไม่รู้จักสถานะตนเองทา
ให้ความคิดแตกต่างกันทั้งๆที่เป็นชนชั้นเดียวกัน
*** ภาคผนวกบทความของดร.ทินพันธุ์ นาคาตะ อ่านในหนังสือเรียนนะ(p.13-15) ***
4
นครรัฐกรีก
การศึกษาความคิดของมนุษย์ ต้องศึกษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคมของเจ้าของความคิด
หรือเมธีปรัชญาด้วย เพราะความคิดของมนุษย์ไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ สิ่งแวดล้อมรอบตัว ลักษณะของรัฐมักมี
อิทธิพลต่อความความคิดนั้นๆ
ศึกษาเอเธนส์เพื่อให้เห็นสภาพความเป็นอยู่และทัศนคติของชาวกรีก ดินแดนที่หล่อหลอมนักปรัชญา
คนสาคัญหลายคน
กรีกสมัยก่อนเรียกว่าเฮเลนนิค(Helenic) เป็นช่วงที่อารยธรรมกรีกโบราณรุ่งเรืองที่สุดประกอบด้วย
นครรัฐกระจัดกระจายตามหุบเขาต่างๆและดินแดนแถบชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียน
ระบอบการปกครองสมัยแรกเป็นระบบราชาธิปไตย(Monarchy) ต่อมาเป็นระบบคณาธิปไตย
(Oligarchy)ซึ่งคณะผู้ปกครองเป็นหัวหน้าเผ่าใหญ่ๆในรัฐ และเสื่อมลงกลายเป็นการปกครองในระบบทุชนาธิป
ไตยหรือทรราช(Tyranny) โดยปรากฏแบบขวัญใจประชาชน แล้วปกครองตามอาเภอใจ จนบรรดาประชาชน
ร่วมมือกับขุนนางละผู้ทรงความรู้ทาการปฏิวัติ จนเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตยโดยตรงใน
ศตวรรษที่ 4-5
รัฐที่ยิ่งใหญ่คือเอเธนส์และสปาร์ต้า เคยร่วมมือกันต่อต้านการบุกรุกของชนชาติเปอร์เซีย แต่ต่อมา
กลับกลายเป็นคู่สงครามกันเองใน สงครามเพโลโพนีเซียน(Peloponesian War) จนกลายเป็นสงครามกลาง
เมือง และจบลงด้วยชัยชนะของสปาร์ต้า
ชนชั้นในสังคม แบ่งออกเป็น 3 พวก ได้แก่ พลเมือง(Citizen) ต่างด้าว(Metics) ทาส(Slaves)
1. พลเมือง (Citizen) เป็นชนชั้นที่ สาคัญที่สุด ฐานะในการเป็นพลเมืองได้มาตั้งแต่กาเนิด สิทธิของ
ความเป็นพลเมือง เฉพาะพลเมืองชายที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป มีสิทธิในการปกครอง ส่วนเพศหญิงและชน
ชั้นอื่นๆไม่มีสิทธิในการปกครอง
2. ต่างด้าว (Metics) ได้แก่ คนทั้งหลายที่ไม่ได้มีพ่อแม่เป็นชาวเอเธนส์ ส่วนใหญ่จะเป็นบรรดาพ่อค้า ไม่
มีสิทธิที่จะโอนสัญชาติมาเป็นพลเมือง แต่บางคนได้รับการยอมรับให้เป็นพลเมืองด้วยกระบวนการ
ทางกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ ไม่มีสิทธิในการปกครองของรัฐ ถูกควบคุมด้วยกฎหมายมากกว่าบุคคล
ธรรมดา ต้องเสียภาษีพิเศษ เสียค่าบารุงกองทัพ
3. ทาส (Slaves) เป็นชนชั้นที่ ใหญ่ที่สุดของรัฐ(มีมากที่สุด) ไม่มีส่วนร่วมในการปกครอง มีหน้าที่
สาคัญคือปฏิบัติภารกิจแทนนาย ช่วยให้นายมีเวลาในการที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมของรัฐ
คุณสมบัติของทาส
- มีสิทธิเสรีภาพในการเขียนและพูด
- ปฏิบัติหน้าที่เป็นข้าราชการในระดับต่าได้ เช่น ตารวจ ผู้คุม นักโทษ เพชฌฆาต
มีกฎหมายพิทักษ์ทาสคือ
- ผู้เป็นนายไม่มีสิทธิทาร้ายทาสจนถึงแก่ชีวิต
- ผู้เป็นนายอาจถูกบังคับให้ขายทาสได้ หากว่ากดขี่ข่มเหงมากเกินไป(ซื้อขายได้)
5
- ทุกคนไม่มีสิทธิทาร้ายร่างกายทาสที่ไม่ใช่ทาสของตน
สถาบันการเมือง ประกอบด้วย 4 องค์การ ได้แก่
1. สภาประชาชน (Assembly of Ecclesia) ประกอบด้วยพลเมืองชายทุกคนที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป เป็น
สถาบันที่แสดงเจตจานงสูงสุดของประชาชน ทาหน้าที่นิติบัญญัติ ควบคุมนโยบายต่างประเทศและ
ควบคุมฝ่ายบริหาร ปีหนึ่งมีสมัยประชุม 10 ครั้ง มีองค์การย่อยคือคณะมนตรีห้าร้อย มีสิทธิควบคุม
การทางานของคณะมนตรีห้าร้อย ปฏิเสธข้อเสนอของคณะมนตรีห้าร้อยและสามารถแก้ไขเพิ่มเติม
บทบัญญัติที่ออกมาโดยคณะมนตรีห้าร้อยได้
2. คณะมนตรีห้าร้อย (Council of Five Hundred) เป็นองค์การปกครองประจา ปฏิบัติงานในสมัย
ระหว่างประชุมของสภาและอานวยงานของสภาในวาระประชุม สมาชิกประกอบด้วยพลเมืองชาย
500 คน คัดเลือกโดยวิธีจับสลากจากแต่ละเผ่าเผ่าละ 50 คน สมาชิกแต่ละคนมีวาระการดารง
ตาแหน่งคราวละ 1 ปี ห้ามไม่ให้ดารงตาแหน่ง 2 ปีติดต่อกัน คณะมนตรีห้าร้อยนี้จะใช้ระบบ
หมุนเวียนลัดเปลี่ยนการทางาน แบ่งเป็นคณะกรรมการ 10 คณะ แต่ละคณะมี 50 คน เรียกว่าคณะ
มนตรีห้าสิบ โดยห้ามไม่ให้ดารงตาแหน่งนี้ได้เกิน 1 วัน
3. ศาล (Court) เป็นสถาบันที่เป็นตัวแทนแสดงอานาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์ของประชาชน ประกอบด้วย
ชาวเอเธนส์ชายที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป จานวน 6,000 คน คัดเลือกโดยวิธีจับสลากจากแต่ละเผ่าเผ่าละ
600 คน พิจารณาตัดสินคดีโดยใช้ระบบลูกขุน(Jury) ทาหน้าที่เป็นผู้พิพากษาทั้งคดีแพ่งและอาญา คา
ตัดสินของศาลถือเป็นเด็ดขาด ไม่มีการอุทธรณ์ การเป็นสมาชิกของศาลต้องทาด้วยความสมัครใจ
เพราะเงินตอบแทนน้อย ทาให้สมาชิกของศาลส่วนใหญ่มีแต่คนชราและมีแต่ผู้ที่ไม่มีความสามารถ
อย่างแท้จริง
4. คณะสิบนายพล(Ten Generals) เป็นตาแหน่งหน้าที่ทางการทหาร แต่ก็มีอิทธิพลและอานาจทางการ
เมืองการปกครอง ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง หน้าที่เน้นหนักไปทางนโยบาย
ต่างประเทศและทางทหาร หัวหน้านายพลเปรียบเสมือนนายกรัฐมนตรี
6
ซอคราตีส (Socrates : 473-399 BC)
นักปรัชญาการเมืองผู้เป็นอาจารย์ของเพลโต นิยมเผยทรรศนะของเขาด้วยวิธีการสนทนาโต้ตอบใน
รูปแบบของการตั้งปัญหาและอภิปรายถกเถียงกันจนกระทั่งพบข้อสรุป(Dialogus) เขาจบชีวิตลงด้วยการ
ดื่มยาพิษตามคาพิพากษาของศาลเอเธนส์ด้วยข้อหาพยายามสร้างลัทธิศาสนาของตนเองและชักจูงเยาวชนไป
ในทางที่ผิด
ซอคราตีสไม่ได้เขียนหนังสือออกมาและแนวคิดของเขาก็ไม่ได้มีการรวบรวมไว้เป็นหนังสือ แต่เรา
สามารถศึกษาความคิดของเขาได้จากงานเขียนของเพลโต ที่มักกาหนดให้เขาเป็นตัวเอกของเรื่อ สนทนา
โต้ตอบกับคนที่แสดงตนว่าเป็นผู้รู้ทั้งหลาย และสุดท้ายมักถูกซอคราตีสหักล้างข้อกล่าวอ้างของผู้รู้เหล่านั้นใน
ที่สุด ตัวอย่างวรรคทองของซอคราตีสคือ “สิ่งที่ข้าพเจ้ารู้ คือข้าพเจ้าไม่รู้อะไรเลย” “ชีวิตที่ปราศจากการ
พินิจพิเคราะห์ เป็นชีวิตที่ไม่ควรค่าแก่การดารงอยู่”
ทรรศนะของซอคราตีส
เชื่อในความเป็นอมตะของวิญญาณ(ไม่เสื่อมสลาย) คนเราเมื่อตายแล้ววิญญาณจะออกจากโลกนี้ไปยัง
อีกโลกหนึ่งซึ่งดีกว่าและมีค่าแก่วิญญาณมากกว่า สิ่งที่หล่อหลอมวิญญาณให้ได้ดีคือ การใช้ชีวิตให้ถูกต้องตาม
ทานองคลองธรรม เครื่องมือที่ใช้แสวงหาความผิดความถูกคือเหตุผล
จุดมุ่งหมายของชีวิตคือการประพฤติตนตามหลักทานองคลองธรรม(Moral) ที่สามารถค้นพบได้โดย
อาศัยคุณธรรม(Virtue) ซึ่งได้แก่การเป็นผู้ที่มีความรอบรู้(Knowledge) ที่จะสามารถแยกแยะความดีชั่ว ถูกผิด
และสามารถปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับหลักของความดีและความถูกต้อง แม้ในที่สุดแล้วจะต้องถึงกับสละชีวิต
ตนเองก็ตาม
รัฐเป็นสิ่งที่ดีและจาเป็นเพราะเป็นแหล่งที่มนุษย์สามารถเรียนรู้คุณธรรมและค้นพบชีวิตที่ดี เป็น
สถานที่ที่สนองความต้องการหลากหลายของคนเพราะการอยู่ร่วมกันในรัฐนั้นทาให้เกิดการแบ่งงานกันทา หาก
ปราศจากรัฐ มนุษย์ย่อมไม่มีโอกาสที่จะเรียนรู้คุณธรรมและมีชีวิตที่ดีได้
รัฐที่จะสามารถเอื้ออานวยให้พลเมืองค้นพบและปฏิบัติตนตามหลักแห่งความถูกต้องได้จะต้องเป็นรัฐ
ที่ปกครองโดยผู้ที่ความฉลาดรอบรู้ มากกว่ารัฐที่ปกครองโดยเสียงส่วนใหญ่เพราะมักเป็นการปกครองโดย
รัฐบาลที่ปราศจากคุณธรรมและความยุติธรรม
กฎหมายแห่งรัฐ คือกติกาข้อบังคับที่ทาให้คนในสังคมมีชีวิตที่ถูกต้องตามทานองคลองธรรม กฎหมาย
ที่แท้จริงมากจากความฉลาดหรือความรอบรู้
ชอบการปกครองแบบอภิชนาธิปไตย (Aristocracy)เน้นคุณธรรมในการปกครองคือความเฉลียวฉลาด
เพราะเขาไม่เชื่อว่าคนเราจะฉลาดเท่ากัน ผู้ปกครองที่ไม่ฉลาด ไม่สามารถสร้างคุณธรรมได้
7
กลุ่มซอฟฟิสต์(Sophists)
ซอฟฟิสต์มากจากคาว่า โซเฟีย(Sophia) ที่หมายถึงปัญญาหรือความฉลาดรอบรู้ ซอฟฟิสต์จึง
หมายความว่า “ผู้ที่มีปัญญาหรือความรอบรู้”
กลุ่มซอฟฟิสต์เป็นชาวต่างด้าว มักหาเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างสอนวาทศิลป์หรือศิลปะแห่งการใช้
ถ้อยคาจูงใจคน(Rhetorics) ให้กับพลเมืองในนครรัฐเอเธนส์ ซอฟฟิสต์ที่มีชื่อเสียงได้แก่ โปรทากอรัส
(Protagoras) จอเจียส(Gorgias) โปรดิคุส(Prodicus) ฮิปเปียส(Hippias) ธราสิมาคัส(Thrasymachus) เป็น
กลุ่มแรกที่ศึกษาเรื่องคนและภายหลังผันตนมาทาอาชีพทนายความ
ซอฟฟิสต์เชื่อมั่นในแนวคิดแบบปัจเจกชนนิยม(Individualism)อย่างสุดขั้ว โปรทากอรัสกล่าวว่า
“มนุษย์คือเครื่องวัดของทุกสิ่ง” หมายความว่าในทรรศนะของเขา ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าความจริงที่เที่ยงแท้สมบูรณ์
(Ultimate reality)นอกเหนือไปจากความเห็นหรือการตัดสินของมนุษย์
ซอฟฟิสต์เห็นว่า มนุษย์ไม่ใช่สัตว์สังคม โดยธรรมชาติมนุษย์เห็นแก่ตัว ไม่ชอบรวมกันเป็นสังคม และ
ไม่เท่าเทียมกันในเรื่องของกาลังอานาจ
รัฐไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หากแต่มีรากฐานมาจากมนุษย์ผู้มีอานาจก่อตั้งขึ้น ดังนั้นจุดมุ่งหมาย
ที่แท้จริงของรัฐก็คือผลประโยชน์ของผู้ปกครอง
ในทรรศนะของซอฟฟิสต์ ความยุติธรรมเป็นเรื่องของปัจเจกชนแต่ละคน ซึ่งมีสิทธิจะยึดถือสิ่งที่
ยุติธรรมสาหรับคน โปรทากอรัสกล่าวว่า “สิ่งที่บุคคลหนึ่งเห็นว่าเป็นความยุติธรรมก็เป็นความยุติธรรม
เฉพาะตัวของเขาเท่านั้น สิ่งที่เห็นว่าเป็นความยุติธรรมของเมืองหนึ่งก็เป็นความยุติธรรมเฉพาะของเมืองนั้น”
ธราสิมาคัสได้ให้ความหมายของความยุติธรรมไว้ว่า “ความยุติธรรมคือผลประโยชน์ของผู้ที่แข็งแรงกว่า”
รัฐที่ดีต้องหลีกเลี่ยงที่จะบัญญัติกฎหมายแห่งธรรมชาติ ด้วยการลดบทบาทไม่ยุ่งเกี่ยวกับคนให้มากนัก
คนดีที่กลุ่มซอฟฟิสต์ยกย่องได้แก่ คนที่รู้จักการหลบหลีก ไม่อยู่กับร่องรอย และรู้จักฉวยโอกาส
*** ภาคผนวก(เพริคลิส) อ่านในหนังสือเรียนนะ(p.27-31)***
8
เพลโต(Plato : 427-347 BC)
เพลโตเกิดในครอบครัวของชนชั้นสูงในนครรัฐเอเธนส์ เป็นศิษย์และสหายต่างวัยของซอคราตีส เขา
ได้ก่อตั้งสานักศึกษาที่ชื่อว่า อเค็ดเดมี่(Academy) ซึ่งถือกันว่าเป็นวิทยาลัยแห่งแรกของโลก
เพลโตเคยถูกลงโทษให้เป็นทาสที่เมืองไซราคิวส์ เมื่อเขาได้สร้างความขุ่นเคือง(โกรธ)ให้กับพระเจ้า
ไดโอนีเซียสที่ 1 ด้วยการก้าวก่ายแนะนาพระองค์ในเรื่องการปกครอง แต่ภายหลังบรรดาเพื่อนได้ไถ่ตัวเขา
ออกมา
เพลโตได้ให้การศึกษาในเรื่องของวิทยาศาสตร์และปรัชญาแก่บรรดาลูกศิษย์ที่สมัครเข้าเรียน ผลงาน
ของเพลโตมีจานวนมาก วิธีการเขียนหนังสือของเขามักจะใช้รูปแบบของการสนทนาโต้ตอบที่ได้รับอิทธิพลมา
จากซอคราตีสผู้เป็นอาจารย์
ผลงานชิ้นสาคัญของเขาได้แก่ อุตมรัฐ(The Republic) รัฐบุรุษ(The Statesman) และกฎหมาย(The Law)
เพลโตได้รับการยอมรับว่าเป็นเมธีการเมืองที่ยิ่งใหญ่ แนวความคิดและหลักปรัชญาของเขาได้รับความ
สนใจในการนามาอภิปรายโดยเมธีสมัยต่อๆมาเสมอ ดังที่อัลเฟร็ด ไว้ท์เฮด ได้กล่าวอย่างยกย่องว่า ปรัชญา
ตะวันตกทั้งปวงล้วนเป็นการอธิบายเพิ่มเติมต่อปรัชญาของเพลโตทั้งสิ้น
เพลโตเห็นว่าธรรมชาติของมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่เกิดมาเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความ
ช่วยเหลือนี้จะกระทาได้ ก็ต่อเมื่อเขาได้ใช้ชีวิตอยู่ภายในรัฐเท่านั้น
มนุษย์ไม่สามารถสอนตัวเองให้รู้จักเหตุผลหรือความยุติธรรมได้ มนุษย์จะสามารถเรียนรู้คุณสมบัติ
เหล่านี้ได้จากเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
ดังนั้นการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ จะบรรลุได้ก็ต่อเมื่ออาศัยอยู่ภายในรัฐ ความเป็นพลเมืองดีและชีวิต
ที่ดีจึงไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เนื่องจากการจะมีชีวิตที่ดีนั้นในเบื้องต้นต้องเข้ามาอยู่ในรัฐ หรือเป็น
พลเมืองที่ดีเสียก่อน
ความยุติธรรม(Justice) หมายถึงสิ่งที่เป็น “สัมมาร่วม”(Common Good) ที่จะทาให้เกิด
ความสุขต่อปัจเจกบุคคลและรัฐ อันเป็นผลมาจากการแบ่งแยกของชนชั้นและหน้าที่ โดยที่แต่ละคนได้ปฏิบัติ
หน้าที่อันสอดคล้องกับความสามารถตามธรรมชาติของตน ความยุติธรรมจึงเป็นคุณธรรมของบุคคล และ
คุณธรรมสาธารณะที่สอดคล้องกลมกลืนกัน(Harmony)
ความยุติธรรมระดับบุคคล เพลโตอธิบายว่าจิตใจของมนุษย์ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ
ได้แก่ ตัณหา ความกล้าหาญ และเหตุผล โดยจิตมนุษย์จะถูกครอบงาด้านใดด้านหนึ่งเสมอ หากจิตใจผู้ใดถูก
ครอบงาด้วยเหตุผล ผู้นั้นเหมาะสมที่จะเป็นผู้ปกครอง หากถูกครอบงาด้วยความกล้าหาญ ผู้นั้นเหมาะสมที่จะ
เป็นทหาร และหากถูกครอบงาด้วยตัณหา ผู้นั้นเหมาะสมที่จะเป็นผู้ผลิต
9
ความยุติธรรมจะปรากฏในบุคคล เมื่อเขารู้จักความอดกลั้นหรือเป็นผู้มีขันติธรรม อันเป็นคุณธรรมที่
จะทาให้เขายอมรับและแสดงบทบาทตามคุณธรรมประจาจิตของตนและไม่ก้าวก่ายหน้าที่ของผู้อื่น
ความยุติธรรมระดับรัฐ เพลโตเห็นว่ารัฐมีคุณธรรมคล้ายกับจิตใจมนุษย์ โดยคุณธรรมของรัฐมี 3
ประการได้แก่ ปัญญาที่หมายถึงความรู้ในศิลปะแห่งการปกครอง ความกล้าหาญ และขันติธรรม
ความยุติธรรมของรัฐจะบังเกิดก็ต่อเมื่อคุณธรรมของรัฐแสดงออกอย่างถูกต้องเหมาะสมคือ ผู้มีปัญญา
ได้เป็นผู้ปกครอง ผู้ที่มีความกล้าหาญได้เป็นผู้ป้องกันรัฐ(ทหาร) และผู้ที่เต็มไปด้วยตัณหา มีขันติธรรม ซึ่งไม่
ก้าวก่ายในหน้าที่ปกครองและป้องกันรัฐได้เป็นผู้ผลิตหรือช่างประดิษฐ์
อุตมรัฐหรือรัฐในอุดมคติ (Ideal State) : เขียนไว้ในหนังสือ The Republic
รัฐที่ดี = รัฐที่มีความยุติธรรมเป็นหลัก
กาหนดให้ราชาปราชญ์(ผู้ทรงปัญญาที่รู้ซึ้งถึงความจริงและมีเหตุผล) เป็นผู้ปกครอง ซึ่งเป็นผู้ที่รู้ซึ้ง
ถึงศิลปะแห่งการเมือง มีความรอบรู้ในการปกครอง ผู้ทรงปัญญาจะค้นพบสิ่งนี้ได้ด้วยเหตุผล
เชื่อว่าสิ่งชั่วร้ายจะหายไปจากรัฐหากว่านักปราชญ์ได้เป็นกษัตริย์ผู้ปกครอง
ราชาปราชญ์(นักปรัชญา) คือผู้ที่กระหายความรู้ อยากรู้ทุกเรื่องไม่ใช่ส่วนใดส่วนหนึ่ง อุทิศตัว
ให้กับการค้นคว้าหาความรู้อย่างไม่มีวันจบสิ้น
รัฐอาจจะปกครองแบบราชาธิปไตยหรืออภิชนาธิปไตยก็ได้ แต่ต้องการให้อานาจการปกครองขึ้นอยู่
กับคณะหรือกลุ่มบุคคลมากกว่าที่จะให้อยู่กับคนเพียงคนเดียวหรือ 2-3 คนเพราะเกรงว่าจะเกิดการใช้
อานาจในทางไม่สุจริต
การศึกษาเป็นเครื่องมือในการอบรมพลเมืองและเลือกสรรคนในรัฐให้เหมาะสมกับหน้าที่(แบ่งแยก
ชนชั้น) มี 3 ขั้นคือ
- ขั้นต้น (บังคับถึงอายุ 18 ปี) ต่อด้วยอบรมทางทหาร 2 ปี เน้นพลศึกษา&ดนตรี สอบไม่ผ่านขั้นแรกไปเป็น
ผู้ผลิต
- ขั้นที่2 ใช้เวลา 15 ปี โดย 10 ปีแรก (20-30ปี) ศึกษาคณิตศาสตร์&ดาราศาสตร์ สอบไม่ผ่านต้องไปเป็น
ทหารหรือผู้ป้องกันรัฐ ถ้าสอบผ่านต่ออีก 5 ปี (30-35ปี) ศึกษาวิชาปรัชญา แสวงหาความดีและสัจธรรม
- ขั้นสุดท้าย จะกาหนดให้ทางานในตาแหน่งบริหารทางพลเรือนและทหารอีก 15 ปี (35-50ปี) เป็นการ
ทดสอบภาคปฏิบัติ
10
ชนชั้นผู้ปกครอง นักรบ และทหาร ต้องไม่มีทรัพย์สินส่วนตัวและห้ามมีครอบครัว เพราะจะเป็น
การปลูกฝังลัทธิปัจเจกชนนิยม(เชื่อมั่นในตัวเอง) ทาให้เกิดการแก่งแย่งชิงดีเพื่ออานาจทางการเมืองในหมู่ชน
ชั้นผู้ปกครองและชนชั้นทหาร
การสืบพันธุ์กระทาได้ แต่ห้ามมีความสัมพันธ์ในแบบผัวเมีย ประเวณีได้เป็นครั้งคราวเพื่อให้ได้พันธุ์ที่ดี
ที่สุด เด็กที่เกิดมาจะอยู่ในการเลี้ยงดูของรัฐ (ไม่มีระบบพ่อแม่ลูก)
เพื่อควบคุมขนาดและคุณภาพของประชากร เพลโตยอมรับการคุมกาเนิด ทาแท้ง และทาลายทารก
ยอมรับความเสมอภาคระหว่างชายหญิง ความแตกต่างของชายหญิงอยู่ที่ ชายเป็นเหตุแห่งการ
กาเนิดและหญิงเป็นผู้ให้กาเนิด นอกนั้นธรรมชาติสร้างให้เท่าเทียมกัน สิทธิต่างๆในรัฐและการเป็นผู้ปกครอง
เพศหญิงก็พึงมีพึงเป็นได้ถ้าความสามารถถึง
ไม่มีกฎหมายในรัฐอุดมคติ ผู้ปกครองคือราชาปราชญ์ ซึ่งมีความรอบรู้และเฉลียวฉลาดอยู่แล้ว ไม่
จาเป็นต้องมีกฎหมาย หากกาหนดให้มีกฎหมายขึ้นมา ราชาปราชญ์ก็หมดความจาเป็น
ประยุกตรัฐ (Practical State)หรือรัฐที่เป็นไปได้จริง : เสนอไว้ในหนังสือ The Laws
รัฐที่ดีที่สุด คือรูปแบบผสมระหว่างคณาธิปไตยกับประชาธิปไตย และหันมาใช้กฎหมาย(กฎทั่วไป
ไม่มุ่งเฉพาะบุคคล)แทนที่ราชาปราชญ์ในอุดมคติ โครงสร้างการปกครองเป็นลักษณะผสมระหว่าง
คณาธิปไตยกับประชาธิปไตย(ความเฉลียวฉลาดกับจานวน)
ขนาดของรัฐ ต้องอยู่ห่างจากชายทะเลเพื่อป้องกันการสร้างกองทัพและการค้าขาย(มองว่า
กองทัพเรือด้อยกว่ากองทัพบก)
ต่อต้านลัทธิพาณิชนิยม(ค้าขาย)เพราะการค้าขายจะให้รัฐมีแต่คนที่แสวงหาแต่กาไรมากกว่าการ
ทาประโยชน์ให้รัฐ ห้ามพลเมืองทาการค้าขายยกเว้นพวกต่างด้าว ชอบให้ทากสิกรรม จะได้ไม่รวยเกินไป
กาหนดประชากรว่าควรจะคงที่ที่ 5,040 คน ถ้ามีแนวโน้มว่าประชากรเพิ่มให้ควบคุมโดยการ
คุมกาเนิดหรือการอพยพ
กาหนดที่ดินแบ่งเป็น 5,040 ส่วนเท่าจานวนประชากร มอบให้พลเมืองคนละ 1 ส่วน(1 แปลง) ไม่มี
การเปลี่ยนแปลงเจ้าของเว้นให้ต่อกับทายาท มีทรัพย์สินอื่นได้รวมแล้วไม่เกิน 4 เท่าของมูลค่าที่ดิน 1 แปลง
ถ้ามีเกินต้องส่งให้รัฐ
11
แบ่งชนชั้นในสังคมเป็น 4 ชนชั้นตามค่าของทรัพย์สินที่มี คือ
ชนชั้นที่ 1 = ผู้มีทรัพย์สินเท่ากับค่าที่ดิน 1 แปลง
ชนชั้นที่ 2 = ผู้มีทรัพย์สินเท่ากับค่าที่ดิน 2 แปลง
ชนชั้นที่ 3 = ผู้มีทรัพย์สินเท่ากับค่าที่ดิน 3 แปลง
ชนชั้นที่ 4 = ผู้มีทรัพย์สินเท่ากับค่าที่ดิน 4 แปลง
รัฐธรรมนูญ กาหนดให้พลเมืองทุกคนทาการรบป้องกันรัฐ มีสิทธิเป็นสมาชิกของสภา มีอานาจ
เลือกตั้งคณะมนตรี 360 และตุลาการ (ขึ้นอยู่กับจานวนทรัพย์สินของแต่ละคน)
กาหนดให้มี คณะมนตรี 360 โดยแบ่งที่นั่งออกเป็นตัวแทนจากชนชั้นทั้ง 4 ชนชั้นละเท่าๆกัน (ชั้นละ
90คน) แต่ละชนชั้นเป็นผู้เลือกคนในชนชั้นเดียวกับตนให้เข้าไปเป็นคณะมนตรี 360 ชนชั้นมั่งคั่งจึงมีสิทธิทาง
การเมืองมากกว่าเพราะคนรวยมีน้อย แต่ได้รับสิทธิให้มีจานวนผู้แทนเท่ากันกับทุกชนชั้น (แสดงถึงความ
ไม่เท่าเทียมกันทางการเมือง)
บทลงโทษผู้ที่นอนหลับทับสิทธิ์ไว้ว่า ชนชั้นที่มีทรัพย์สินมากหากไม่ไปลงคะแนนเสียงก็จะถูกลงโทษ
มากกว่าผู้ที่มีทรัพย์สินน้อย เว้นชนชั้นต่าสุด ถ้าไม่ไปลงคะแนนเสียง จะไม่ถูกลงโทษ
การกาหนดให้ชนชั้นร่ารวยมีสิทธิมากกว่าชนชั้นคนจนนั้นเป็นลักษณะของคณาธิปไตย แต่การที่
ให้ทุกชนชั้นมีส่วนร่วมในการปกครองเป็นลักษณะของประชาธิปไตย
เพลโตใช้ทรัพย์สินเป็นตัววัดความสามารถของคน
ฐานะของผู้หญิงเสมอภาคเท่ากันกับผู้ชาย (แต่ไม่ได้บอกว่าลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้หรือเข้ารับราชการได้)
ระบบครอบครัว เพลโตเสนอว่าเพื่อความสมานฉันท์ (Harmony) ภายในรัฐ ควรแต่งงานใน
รูปแบบของการผสมผสาน เช่นคนรวยแต่งกับคนจน คนแข็งแรงแต่งกับคนอ่อนแอ (ไม่ได้บังคับแค่เสนอ)
การศึกษาเป็นเรื่องของการบังคับ วิชาที่นามาสอนคือพลศึกษา ดนตรี และวรรณคดี มี
รัฐมนตรีว่าการศึกษาเป็นตาแหน่งสูงสุดในบรรดาเจ้าหน้าที่รัฐ
เสนอแนวความคิดเรื่องการปกครองโดยคน(Rule of Man) โดยให้มีคณะผู้ปกครองพิเศษขึ้นมาอีก
เพื่อทาหน้าที่ควบคุมตาแหน่งที่มาจากการเลือกตั้ง เรียกว่าคณะมนตรีรัตติกาล (Nocturnal Council)
คณะมนตรีรัตติกาล ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่นผู้พิพากษา รัฐมนตรีการศึกษา พระ ต้องมี
อายุขั้นต่า 50 ปี ต้องศึกษาวิชาดาราศาสตร์ (เชื่อว่าเป็นศาสตร์ที่นาคนเข้าใกล้พระเจ้า)
12
รูปแบบการปกครอง
1. ในหนังสือ The Republic ว่ารัฐในอุดมคติที่ปกครองโดยราชาปราชญ์ หากเสื่อมแล้วก็จะเสื่อมลง
เป็น 4 ขั้นคือ
Ideal State ปกครองโดยราชาปราชญ์  ระบอบวีรชนาธิปไตย (Timocracy)  ระบอบคณาธิปไตย
(Oligarchy)  ระบอบประชาธิปไตย (Democracy)  ทุชนาธิปไตย (Tyranny)
Timocracy = ปกครองโดยทหาร
Oligarchy = ปกครองเพื่อความสมบูรณ์พูนสุขของตน
Democracy = เหมือนอนาธิปไตย(Anarchy) คือสภาวะที่ไม่มีรัฐบาล ขาดผู้ปกครอง สับสนวุ่นวายซึ่งเกิด
จากการกระหายเสรีภาพ
Tyranny = ปกครองตามอาเภอใจ
2. ในหนังสือ The Laws ให้ความสาคัญกับกฎหมาย ใช้กฎหมายจัดประเภทของระบบการปกครอง
มี 2 ประเภทคือ
รัฐที่มีกฎหมาย ระบบที่ดีที่สุดคือ ราชาธิปไตย (Monarchy) ดีน้อยที่สุดคือ ประชาธิปไตย (Polity)
รัฐที่ไม่มีกฎหมาย ระบบที่เลวที่สุดคือ ทุชนาธิปไตย Tyranny) เลวน้อยที่สุดคือ ประชาธิปไตย
(Democracy)
จำนวน มีกฎหมำย ไม่มีกฎหมำย
คนเดียว รำชำธิปไตย(Monarchy) ทุชนำธิปไตย(Tyranny)
คนส่วนน้อย อภิชนำธิปไตย(Aristocracy) คณำธิปไตย(Oligarchy)
คนส่วนมำก ประชำธิปไตย(Polity) ประชำธิปไตย(Democracy)
13
อริสโตเติ้ล(Aristotle 385-322BC)
เกิดที่เมืองสตากิรัส เป็นบุตรของนายแพทย์ประจาราชสานักมาเซโดเนีย และศึกษาในสานักอเค็ดเดมี่
ของเพลโตอยู่เป็นเวลาถึง 20 ปี มีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระเจ้าฟิลลิปและได้เป็นครูของเจ้าชายอเล็กซานเดอร์
จนกระทั่งพระเจ้าฟิลลิปสิ้นพระชนม์
หลังจากนั้นกลับไปตั้งสานักศึกษาของตนชื่อลิเซียม(Lyceum)ในเอเธนส์ ผลงานชิ้นสาคัญคือ
การเมือง(Politics) จริยศาสตร์แห่งนิโคมาเซี่ยม(Nicomachean Ethics) และรัฐธรรมนูญของเอเธนส์(The
Constitution of Athens)
อริสโตเติ้ลมีความสนใจอย่างกว้างขวางในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นตรรกวิทยา ภูมิศาสตร์ ปรัชญา
จิตวิทยา ฟิสิกส์และชีววิทยา
เขาได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ จากการที่เขาใช้วิธีการตรวจสอบ(Investigation)และ
สังเกตการณ์(Observation)ในการแสวงหาความรู้ทางการเมือง
ผลงาน “รัฐธรรมนูญของเอเธนส์” ถือเป็นรากฐานสาคัญของการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ
(Comparative Politics) ในสาขาวิชารัฐศาสตร์
อริสโตเติ้ลถือว่ามนุษย์เป็น “สัตว์การเมือง”หรือสัตว์ที่มีธรรมชาติอยู่ในเมืองหรือรัฐ เพราะมนุษย์มี
สัญชาตญาณที่จะแสวงหาอานาจและสิ่งที่จะตอบสนองความปรารถนาของตน ซึ่งจะพบได้ก็ต่อเมื่ออาศัยอยู่ใน
รัฐเท่านั้น
รัฐเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและเป็นสิ่งจาเป็น มนุษย์จะค้นพบจุดหมายของชีวิตได้ก็แต่ในรัฐ
เท่านั้น รัฐเปรียบเสมือนแหล่งพานักตามธรรมชาติ
อริสโตเติ้ลเห็นว่า แม้ต้องอยู่ภายใต้รัฐที่ปกครองโดยทรราชก็ยังดีกว่าอยู่ภายนอกรัฐ หากปราศจาก
รัฐมนุษย์ก็ไม่ต่างอะไรจากสัตว์ป่า สิ่งที่สร้างคนให้เป็นสัตว์โลกที่มีเหตุผล คือความสามารถในการพูดและ
การสมาคมกับคนอื่นๆ
เป้าหมายของคนกับรัฐคือ การมีชีวิตที่สมบูรณ์
เห็นความแตกต่างของคนในเรื่อง สติปัญญาและร่างกาย ที่ทาให้คนแต่ละคนมีฐานะทางสังคม
ต่างกัน ธรรมชาติกาหนดให้คนบางคนเกิดมาเป็นนายบางคนเป็นทาส เป็นสิ่งที่ยุติธรรมแล้วเมื่อคานึงถึงว่า
คนเราแตกต่างกันในด้านสติปัญญา
พลเมืองคือบุคคลผู้มีส่วนร่วมในการปกครอง มีคุณสมบัติคือมีความสามารถที่จะปกครองและเป็นผู้
ถูกปกครอง (ทาสไม่ใช่พลเมือง)
14
กฎหมายเป็นสิ่งจาเป็น เพราะเป็นสิ่งที่บันดาลความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในรัฐและสร้างสันติสุขให้กับ
คนในรัฐ เป็นสิ่งที่พันธนาการคนในสังคมไว้ด้วยความสานึกในหน้าที่ของตนต่อประชาคมและเพื่อนร่วมสังคม
ในทรรศนะของอริสโตเติ้ล คนดี(Good Man)กับพลเมืองดี(Good Citizen)นั้นต่างกัน การเป็น
พลเมืองดีนั้นขึ้นอยู่กับสัมมาแห่งกฎหมายของรัฐที่เขาสังกัดอยู่ หากบุคคลนั้นปฏิบัติตนสอดคล้องกับ
บทบัญญัติแห่งรัฐอย่างดีเลิศ บุคคลนั้นได้ชื่อว่าเป็นพลเมืองดี
ส่วนการเป็นคนดี มนุษย์ทุกคนย่อมใช้สัมมาเดียวกัน ดังนั้นมีแต่ผู้ปกครองเท่านั้นที่สามารถเป็นคนดี
และพลเมืองดีได้ในเวลาเดียวกัน เพราะสัมมาที่ใช้วัดผู้ปกครองที่ดีกับคนดี คือสัมมาเดียวกัน
ความยุติธรรมเป็นสิ่งที่จะส่งเสริมผลประโยชน์ร่วม (Common Good) จะบังเกิดขึ้นเมื่อคนที่เท่า
เทียมกันได้รับในสิ่งเดียวกัน ความยุติธรรมทาให้ความดีในรัฐปรากฏขึ้น
1. ความยุติธรรมในการแบ่งสันปันส่วน = การที่คนเราถูกกาหนดให้ทาหน้าที่ต่างๆกัน ไปตามคุณค่า (Merits)
ของแต่ละคนคือเป็นสิ่งที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกัน ถ้ามีทรัพย์สมบัติไม่เท่ากันก็เป็นความยุติธรรม เพราะเป็นการ
แบ่งสันปันส่วนตามความสามารถในการรวบรวมของแต่ละคน
2. ความยุติธรรมจากความเสมอภาคทางกฎหมาย = ในเรื่องเกี่ยวกับการพิจารณาจากกฎหมาย ทุกคนต้อง
ได้รับการปฏิบัติโดยเท่าเทียมกัน แม้จะมีสถานะทางสังคมต่างกัน
ความยุติธรรมมี 2 ความหมายคือ Lawfulness (ปกครองด้วยกฎหมายหรือกระทาการในขอบเขตของ
กฎหมายหรือปฏิบัติตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่) และ Fairness (ใครควรจะได้รับสิ่งใดก็ให้เขาได้รับสิ่งนั้น :
Giving Each Man His Due)
อุตมรัฐหรือรัฐในอุดมคติ (Ideal State)
รัฐที่ดี = รัฐที่สร้างและส่งเสริมชีวิตที่ดีให้แก่พลเมือง
คนที่มีความสุขได้แก่คนที่เป็นเจ้าของสิ่งดี 3 ประการ ได้แก่ สิ่งดีภายนอก(external goods) สิ่งดีแห่ง
ร่างกาย(goods of the body) และสิ่งดีแห่งจิตใจ(good of the soul)
เครื่องมือค้นพบความดีมี 3 ประการ ได้แก่
1.คุณสมบัติตามธรรมชาติ (รัฐไม่สามารถช่วยเหลือได้ เกิดมาตามธรรมชาติไม่สามารถเพิ่มพูนหรือ
เปลี่ยนแปลงได้)
2.อุปนิสัยอันเหมาะสม (เพิ่มพูนได้ด้วยการศึกษา)
3.หลักการแห่งเหตุผล (เพิ่มพูนได้ด้วยการศึกษา)
15
พลเมืองต้องถูกบังคับให้เข้ารับการศึกษา เพื่อสร้างพลเมืองดี และมีความรู้พอที่จะมีชีวิตที่ดีได้ สร้าง
คนให้มีเหตุผลและรู้จักปฏิบัติตามกฎ
การศึกษาเริ่มต้นจากวัยเด็กเน้นเรื่องการมีสุขภาพดีและเคยชินกับความเป็นผู้มีนิสัยดี ควรศึกษาวิชา
วรรณคดี การประพันธ์ จิตรกรรมและดนตรี
รัฐที่สมบูรณ์แบบ ขนาดของรัฐที่ดี ต้องไม่กว้างใหญ่และเล็กจนเกินไป เพื่อที่ทาให้ประชาชนในรัฐ
รู้จักกันทั่วถึงทุกคน กว้างไปเป็นอุปสรรคในการป้องกันประเทศและใช้กฎหมาย เล็กไปก็จะขาดความอุดม
สมบูรณ์ทางเศรษฐกิจ มีภูมิประเทศที่เป็นหุบเขาและติดทะเลเพื่อป้องกันตนเองจากธรรมชาติและอานวย
ประโยชน์เรื่องการค้า
กาหนดให้คนมีครอบครัว โดยกาหนดอายุที่จะสมรสไว้คือชายอายุ 37 ปีและหญิงอายุ 18 ปี แต่ละ
ครอบครัวจะได้รับการอบรมวิธีการเลี้ยงลูกที่ถูกต้อง และควบคุมไม่ให้มีลูกมาก(เด็กจะได้รับการเอาใจใส่อย่าง
ดี)
แบ่งคนเป็น 2 ประเภทคือพลเมืองและผู้อาศัย พลเมืองมีหน้าที่ป้องกันรัฐ ดูแลศาสนา ที่ดิน และ
บริการสาธารณะ ส่วนผู้อาศัยทางานกสิกรรมและการช่าง (พ่อค้า ช่างฝีมือ ทาส)
บรรดาผู้อาศัยไม่ได้อยู่ในฐานะพลเมืองเพราะไม่มีเวลาแสวงหาคุณธรรมเหมือนเช่นพลเมือง ทาหน้าที่
เพื่อช่วยแบ่งเบาให้พลเมืองมีเวลาที่จะแสวงหาความสุขแห่งชีวิตด้วยการหาคุณธรรม(คุณธรรมทาให้ชีวิต
สมบูรณ์แบบ)
การแบ่งสันหน้าที่ กาหนดหน้าที่ป้องกันประเทศให้พลเมืองหนุ่ม การปกครองให้พลเมืองวัยกลางคน
การศาสนาให้กับพลเมืองสูงอายุ
แบ่งที่ดินโดยให้ที่ดินส่วนหนึ่งเป็นของรัฐ เพื่อที่รัฐจะได้นารายได้ไปช่วยเหลือสังเคราะห์คนจน
เชื่อในการปกครองแบบราชาธิปไตยและอภิชนาธิปไตย
รัฐบาลในอุดมคติ = รัฐบาลโดยคนดี : Virtuous Man (ไม่ว่าจะคนเดียว 2-3 คนหรือมากคน)
ระบบประชาธิปไตยดีที่สุด หากสามารถหากษัตริย์ที่เฉลียวฉลาดได้
ประยุกตรัฐ (Practical State) : รัฐที่เป็นไปได้จริง
รัฐที่ดีที่สุด = รัฐที่มีชนชั้นกลางจานวนมาก มากกว่าชนชั้นสูงและชนชั้นต่า
16
รัฐควรมีรัฐธรรมนูญที่กาหนดรูปแบบการปกครองแบบผสมระหว่างคณาธิปไตยกับประชาธิปไตย
หรือเรียกว่าระบบมัชฌิมวิถีอธิปไตย (ประชาธิปไตยสายกลาง)
รัฐควรมีองค์ประกอบ 2 ประการคือคุณภาพ(ลักษณะของคณาธิปไตย ได้แก่ชาติกาเนิด ฐานะ
การศึกษา) & ปริมาณ(ลักษณะของประชาธิปไตย ได้แก่การให้คนจานวนมากเข้ามามีสิทธิในการปกครอง)
ถ้ากาหนดให้รูปแบบการปกครองเป็นแบบคณาธิปไตย โดยให้คนรวยเท่านั้นมีสิทธิในการปกครอง ทา
ให้พวกคนรวยปกครองเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง นิสัยคนรวยไม่ชอบกฎข้อบังคับ ชอบใช้อานาจบังคับ
จิตใจถูกครอบงาด้วยเงิน มีความละโมบอยากได้ของคนอื่น
แต่ถ้ากาหนดในคนจนพวกเดียวเข้ามามีสิทธิในการปกครองในลักษณะของประชาธิปไตย นิสัยคนจน
คือมีความริษยาพวกร่ารวย และพร้อมจะเป็นพลังให้กับนักการเมืองประเภทฉวยโอกาส จะทาให้การ
ปกครองถูกผลักดันไปเป็นระบอบทุชนาธิปไตย(ทรราช)แทนที่จะเป็นแบบประชาธิปไตย
กาหนดให้ชนชั้นกลางเป็นพลังถ่วงดุลระหว่างพลังของคณาธิปไตยกับประชาธิปไตยจึงเกิดระบบ
ประชาธิปไตยสายกลาง นิสัยคนชั้นกลางคือไม่มีความริษยาเนื่องจากไม่ยากจนและไม่ได้รวยเกินไป ขยันทามา
หากินและคอยตรวจสอบกิจกรรมของรัฐ
รัฐที่สมบูรณ์แบบและสร้างชีวิตที่ดีให้กับพลเมืองได้ หากในรัฐมีชนชั้นกลางจานวนมาก รัฐบาลที่ดี
หาได้จากรัฐที่มีชนชั้นกลางเป็นจานวนมาก และยิ่งดีหากว่าจานวนชนชั้นกลางมากกว่าชนชั้นอื่น
ยอมรับลักษณะคณาธิปไตยคือ กาหนดให้ทรัพย์สมบัติเป็นคุณสมบัติของผู้ปกครอง ผู้ปกครองมา
จากการเลือกตั้ง ตาแหน่งขึ้นอยู่กับการสนับสนุนของประชาชน ผู้ปกครองต้องปกครองแบบนโยบายสายกลาง
และคานึงถึงผลประโยชน์ของชนชั้นกลาง
โดยระบอบมัชฌิมวิถีอธิปไตย(ประชาธิปไตยสายกลาง) เป็นระบอบการปกครองที่ผสมผสานระหว่าง
คณาธิปไตยกับประชาธิปไตย ซึ่งจะมีหลักการถ่วงดุลกันระหว่างชนชั้นสูงและชนชั้นต่า โดยให้สิทธิการ
เลือกตั้งกับพลเมืองทุกคน แต่ชนชั้นสูง(คนรวย)เท่านั้นที่มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ปกครองรัฐ ชนชั้น
กลางและต่าไม่มีโอกาสเป็นผู้ปกครอง
การจัดรูปแบบการปกครองแบบมัชฌิมวิถีอธิปไตย(ประชาธิปไตยสายกลาง)ขึ้นนั้นเพื่อก่อให้เกิด
ความสมานฉันท์ (Harmony)ภายในรัฐ
ผู้ปกครองที่ดีต้องมีความสามารถและยึดกฎหมายเป็นหลักปฏิบัติ รัฐต้องสร้างให้ประชาชนมีความ
ฉลาด ขันติและคุณธรรม
17
รูปแบบการปกครอง
รัฐที่ดีคือรัฐที่มีรูปการปกครองที่อานวยผลประโยชน์แก่คนในรัฐ
รัฐที่เลวคือรัฐที่มีรูปการปกครองที่อานวยผลประโยชน์แก่ผู้ปกครอง
อริสโตเติ้ลจาแนกรูปแบบการปกครองออกเป็น 6 แบบโดยใช้หลักเกณฑ์ 2 ประการคือจานวนผู้ใช้อานาจ และ
จุดมุ่งหมายของการปกครอง ดังนี้
รัฐที่ดีที่สุดคือ รัฐที่ปกครองโดยคนๆเดียวและมีวัตถุประสงค์เพื่อความสุขของประชาชนทั้งหมด = รา
ชาธิปไตย (Monarchy) แต่หากการปกครองนั้นทาเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง = ทุชนาธิปไตย
(Tyranny)จะถือว่าเป็นระบอบการปกครองที่เลวที่สุด
การปกครองโดยคณะบุคคลแบบอภิชนาธิปไตยและคณาธิปไตย ถือเป็นระบอบการปกครองชั้นดีที่
รองลงมาจากการปกครองโดยคนๆเดียวตามลาดับ
ระบอบประชาธิปไตยถือเป็นระบอบที่เลวน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับระบอบที่เลวด้วยกัน ส่วนระบอบการ
ปกครองแบบมัชฌิมวิถีอธิปไตย(Polity) เป็นระบอบที่ดีน้อยที่สุดในระบอบปกครองที่ดีด้วยกัน
โดยระบอบมัชฌิมวิถีอธิปไตย เป็นระบอบการปกครองที่ผสมผสานระหว่างคณาธิปไตยกับ
ประชาธิปไตย ซึ่งจะมีหลักการถ่วงดุลกันระหว่างชนชั้นสูงและชนชั้นต่า โดยให้สิทธิการเลือกตั้งกับพลเมืองทุก
คน แต่ชนชั้นสูงเท่านั้นที่มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ปกครองรัฐ
จานวน เพื่อประชาชน เพื่อผู้ปกครอง
คนเดียว ราชาธิปไตย(Monarchy) ทุชนาธิปไตย(Tyranny)
คณะ อภิชนาธิปไตย(Aristocracy) คณาธิปไตย(Oligarchy)
ประชาชนทั้งหมด มัชฌิมวิถีอธิปไตย(Polity) ประชาธิปไตย(Democracy)
18
 ลัทธิอิพิคิวเรียน(Epicureanism)
ถือกาเนิดจากแนวคิดของอีพิคิวรุส(Epicurus) ผู้ซึ่งมีคติว่าจงมีชีวิตอยู่อย่างไม่ก้าวร้าวใคร เป็นผู้มี
เมตตากับคนทุกประเภท ต้อนรับทาสและสตรีให้ได้รับการศึกษาจากสานักของเขา
ทรรศนะต่อพระเจ้า เห็นว่าพระเจ้ามีจริงแต่ก็ไม่ยุ่งกับเรื่องของมนุษย์ มนุษย์ไม่จาเป็นต้องกลัวหรือ
ศรัทธาพระเจ้า ที่มนุษย์ศรัทธาในพระเจ้านั้นเกิดจากจินตนาการ
พวกอิพิคิวเรียนจัดเป็นพวกสาราญนิยม(Pleasurism) เพราะเชื่อว่า จุดหมายของชีวิตคือความสุข
เฉพาะตัว
ความสุขคือความรู้สึกสงบที่ได้รับหลังจากความต้องการได้รับการตอบสนอง ชีวิตที่ดีของมนุษย์คือ
ชีวิตที่อยู่อย่างสงบ ง่ายๆ ไม่ทะเยอะทะยานใฝ่ฝันเกียรติยศในสังคม
อิพิคิวเรียนมุ่งเน้นให้มนุษย์ไม่ยุ่งเกี่ยวกับรัฐหรือสังคม เพราะสิ่งเหล่านี้จะบั่นทอนความสุขของมนุษย์
และจะเป็นนายบังคับให้มนุษย์ตกเป็นทาส แท้จริงแล้วมนุษย์ไม่ควรตกเป็นทาสของสิ่งใด
ดังนั้นทางที่จะพบความสุขคือการปลีกตัวออกจากสังคม ไม่ควรรับผิดชอบอะไรในสังคม เพราะจะ
เป็นภาระทาให้ขาดความอิสระ และมีแต่ความกังวลใจ ซึ่งขัดกับจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของชีวิตตามคติอิพิคิว
เรียน
รัฐเป็นสิ่งชั่วร้ายที่จาเป็น เพราะแม้ว่าจะเป็นอุปสรรคต่อความสุขของมนุษย์ แต่ก็ต้องจัดตั้งขึ้นเพื่อ
ผดุงไว้ซึ่งเสถียรภาพของสังคม ขจัดความรุนแรงและความอยุติธรรม
เลื่อมใสในระบอบการปกครองแบบอานาจนิยม(Authoritarianism) และพอใจรูปแบบการ
ปกครองแบบราชาธิปไตย(Monarchy) มีปรัชญาแบบปฏิเสธนิยม(Negativism)คือยอมถอยหลังเมื่อเผชิญกับ
ปัญหาแทนที่จะก้าวไปข้างหน้า
19
 ลัทธิซินนิคส์(Cynics)
เกิดขึ้นเพราะการถูกกดดันและจากัดสิทธิหลายอย่างของพวกทาสและคนต่างด้าวในเอเธนส์
เป็นกลุ่มแรกของนักปรัชญาชนชั้นกรรมาชีพ(กรรมกร,ทาส)
ผู้ก่อตั้งคือแอนทิสธิเนส(Antisthenes) คนสาคัญได้แก่ ไดโอจีนิส(Diogenes)และเครทิส(Crates) มี
แนวคิดในการต่อต้านนครรัฐและสถาบันการปกครองและสังคม
ชีวิตที่ดีคือการเป็นอยู่อย่างง่ายๆ(สมถะ)เท่านั้นที่จะเป็นกุญแจนาไปสู่ชีวิตที่ดี
รัฐที่แท้จริงคือรัฐแห่งพิภพ(City of the world) ซึ่งคนฉลาดจากทุกแห่งสร้างขึ้นมา
แนวคิดมีลักษณะเพ้อฝัน อยากสร้างอาณาจักรที่ครอบคลุมทั้งโลกเป็นนครเดียว(คอมมิวนิสต์)
นิยมอนาธิปไตย(Anarchy) ไม่ให้มีรัฐบาลหรือสถาบันการเมือง ให้มนุษย์อยู่กันเองตามธรรมชาติ
 กฎหมายโรมัน(Roman Laws)
เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาณาจักรโรมันที่สร้างให้กับอารยธรรมตะวันตกและโลกปัจจุบัน มีรากฐานมาจาก
กฎหมายสิบสองโต๊ะ
ต่อมาบทบัญญัติต่างๆมาจากฝีมือของพวกผู้พิพากษาที่เรียกกันว่า เพรเตอร์(Praetors)
จักพรรดิจัสติเนียนได้สร้างกฎหมายขึ้นในปีค.ศ.483-565 เรียกว่ากฎหมายจัสติเนียน(Code of Justinian)
แบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ
1. Jus civile(กฎหมายภายใน) มีผลบังคับและคุ้มกันชาวโรมันเท่านั้น มีศักดิ์สูงสุด เป็นกฎหมายศักดิ์สิทธิ์
ได้มาจากพระเจ้า และไม่มีการเปลี่ยนแปลง
2. Jus gentium(กฎหมายทั่วไป) ดัดแปลงจากกฎหมายภายใน+หลักกฎหมายของบาบิโลเนีย ฟินีเชียนและ
กรีก มีผลบังคับต่อชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในโรมัน
3. Jus natural(กฎหมายธรรมชาติ) เป็นสากลและเป็นรากฐานของกฎหมายอื่น ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิ
สตอยอิกส์ ไม่ยอมรับการมีทาสถือว่ามนุษย์มีอิสรเสรีและเสมอภาคกัน
ต่อมาในปีค.ศ.212 จักรพรรดิคาราคัลล่าได้ออกประกาศ Edict of Caracalla ซึ่งให้คนทุกคนที่อยู่ใน
อาณาจักรโรมันเป็นพลเมืองโรมันเหมือนกันหมดและใช้กฎหมายฉบับเดียวกัน
 โพลิเบียส(Polybius:204-111BC)
เป็นบุตรของรัฐบุรุษแห่งอาร์คาเดีย ใช้ชีวิตทางการเมืองเหมือนบิดา เคยถูกจับเป็นเชลยของจักรวรรดิ
โรมันอยู่ 17 ปี แต่โชคดีที่เขาเป็นเพื่อนกับสคิพิโอ(Scipio)นักการเมืองผู้มีอิทธิพลในโรมขณะนั้น โพลีเบียสจึงมี
โอกาสเข้าสู่สังคมชนชั้นสูงของโรมัน
ผลงานชิ้นสาคัญของเขาคือประวัติศาสตร์สากล(Universal Histories)
โพลีเบียสตั้งคาถามถึงสาเหตุแห่งความรุ่งเรืองของอาณาจักโรมันและพบว่าเกิดจากการมีรัฐธรรมนูญที่
เป็นเลิศ(โครงสร้างการเมืองที่ดี) และได้ศึกษาประวัติศาสตร์เมืองกรีก การปกครองทุกรูปแบบจะมีลักษณะที่
ชั่วร้ายในตัวเองและนาไปสู่ความล่มสลายของระบอบการปกครอง
20
เขาเสนอว่าระบอบการปกครองมีการเปลี่ยนแปลงเป็นวัฏจักรเริ่มจากระบอบราชาธิปไตย(Monarchy)
– ทุชนาธิปไตย(Tyranny) – อภิชนาธิปไตย(Aristocracy) – คณาธิปไตย(Oligarchy) – ประชาธิปไตย
(Democracy) – ฝูงชนบ้าคลั่ง(Mob Rule) และกลับคืนสู่ราชาธิปไตยอีกครั้ง
โพลีเบียสพบว่ารัฐธรรมนูญของอาณาจักรโรมันมีลักษณะผสมกันระหว่างรูปแบบที่ดีของระบอบการ
ปกครองแบบราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตยและประชาธิปไตย(Mix Constitution) คือกงสุล(Consul)
วุฒิสภา(Senate) และสภาประชาชน(Tribunes) ตามลาดับ
โดยทั้งสามสถาบันมีการถ่วงดุลซึ่งกันและกัน ทาให้ลักษณะที่ดีของแต่ระบอบการปกครองไม่เสื่อมลงเป็น
ลักษณะที่เลวหรือนาไปสู่ความล่มสลาย
แนวคิดของโพลิเบียส ถือเป็นต้นแบบของหลักการตรวจสอบและถ่วงดุลอานาจ(Check and
Balance) และการแบ่งแยกอานาจ(Separation of Power) ที่พบเห็นได้ทั่วไปในระบอบการเมืองปัจจุบัน
21
 ลัทธิสตอยอิกส์(Stoicism)
สตอยอิกส์มาจากภาษาละตินว่าสโตอา(Stoa) แปลว่าเฉลียงหรือระเบียง สตอยอิกส์เป็นชื่อเรียกบรรดา
ผู้ที่ถกปัญหาทางปรัชญาแถวเฉลียงหรือระเบียงตามสถานที่สาธารณะ(Agora)
เป็นลัทธิคาบสมัยคือมีชื่อเสียงในสมัยเฮเลนิก(Helenic)จนถึงสมัยของอาณาจักโรมันเรืองอานาจ
เมธีคนสาคัญได้แก่ซีโน(Zeno) ซิซีโร(Cicero) ซินีคา(Seneca) และมาร์คัส เออเรลิอุส
(MarcusAurelius)จักรพรรดิโรมัน
แนวคิดของสตอยอิกส์ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิซินนิคส์และเพลโตอยู่มาก ถือธรรมชาติเสมือนเทพเจ้า
เคารพเหตุผลและเข้าใจธรรมชาติ ยอมรับโชคชะตา เชื่อในความเสมอภาคของมนุษย์ สรรพสิ่งทั้งหลาย
ล้วนเกิดขึ้นและเป็นไปตามกฎธรรมชาติอันเป็นกฎสากล มีเหตุมีผลและไม่เปลี่ยนแปลง
จุดมุ่งหมายของชีวิตคือ การดาเนินชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติ และยอมรับผลที่ตามมาจากกฎ
ธรรมชาติหรือโชคชะตาอย่างสงบและเป็นสุข หากไม่สามารถยอมรับผลจากสรรพสิ่งที่อยู่นอกเหนือการ
ควบคุมของตนได้ ทางออกมีอยู่ทางเดียวคือการกระทาอัตวินิบาตกรรม(ฆ่าตัวตาย)
คุณธรรมของมนุษย์ขึ้นอยู่กับความรอบรู้ที่แสวงหาได้จากเหตุผล และเมื่อมนุษย์มีเหตุผล มนุษย์ย่อม
สามารถทาความเข้าใจกฎธรรมชาติได้ การปกครองที่ดีคือการปกครองที่สอดคล้องกับกฎธรรมชาติ
คาสอนของสตอยอิกส์จะอยู่ตรงกลางเมื่อเทียบกับคาสอนของซินนิคส์และอิพิคิวเรียน กล่าวคือ สตอยอิกส์
ไม่สนับสนุนให้ละทิ้งหรือต่อต้านสังคม เมื่อมนุษย์ต้องทาหน้าที่สาธารณะบางอย่างที่เขาไม่ชอบ หากเหตุผล
ของเขาบอกว่านั่นคือสิ่งที่กฎธรรมชาติกาหนดให้ทา เขาควรทาอย่างดีที่สุด
 ซิซีโร(Cicero)
เป็นปรัชญาเมธีชาวโรมัน โดดเด่นด้านนิติศาสตร์ หนังสือสาคัญได้แก่ Republic,On the
Commonwealth,Laws
ยกย่องความเลิศของรูปแบบการปกครองแบบผสมของอาณาจักโรมันคือราชาธิปไตย+อภิชนาธิป
ไตย+ประชาธิปไตย
ความยุติธรรมกาเนิดและค้นพบได้ในกฎหมายธรรมชาติ
ความเสมอภาคเท่าเทียมคือความเท่ากันในด้านจิตใจและศีลธรรม
Pol2101 pdf
Pol2101 pdf
Pol2101 pdf
Pol2101 pdf
Pol2101 pdf
Pol2101 pdf
Pol2101 pdf
Pol2101 pdf
Pol2101 pdf
Pol2101 pdf

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

Pwนโยบายคืออะไร
PwนโยบายคืออะไรPwนโยบายคืออะไร
PwนโยบายคืออะไรSirirat Pongpid
 
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญาวิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญาPadvee Academy
 
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสแบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสสำเร็จ นางสีคุณ
 
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญาวิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญาPadvee Academy
 
พุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายานพุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายานChainarong Maharak
 
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 1 บทนำบทที่ 1 บทนำ
บทที่ 1 บทนำShe's Mammai
 
เร ยงความ
เร ยงความเร ยงความ
เร ยงความpapontee
 
คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหาร
คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหารคุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหาร
คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหารTaraya Srivilas
 
กิจกรรมที่1 โครงงานการทุจริต คอร์รัปชั่น
กิจกรรมที่1 โครงงานการทุจริต คอร์รัปชั่นกิจกรรมที่1 โครงงานการทุจริต คอร์รัปชั่น
กิจกรรมที่1 โครงงานการทุจริต คอร์รัปชั่นPimnatthacha
 
การวิเคราะห์และวิจารณ์ภาพยนตร์แอนิเมชั่น
การวิเคราะห์และวิจารณ์ภาพยนตร์แอนิเมชั่นการวิเคราะห์และวิจารณ์ภาพยนตร์แอนิเมชั่น
การวิเคราะห์และวิจารณ์ภาพยนตร์แอนิเมชั่นThirawut Saenboon
 
บทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐานบทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐานpop Jaturong
 
ผู้ประกอบการหน้าใหม่ : สตาร์ทอัพ (Startup)
ผู้ประกอบการหน้าใหม่ : สตาร์ทอัพ (Startup)ผู้ประกอบการหน้าใหม่ : สตาร์ทอัพ (Startup)
ผู้ประกอบการหน้าใหม่ : สตาร์ทอัพ (Startup)Dr.Kridsanapong Lertbumroongchai
 
9789740330660
97897403306609789740330660
9789740330660CUPress
 
โครงงาน เรื่อง สมุนไพรครีมพอกหน้า
โครงงาน เรื่อง สมุนไพรครีมพอกหน้าโครงงาน เรื่อง สมุนไพรครีมพอกหน้า
โครงงาน เรื่อง สมุนไพรครีมพอกหน้าจริงใจ รักจริง
 
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhismพระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana BuddhismPadvee Academy
 
ตัวอย่าง
ตัวอย่างตัวอย่าง
ตัวอย่างFary Love
 
โครงงาน เรื่อง กระถางย่อยได้
โครงงาน เรื่อง กระถางย่อยได้โครงงาน เรื่อง กระถางย่อยได้
โครงงาน เรื่อง กระถางย่อยได้Kittiphan Pongsakoonthai
 

La actualidad más candente (20)

Pwนโยบายคืออะไร
PwนโยบายคืออะไรPwนโยบายคืออะไร
Pwนโยบายคืออะไร
 
การวิเคราะห์ SWOT & TOWS Matrix
การวิเคราะห์ SWOT & TOWS Matrixการวิเคราะห์ SWOT & TOWS Matrix
การวิเคราะห์ SWOT & TOWS Matrix
 
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญาวิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
 
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสแบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส
 
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญาวิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญา
 
Chapter 5 define
Chapter 5 defineChapter 5 define
Chapter 5 define
 
พุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายานพุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายาน
 
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 1 บทนำบทที่ 1 บทนำ
บทที่ 1 บทนำ
 
เนื้อหาสรุป Comprehensive หมวด c
เนื้อหาสรุป Comprehensive หมวด cเนื้อหาสรุป Comprehensive หมวด c
เนื้อหาสรุป Comprehensive หมวด c
 
เร ยงความ
เร ยงความเร ยงความ
เร ยงความ
 
คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหาร
คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหารคุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหาร
คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหาร
 
กิจกรรมที่1 โครงงานการทุจริต คอร์รัปชั่น
กิจกรรมที่1 โครงงานการทุจริต คอร์รัปชั่นกิจกรรมที่1 โครงงานการทุจริต คอร์รัปชั่น
กิจกรรมที่1 โครงงานการทุจริต คอร์รัปชั่น
 
การวิเคราะห์และวิจารณ์ภาพยนตร์แอนิเมชั่น
การวิเคราะห์และวิจารณ์ภาพยนตร์แอนิเมชั่นการวิเคราะห์และวิจารณ์ภาพยนตร์แอนิเมชั่น
การวิเคราะห์และวิจารณ์ภาพยนตร์แอนิเมชั่น
 
บทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐานบทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
 
ผู้ประกอบการหน้าใหม่ : สตาร์ทอัพ (Startup)
ผู้ประกอบการหน้าใหม่ : สตาร์ทอัพ (Startup)ผู้ประกอบการหน้าใหม่ : สตาร์ทอัพ (Startup)
ผู้ประกอบการหน้าใหม่ : สตาร์ทอัพ (Startup)
 
9789740330660
97897403306609789740330660
9789740330660
 
โครงงาน เรื่อง สมุนไพรครีมพอกหน้า
โครงงาน เรื่อง สมุนไพรครีมพอกหน้าโครงงาน เรื่อง สมุนไพรครีมพอกหน้า
โครงงาน เรื่อง สมุนไพรครีมพอกหน้า
 
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhismพระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
 
ตัวอย่าง
ตัวอย่างตัวอย่าง
ตัวอย่าง
 
โครงงาน เรื่อง กระถางย่อยได้
โครงงาน เรื่อง กระถางย่อยได้โครงงาน เรื่อง กระถางย่อยได้
โครงงาน เรื่อง กระถางย่อยได้
 

Destacado

ปรัชญาตะวันตก บทที่ ๖ ปรัชญากรีกสมัยเสื่อม
ปรัชญาตะวันตก บทที่ ๖ ปรัชญากรีกสมัยเสื่อมปรัชญาตะวันตก บทที่ ๖ ปรัชญากรีกสมัยเสื่อม
ปรัชญาตะวันตก บทที่ ๖ ปรัชญากรีกสมัยเสื่อมPadvee Academy
 
ทฤษฏีฮาวิกเวิร์ก
ทฤษฏีฮาวิกเวิร์กทฤษฏีฮาวิกเวิร์ก
ทฤษฏีฮาวิกเวิร์กmakusoh026
 
ทฤษฎีพัฒนาการตามวัย ของโรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ต
ทฤษฎีพัฒนาการตามวัย ของโรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ตทฤษฎีพัฒนาการตามวัย ของโรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ต
ทฤษฎีพัฒนาการตามวัย ของโรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ต7roommate
 
อภิปรัชญา ความจริงของโลก และ มนุษย์
อภิปรัชญา ความจริงของโลก และ มนุษย์อภิปรัชญา ความจริงของโลก และ มนุษย์
อภิปรัชญา ความจริงของโลก และ มนุษย์Padvee Academy
 
3. ทฤษฎีการขัดแย้ง ok
3. ทฤษฎีการขัดแย้ง ok3. ทฤษฎีการขัดแย้ง ok
3. ทฤษฎีการขัดแย้ง okRose Banioki
 
ทฤษฏีความต้องการพื้นฐาน(มาสโลว์)
ทฤษฏีความต้องการพื้นฐาน(มาสโลว์)ทฤษฏีความต้องการพื้นฐาน(มาสโลว์)
ทฤษฏีความต้องการพื้นฐาน(มาสโลว์)Siririn Noiphang
 
สรุปเนื้อหา ปรัชญาเบื้องต้น ตอน โทมัส ฮอบส์ (Thomas hobbes)
สรุปเนื้อหา ปรัชญาเบื้องต้น ตอน โทมัส  ฮอบส์ (Thomas hobbes)สรุปเนื้อหา ปรัชญาเบื้องต้น ตอน โทมัส  ฮอบส์ (Thomas hobbes)
สรุปเนื้อหา ปรัชญาเบื้องต้น ตอน โทมัส ฮอบส์ (Thomas hobbes)Padvee Academy
 
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญาประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญาPadvee Academy
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๗ ปรัชญาตะวันตก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๗ ปรัชญาตะวันตกปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๗ ปรัชญาตะวันตก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๗ ปรัชญาตะวันตกPadvee Academy
 
ทฤษฏีไวก็อตสกี้
ทฤษฏีไวก็อตสกี้ทฤษฏีไวก็อตสกี้
ทฤษฏีไวก็อตสกี้Proud N. Boonrak
 
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)Mamoss CM
 
ทฤษฎีแรงจูงใจ
ทฤษฎีแรงจูงใจทฤษฎีแรงจูงใจ
ทฤษฎีแรงจูงใจPoy Thammaugsorn
 
Six Sigma the best ppt
Six Sigma the best pptSix Sigma the best ppt
Six Sigma the best pptRabia Sgh S
 

Destacado (15)

ปรัชญาตะวันตก บทที่ ๖ ปรัชญากรีกสมัยเสื่อม
ปรัชญาตะวันตก บทที่ ๖ ปรัชญากรีกสมัยเสื่อมปรัชญาตะวันตก บทที่ ๖ ปรัชญากรีกสมัยเสื่อม
ปรัชญาตะวันตก บทที่ ๖ ปรัชญากรีกสมัยเสื่อม
 
ทฤษฏีฮาวิกเวิร์ก
ทฤษฏีฮาวิกเวิร์กทฤษฏีฮาวิกเวิร์ก
ทฤษฏีฮาวิกเวิร์ก
 
ทฤษฎีพัฒนาการตามวัย ของโรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ต
ทฤษฎีพัฒนาการตามวัย ของโรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ตทฤษฎีพัฒนาการตามวัย ของโรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ต
ทฤษฎีพัฒนาการตามวัย ของโรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ต
 
อภิปรัชญา ความจริงของโลก และ มนุษย์
อภิปรัชญา ความจริงของโลก และ มนุษย์อภิปรัชญา ความจริงของโลก และ มนุษย์
อภิปรัชญา ความจริงของโลก และ มนุษย์
 
3. ทฤษฎีการขัดแย้ง ok
3. ทฤษฎีการขัดแย้ง ok3. ทฤษฎีการขัดแย้ง ok
3. ทฤษฎีการขัดแย้ง ok
 
ทฤษฏีความต้องการพื้นฐาน(มาสโลว์)
ทฤษฏีความต้องการพื้นฐาน(มาสโลว์)ทฤษฏีความต้องการพื้นฐาน(มาสโลว์)
ทฤษฏีความต้องการพื้นฐาน(มาสโลว์)
 
สรุปเนื้อหา ปรัชญาเบื้องต้น ตอน โทมัส ฮอบส์ (Thomas hobbes)
สรุปเนื้อหา ปรัชญาเบื้องต้น ตอน โทมัส  ฮอบส์ (Thomas hobbes)สรุปเนื้อหา ปรัชญาเบื้องต้น ตอน โทมัส  ฮอบส์ (Thomas hobbes)
สรุปเนื้อหา ปรัชญาเบื้องต้น ตอน โทมัส ฮอบส์ (Thomas hobbes)
 
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญาประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๗ ปรัชญาตะวันตก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๗ ปรัชญาตะวันตกปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๗ ปรัชญาตะวันตก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๗ ปรัชญาตะวันตก
 
ทฤษฏีไวก็อตสกี้
ทฤษฏีไวก็อตสกี้ทฤษฏีไวก็อตสกี้
ทฤษฏีไวก็อตสกี้
 
ทฤษฎีระบบ
ทฤษฎีระบบทฤษฎีระบบ
ทฤษฎีระบบ
 
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)
 
ทฤษฎีแรงจูงใจ
ทฤษฎีแรงจูงใจทฤษฎีแรงจูงใจ
ทฤษฎีแรงจูงใจ
 
toos
toostoos
toos
 
Six Sigma the best ppt
Six Sigma the best pptSix Sigma the best ppt
Six Sigma the best ppt
 

Similar a Pol2101 pdf

แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...
แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...
แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...คำเมย มุ่งเงินทอง
 
4 บทความ
4 บทความ4 บทความ
4 บทความKo Kung
 
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณฯ
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณฯการอ่านอย่างมีวิจารณญาณฯ
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณฯsompoy
 
บทสรุป การวิจัย ภาพรวมทั้งหมด
บทสรุป การวิจัย ภาพรวมทั้งหมดบทสรุป การวิจัย ภาพรวมทั้งหมด
บทสรุป การวิจัย ภาพรวมทั้งหมดChowwalit Chookhampaeng
 
หลักสูตร51สู่ห้องเรียน
หลักสูตร51สู่ห้องเรียนหลักสูตร51สู่ห้องเรียน
หลักสูตร51สู่ห้องเรียนPitima Boonprasit
 
ข้อสังเกตต่อบทความ มหาวิทยาลัยนอกระบบ
ข้อสังเกตต่อบทความ มหาวิทยาลัยนอกระบบข้อสังเกตต่อบทความ มหาวิทยาลัยนอกระบบ
ข้อสังเกตต่อบทความ มหาวิทยาลัยนอกระบบweeraboon wisartsakul
 
Research 1333352020 pichai
Research 1333352020 pichaiResearch 1333352020 pichai
Research 1333352020 pichailittle-pig
 
Organization Behavior
Organization BehaviorOrganization Behavior
Organization Behaviortltutortutor
 
Car 1 SupawadeeMaetasiri
Car 1  SupawadeeMaetasiri Car 1  SupawadeeMaetasiri
Car 1 SupawadeeMaetasiri nokpackkreem
 
นวัตกรรม
นวัตกรรมนวัตกรรม
นวัตกรรมPrapa Khangkhan
 

Similar a Pol2101 pdf (20)

Chap6
Chap6Chap6
Chap6
 
Chap6
Chap6Chap6
Chap6
 
แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...
แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...
แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...
 
4 บทความ
4 บทความ4 บทความ
4 บทความ
 
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณฯ
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณฯการอ่านอย่างมีวิจารณญาณฯ
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณฯ
 
บทสรุป การวิจัย ภาพรวมทั้งหมด
บทสรุป การวิจัย ภาพรวมทั้งหมดบทสรุป การวิจัย ภาพรวมทั้งหมด
บทสรุป การวิจัย ภาพรวมทั้งหมด
 
จิตวิทยาการศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้
 
Relationship stepi ipart2_214jan18
Relationship stepi ipart2_214jan18Relationship stepi ipart2_214jan18
Relationship stepi ipart2_214jan18
 
หลักสูตร51สู่ห้องเรียน
หลักสูตร51สู่ห้องเรียนหลักสูตร51สู่ห้องเรียน
หลักสูตร51สู่ห้องเรียน
 
Pbl5
Pbl5Pbl5
Pbl5
 
51105
5110551105
51105
 
ข้อสังเกตต่อบทความ มหาวิทยาลัยนอกระบบ
ข้อสังเกตต่อบทความ มหาวิทยาลัยนอกระบบข้อสังเกตต่อบทความ มหาวิทยาลัยนอกระบบ
ข้อสังเกตต่อบทความ มหาวิทยาลัยนอกระบบ
 
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษาปรัชญาและปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา
 
Research 1333352020 pichai
Research 1333352020 pichaiResearch 1333352020 pichai
Research 1333352020 pichai
 
Organization Behavior
Organization BehaviorOrganization Behavior
Organization Behavior
 
cluster analysis
cluster analysis cluster analysis
cluster analysis
 
Car 1 SupawadeeMaetasiri
Car 1  SupawadeeMaetasiri Car 1  SupawadeeMaetasiri
Car 1 SupawadeeMaetasiri
 
นวัตกรรม
นวัตกรรมนวัตกรรม
นวัตกรรม
 
Pbl4.1
Pbl4.1Pbl4.1
Pbl4.1
 
การวิจัยในชั้นเรียน
การวิจัยในชั้นเรียนการวิจัยในชั้นเรียน
การวิจัยในชั้นเรียน
 

Pol2101 pdf

  • 1. 1 สรุปสาระสาคัญ POL2101(PS190) : VERSION2 04/04/58 จัดทาขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการแบ่งปันความรู้จากพี่สู่น้องรัฐศาสตร์รามคาแหง สรุปแนวความคิดของนักคิดนี้ เป็นเพียงส่วนสาคัญของแต่ละบท ไม่ใช่ทุกส่วนของบทเรียน ผู้ที่ลงเรียนวิชา POL2101 (PS190) ควรที่จะอ่านหนังสือเรียนเป็นหลัก เพราะไม่อาจทราบได้ว่าอาจารย์ผู้สอนจะนาบรรทัดไหนในหนังสือเรียนมาออกข้อสอบ วิชานี้ไม่มีการออกข้อสอบซ้าๆแบบที่ผ่านมา เป็นการเลือกตอบแบบปรนัย 5 ตัวเลือก อาจต้องตีความคาถามในข้อสอบของอาจารย์ แล้วดูว่าคาตอบข้อใดตรงกับหลักแนวคิดของนักคิด หลักการอ่านหนังสือเรียน ควรอ่านเกิน 2 รอบขึ้นไป ชีทแดงสามารถซื้อมาอ่านได้เป็นแนวทางเท่านั้น โดยอาจจดคาอธิบายในชีทด้วยความเข้าใจของเราเอง สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณอาจารย์ประจาวิชาที่ได้ให้คาปรึกษาและคาแนะนาต่างๆ ขอให้ทุกคนโชคดีในการสอบนะคะ มีข้อสงสัยติดต่อได้ที่ FB:Yanissa Lekmuang (พี่ปาล์ม) ได้เลยนะจ๊ะ 
  • 2. 2 บทนา 1. ความคิดทางการเมือง (Political Though) หมายถึงความคิดที่เกี่ยวกับการเมืองอย่างกว้างๆ มี แนวโน้มหนักไปด้านพรรณนาและความคิดเชิงประวัติศาสตร์ คือเรียงลาดับว่าใครคิดอย่างไร เมื่อใด 2. ปรัชญาการเมือง (Political Philosophy) เป็นการศึกษาการเมืองในระดับลึกซึ้งและเกี่ยวโยงกับ สาขาวิชาอื่น เพื่อให้รู้แจ้ง มักจะเน้นหลักจริยธรรมซึ่งเป็นเหมือนหลักการหรือเหตุผลที่ถูกต้องและมี คุณธรรม ถือเป็นรากฐานของระบบการเมืองแต่ละแบบ มีลักษณะที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์คือเป็นข้อคิดที่ พิสูจน์ไม่ได้ 3. อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) หมายถึงความเชื่อและความคิดในระดับที่ไม่ลึกซึ้งนัก เน้นในเรื่องความเชื่อความศรัทธามากกว่าเหตุผล ไม่จาเป็นต้องเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือยึดหลักศีลธรรม เสมอไป แต่เป็นความคิดหรือความเชื่อที่ปลูกฝังเพื่อให้เกิดผลทางการเมือง 4. สังกัปทางการเมือง (Political Concepts) หมายถึงความคิดหรือทรรศนะเกี่ยวกับคาศัพท์เชิง นามธรรมทางการเมือง เช่น ความยุติธรรม จุดมุ่งหมายแห่งรัฐ ผู้ปกครองที่ดี สิทธิ เสรีภาพ เป็นต้น 5. ลัทธิทางการเมือง (Political Ism) เป็นหลักทางการเมืองซึ่งมีลักษณะผสมผสานจากหลายความคิดของ แต่ละนักคิดหลายท่านมาประกอบกันเป็นแนวคิดเกี่ยวกับระบบการเมือง อาจนาความคิดจากหลาย ปรัชญามาผสมผสานกันก็ได้ เช่น การปกครองแบบประชาธิปไตยสายกลาง(Polity)ของอริสโตเติ้ลที่นา หลักการส่วนใหญ่มากจากหนังสือ Statesman และ Laws ของเพลโต ยอร์ช แคทแท็บ (George Kateb) ให้ความคิดว่าทฤษฎีการเมืองคือข้อเขียนซึ่งเสนอทรรศนะหรือ แนวความคิดที่คิดว่าดีและถูกต้องเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างทางการเมือง เสนอบรรยากาศการเมืองใน ความคิดฝัน เช่น ผู้ปกครองในอุดมคติ (The Republic) รอเบิร์ต อี เมอร์ฟี่ (Robert E. Murphy) ให้ความคิดว่า ทฤษฎีการเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ วิเคราะห์ความคิดหรือปรัชญาเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง เอ็ดเวิร์ด ซี สมิธและอาโนลด์ เจ เซอร์เชอร์ (Edward C. Smith & Arnold J. Zurcher) เป็นผู้เสนอคา จากัดความที่ครอบคลุมลักษณะและขอบเขตของทฤษฎีการเมืองไว้ได้ทั้งหมด โดยให้ความคิดว่า ทฤษฎี การเมืองคือส่วนทั้งหมดของคาสอน(Doctrine)ที่เกี่ยวข้องกับกาเนิดรัฐ รูปแบบของรัฐ พฤติกรรมของรัฐ และจุดมุ่งหมายของรัฐ ซึ่งส่วนของคาสอนแบ่งลักษณะออกเป็นประเภทได้ ดังนี้ 1.ลักษณะแบบจริยธรรม(Ethical) ได้แก่ส่วนของทฤษฎีการเมืองที่เกี่ยวข้องกับสิ่งใดควรทาหรือไม่ ควรทา ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องในกิจกรรมทางการเมือง เช่นพันธะของคนของซอคราตีส 2.ลักษณะแบบจินตนาการ(Speculative) คือส่วนที่เป็นความคิดฝันหรือมโนภาพที่ยังไม่ปรากฏเป็น จริงขึ้นมา เช่น การใฝ่ฝันถึงรัฐในอุดมคติหรือการวาดภาพเลิศนครในจินตนาการ 3.ลักษณะเชิงสังคมวิทยา(Sociological) เป็นส่วนของทฤษฎีการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์หรือ ทดลองเปรียบเทียบเพื่อแสวงหาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับส่วนอื่นๆของสังคมหรือการวิเคราะห์รัฐในรูปของ การรวมตัวทางสังคม 4.ลักษณะแบบกฎหมาย(Legal) ได้แก่ส่วนที่ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของกฎหมาย สังกัปของกฎหมาย และสถานทางกฎหมาย ซึ่งเกิดขึ้นมาจากสถาบันต่างๆและเป็นเสมือนเครื่องมือที่จะกระจายและควบคุมการ ใช้อานาจทางการเมือง
  • 3. 3 5.ลักษณะแบบวิทยาศาสตร์(Scientific) ได้แก่ทฤษฎีที่เกิดจากการสังเกตการณ์ การทดลอง เปรียบเทียบ พฤติกรรมการเมือง เพื่อจะค้นหาแนวโน้มและความน่าจะเป็น การศึกษาสาเหตุและธรรมชาติของการ เปลี่ยนแปลงทางการเมือง เป็นต้น จุดหมายปลายทาง(Ends) หรือวัตถุประสงค์ของทฤษฎีการเมืองส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกันคือ การ ใฝ่หา “สัมมาร่วม” (Common Good) หรือการสรรค์สร้างสังคมให้มีความสุข(การเห็นพ้องต้องกัน) ซึ่ง เป็นผลมาจากการดาเนินการทางการเมืองที่ถูกต้องแลมีประสิทธิภาพ สามารถบันดาลความสุขให้เกิดขึ้นแก่ สังคมโดยส่วนรวม แต่ความแตกต่างของทฤษฎีการเมืองของแต่ละนักคิดนั้นจะอยู่ที่วิธีการหรือมรรควิธี (Means) ที่จะนาไปสู่จุดหมายปลายทางดังกล่าว เช่น รูปแบบการปกครองที่ดี คุณสมบัติของผู้ปกครอง จาน วนผู้ปกครอง หน้าที่ของรัฐ เป็นต้น รอเบิร์ต เอ ดอลล์(Robert A. Dahl) กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีกับสถาบันเป็นการโต้แย้ง ระหว่าง 2 กลุ่มคือ 1. กลุ่มที่อธิบายโดยอาศัยหลักวิตรรกวาทหรือเหตุผลนิยม(Rationalist Explanation) เชื่อว่าบรรดาสถาบันต่างๆล้วนแต่เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งนั้น คนต่างจากสัตว์อื่นคือเป็นผู้ที่มีเหตุผล สถาบัน การเมืองจึงเกิดขึ้นจากการหล่อหลอมด้วยเหตุผลของคน ข้อบกพร่องของกลุ่มนี้ ได้ถูกตั้งคาถามขึ้นว่า หากสถาบันต่างๆ ได้รับการจัดตั้งตามทฤษฎีที่กาหนดไว้และ ทฤษฎีที่ว่านั้นมาจากเหตุผลแล้ว ทาไมจึงยังมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นภายในหรือระหว่างสถาบัน เพราะเมื่อสถาบัน เกิดขึ้นจากเหตุผลก็ไม่ควรที่จะมีข้อขัดแย้ง พวกวิตรรกวาทให้คาตอบว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้นจะเกิดขึ้น เฉพาะกับสถาบันที่มีรากฐานมาจากการใช้เหตุผลที่เลว(Bad Reasoning)เท่านั้น หมายความว่า หาก ผู้ปกครองเชื่อในทฤษฎีการเมืองที่มาจากเหตุผลที่ไม่ถูกต้อง และก่อตั้งสถาบันนั้นขึ้นตามทฤษฎีนั้น ปัญหาข้อ ขัดแย้งจึงตามมา 2. กลุ่มที่อธิบายโดยอาศัยหลักสสารวาทหรือวัตถุนิยม(Materialist Explanation) สถาบันทางการเมืองและทฤษฎีการเมืองต่างๆ ล้วนแต่เป็นผลมาจากบทบาทของผลประโยชน์ทางวัตถุหรือ เศรษฐกิจ คือสถานภาพทางสังคม รายได้ และทรัพย์สมบัติ คือเศรษฐกิจจะเป็นสิ่งกาหนดการเมืองนั่นเอง สถาบันเป็นสิ่งกาหนดผลประโยชน์ของแต่ละคน ใครก็ตามที่ได้ผลประโยชน์จากสถาบันก็พยายามที่ จะรักษาสถาบันไว้เพื่อผลประโยชน์ของตน ทฤษฎีเป็นเพียงเครื่องมือค้าจุนสถาบันให้ดูมีความชอบธรรมในการ ตั้งอยู่เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ที่ได้รับ จึงได้พยายามสร้างทฤษฎีขึ้นมาเพื่อรองรับผลประโยชน์ของตน ข้อบกพร่องของกลุ่มนี้ ได้ถูกตั้งคาถามขึ้นว่า หากสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจเป็นรากฐานของ ความคิดมนุษย์ ทาไมชนชั้นเดียวกัน มีสถานทางสังคมเหมือนกัน จึงมีแนวคิดหรืออุดมการณ์ไม่เหมือนกัน เช่น พวกกรรมกรหรือผู้ใช้แรงงานในอังกฤษ แทนที่จะสนับสนุนพรรคการเมืองพรรคเดียวกัน กลับแบ่งแยก สนับสนุนทั้งพรรคอนุรักษนิยมและพรรคกรรมกร พวกสสารวาทให้คาตอบว่า เป็นเพราะบางคนเข้าใจใน สถานะของตนผิด เช่น กรรมกรบางคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าตนเป็นคนชนชั้นกลาง การไม่รู้จักสถานะตนเองทา ให้ความคิดแตกต่างกันทั้งๆที่เป็นชนชั้นเดียวกัน *** ภาคผนวกบทความของดร.ทินพันธุ์ นาคาตะ อ่านในหนังสือเรียนนะ(p.13-15) ***
  • 4. 4 นครรัฐกรีก การศึกษาความคิดของมนุษย์ ต้องศึกษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคมของเจ้าของความคิด หรือเมธีปรัชญาด้วย เพราะความคิดของมนุษย์ไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ สิ่งแวดล้อมรอบตัว ลักษณะของรัฐมักมี อิทธิพลต่อความความคิดนั้นๆ ศึกษาเอเธนส์เพื่อให้เห็นสภาพความเป็นอยู่และทัศนคติของชาวกรีก ดินแดนที่หล่อหลอมนักปรัชญา คนสาคัญหลายคน กรีกสมัยก่อนเรียกว่าเฮเลนนิค(Helenic) เป็นช่วงที่อารยธรรมกรีกโบราณรุ่งเรืองที่สุดประกอบด้วย นครรัฐกระจัดกระจายตามหุบเขาต่างๆและดินแดนแถบชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียน ระบอบการปกครองสมัยแรกเป็นระบบราชาธิปไตย(Monarchy) ต่อมาเป็นระบบคณาธิปไตย (Oligarchy)ซึ่งคณะผู้ปกครองเป็นหัวหน้าเผ่าใหญ่ๆในรัฐ และเสื่อมลงกลายเป็นการปกครองในระบบทุชนาธิป ไตยหรือทรราช(Tyranny) โดยปรากฏแบบขวัญใจประชาชน แล้วปกครองตามอาเภอใจ จนบรรดาประชาชน ร่วมมือกับขุนนางละผู้ทรงความรู้ทาการปฏิวัติ จนเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตยโดยตรงใน ศตวรรษที่ 4-5 รัฐที่ยิ่งใหญ่คือเอเธนส์และสปาร์ต้า เคยร่วมมือกันต่อต้านการบุกรุกของชนชาติเปอร์เซีย แต่ต่อมา กลับกลายเป็นคู่สงครามกันเองใน สงครามเพโลโพนีเซียน(Peloponesian War) จนกลายเป็นสงครามกลาง เมือง และจบลงด้วยชัยชนะของสปาร์ต้า ชนชั้นในสังคม แบ่งออกเป็น 3 พวก ได้แก่ พลเมือง(Citizen) ต่างด้าว(Metics) ทาส(Slaves) 1. พลเมือง (Citizen) เป็นชนชั้นที่ สาคัญที่สุด ฐานะในการเป็นพลเมืองได้มาตั้งแต่กาเนิด สิทธิของ ความเป็นพลเมือง เฉพาะพลเมืองชายที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป มีสิทธิในการปกครอง ส่วนเพศหญิงและชน ชั้นอื่นๆไม่มีสิทธิในการปกครอง 2. ต่างด้าว (Metics) ได้แก่ คนทั้งหลายที่ไม่ได้มีพ่อแม่เป็นชาวเอเธนส์ ส่วนใหญ่จะเป็นบรรดาพ่อค้า ไม่ มีสิทธิที่จะโอนสัญชาติมาเป็นพลเมือง แต่บางคนได้รับการยอมรับให้เป็นพลเมืองด้วยกระบวนการ ทางกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ ไม่มีสิทธิในการปกครองของรัฐ ถูกควบคุมด้วยกฎหมายมากกว่าบุคคล ธรรมดา ต้องเสียภาษีพิเศษ เสียค่าบารุงกองทัพ 3. ทาส (Slaves) เป็นชนชั้นที่ ใหญ่ที่สุดของรัฐ(มีมากที่สุด) ไม่มีส่วนร่วมในการปกครอง มีหน้าที่ สาคัญคือปฏิบัติภารกิจแทนนาย ช่วยให้นายมีเวลาในการที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมของรัฐ คุณสมบัติของทาส - มีสิทธิเสรีภาพในการเขียนและพูด - ปฏิบัติหน้าที่เป็นข้าราชการในระดับต่าได้ เช่น ตารวจ ผู้คุม นักโทษ เพชฌฆาต มีกฎหมายพิทักษ์ทาสคือ - ผู้เป็นนายไม่มีสิทธิทาร้ายทาสจนถึงแก่ชีวิต - ผู้เป็นนายอาจถูกบังคับให้ขายทาสได้ หากว่ากดขี่ข่มเหงมากเกินไป(ซื้อขายได้)
  • 5. 5 - ทุกคนไม่มีสิทธิทาร้ายร่างกายทาสที่ไม่ใช่ทาสของตน สถาบันการเมือง ประกอบด้วย 4 องค์การ ได้แก่ 1. สภาประชาชน (Assembly of Ecclesia) ประกอบด้วยพลเมืองชายทุกคนที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป เป็น สถาบันที่แสดงเจตจานงสูงสุดของประชาชน ทาหน้าที่นิติบัญญัติ ควบคุมนโยบายต่างประเทศและ ควบคุมฝ่ายบริหาร ปีหนึ่งมีสมัยประชุม 10 ครั้ง มีองค์การย่อยคือคณะมนตรีห้าร้อย มีสิทธิควบคุม การทางานของคณะมนตรีห้าร้อย ปฏิเสธข้อเสนอของคณะมนตรีห้าร้อยและสามารถแก้ไขเพิ่มเติม บทบัญญัติที่ออกมาโดยคณะมนตรีห้าร้อยได้ 2. คณะมนตรีห้าร้อย (Council of Five Hundred) เป็นองค์การปกครองประจา ปฏิบัติงานในสมัย ระหว่างประชุมของสภาและอานวยงานของสภาในวาระประชุม สมาชิกประกอบด้วยพลเมืองชาย 500 คน คัดเลือกโดยวิธีจับสลากจากแต่ละเผ่าเผ่าละ 50 คน สมาชิกแต่ละคนมีวาระการดารง ตาแหน่งคราวละ 1 ปี ห้ามไม่ให้ดารงตาแหน่ง 2 ปีติดต่อกัน คณะมนตรีห้าร้อยนี้จะใช้ระบบ หมุนเวียนลัดเปลี่ยนการทางาน แบ่งเป็นคณะกรรมการ 10 คณะ แต่ละคณะมี 50 คน เรียกว่าคณะ มนตรีห้าสิบ โดยห้ามไม่ให้ดารงตาแหน่งนี้ได้เกิน 1 วัน 3. ศาล (Court) เป็นสถาบันที่เป็นตัวแทนแสดงอานาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์ของประชาชน ประกอบด้วย ชาวเอเธนส์ชายที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป จานวน 6,000 คน คัดเลือกโดยวิธีจับสลากจากแต่ละเผ่าเผ่าละ 600 คน พิจารณาตัดสินคดีโดยใช้ระบบลูกขุน(Jury) ทาหน้าที่เป็นผู้พิพากษาทั้งคดีแพ่งและอาญา คา ตัดสินของศาลถือเป็นเด็ดขาด ไม่มีการอุทธรณ์ การเป็นสมาชิกของศาลต้องทาด้วยความสมัครใจ เพราะเงินตอบแทนน้อย ทาให้สมาชิกของศาลส่วนใหญ่มีแต่คนชราและมีแต่ผู้ที่ไม่มีความสามารถ อย่างแท้จริง 4. คณะสิบนายพล(Ten Generals) เป็นตาแหน่งหน้าที่ทางการทหาร แต่ก็มีอิทธิพลและอานาจทางการ เมืองการปกครอง ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง หน้าที่เน้นหนักไปทางนโยบาย ต่างประเทศและทางทหาร หัวหน้านายพลเปรียบเสมือนนายกรัฐมนตรี
  • 6. 6 ซอคราตีส (Socrates : 473-399 BC) นักปรัชญาการเมืองผู้เป็นอาจารย์ของเพลโต นิยมเผยทรรศนะของเขาด้วยวิธีการสนทนาโต้ตอบใน รูปแบบของการตั้งปัญหาและอภิปรายถกเถียงกันจนกระทั่งพบข้อสรุป(Dialogus) เขาจบชีวิตลงด้วยการ ดื่มยาพิษตามคาพิพากษาของศาลเอเธนส์ด้วยข้อหาพยายามสร้างลัทธิศาสนาของตนเองและชักจูงเยาวชนไป ในทางที่ผิด ซอคราตีสไม่ได้เขียนหนังสือออกมาและแนวคิดของเขาก็ไม่ได้มีการรวบรวมไว้เป็นหนังสือ แต่เรา สามารถศึกษาความคิดของเขาได้จากงานเขียนของเพลโต ที่มักกาหนดให้เขาเป็นตัวเอกของเรื่อ สนทนา โต้ตอบกับคนที่แสดงตนว่าเป็นผู้รู้ทั้งหลาย และสุดท้ายมักถูกซอคราตีสหักล้างข้อกล่าวอ้างของผู้รู้เหล่านั้นใน ที่สุด ตัวอย่างวรรคทองของซอคราตีสคือ “สิ่งที่ข้าพเจ้ารู้ คือข้าพเจ้าไม่รู้อะไรเลย” “ชีวิตที่ปราศจากการ พินิจพิเคราะห์ เป็นชีวิตที่ไม่ควรค่าแก่การดารงอยู่” ทรรศนะของซอคราตีส เชื่อในความเป็นอมตะของวิญญาณ(ไม่เสื่อมสลาย) คนเราเมื่อตายแล้ววิญญาณจะออกจากโลกนี้ไปยัง อีกโลกหนึ่งซึ่งดีกว่าและมีค่าแก่วิญญาณมากกว่า สิ่งที่หล่อหลอมวิญญาณให้ได้ดีคือ การใช้ชีวิตให้ถูกต้องตาม ทานองคลองธรรม เครื่องมือที่ใช้แสวงหาความผิดความถูกคือเหตุผล จุดมุ่งหมายของชีวิตคือการประพฤติตนตามหลักทานองคลองธรรม(Moral) ที่สามารถค้นพบได้โดย อาศัยคุณธรรม(Virtue) ซึ่งได้แก่การเป็นผู้ที่มีความรอบรู้(Knowledge) ที่จะสามารถแยกแยะความดีชั่ว ถูกผิด และสามารถปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับหลักของความดีและความถูกต้อง แม้ในที่สุดแล้วจะต้องถึงกับสละชีวิต ตนเองก็ตาม รัฐเป็นสิ่งที่ดีและจาเป็นเพราะเป็นแหล่งที่มนุษย์สามารถเรียนรู้คุณธรรมและค้นพบชีวิตที่ดี เป็น สถานที่ที่สนองความต้องการหลากหลายของคนเพราะการอยู่ร่วมกันในรัฐนั้นทาให้เกิดการแบ่งงานกันทา หาก ปราศจากรัฐ มนุษย์ย่อมไม่มีโอกาสที่จะเรียนรู้คุณธรรมและมีชีวิตที่ดีได้ รัฐที่จะสามารถเอื้ออานวยให้พลเมืองค้นพบและปฏิบัติตนตามหลักแห่งความถูกต้องได้จะต้องเป็นรัฐ ที่ปกครองโดยผู้ที่ความฉลาดรอบรู้ มากกว่ารัฐที่ปกครองโดยเสียงส่วนใหญ่เพราะมักเป็นการปกครองโดย รัฐบาลที่ปราศจากคุณธรรมและความยุติธรรม กฎหมายแห่งรัฐ คือกติกาข้อบังคับที่ทาให้คนในสังคมมีชีวิตที่ถูกต้องตามทานองคลองธรรม กฎหมาย ที่แท้จริงมากจากความฉลาดหรือความรอบรู้ ชอบการปกครองแบบอภิชนาธิปไตย (Aristocracy)เน้นคุณธรรมในการปกครองคือความเฉลียวฉลาด เพราะเขาไม่เชื่อว่าคนเราจะฉลาดเท่ากัน ผู้ปกครองที่ไม่ฉลาด ไม่สามารถสร้างคุณธรรมได้
  • 7. 7 กลุ่มซอฟฟิสต์(Sophists) ซอฟฟิสต์มากจากคาว่า โซเฟีย(Sophia) ที่หมายถึงปัญญาหรือความฉลาดรอบรู้ ซอฟฟิสต์จึง หมายความว่า “ผู้ที่มีปัญญาหรือความรอบรู้” กลุ่มซอฟฟิสต์เป็นชาวต่างด้าว มักหาเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างสอนวาทศิลป์หรือศิลปะแห่งการใช้ ถ้อยคาจูงใจคน(Rhetorics) ให้กับพลเมืองในนครรัฐเอเธนส์ ซอฟฟิสต์ที่มีชื่อเสียงได้แก่ โปรทากอรัส (Protagoras) จอเจียส(Gorgias) โปรดิคุส(Prodicus) ฮิปเปียส(Hippias) ธราสิมาคัส(Thrasymachus) เป็น กลุ่มแรกที่ศึกษาเรื่องคนและภายหลังผันตนมาทาอาชีพทนายความ ซอฟฟิสต์เชื่อมั่นในแนวคิดแบบปัจเจกชนนิยม(Individualism)อย่างสุดขั้ว โปรทากอรัสกล่าวว่า “มนุษย์คือเครื่องวัดของทุกสิ่ง” หมายความว่าในทรรศนะของเขา ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าความจริงที่เที่ยงแท้สมบูรณ์ (Ultimate reality)นอกเหนือไปจากความเห็นหรือการตัดสินของมนุษย์ ซอฟฟิสต์เห็นว่า มนุษย์ไม่ใช่สัตว์สังคม โดยธรรมชาติมนุษย์เห็นแก่ตัว ไม่ชอบรวมกันเป็นสังคม และ ไม่เท่าเทียมกันในเรื่องของกาลังอานาจ รัฐไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หากแต่มีรากฐานมาจากมนุษย์ผู้มีอานาจก่อตั้งขึ้น ดังนั้นจุดมุ่งหมาย ที่แท้จริงของรัฐก็คือผลประโยชน์ของผู้ปกครอง ในทรรศนะของซอฟฟิสต์ ความยุติธรรมเป็นเรื่องของปัจเจกชนแต่ละคน ซึ่งมีสิทธิจะยึดถือสิ่งที่ ยุติธรรมสาหรับคน โปรทากอรัสกล่าวว่า “สิ่งที่บุคคลหนึ่งเห็นว่าเป็นความยุติธรรมก็เป็นความยุติธรรม เฉพาะตัวของเขาเท่านั้น สิ่งที่เห็นว่าเป็นความยุติธรรมของเมืองหนึ่งก็เป็นความยุติธรรมเฉพาะของเมืองนั้น” ธราสิมาคัสได้ให้ความหมายของความยุติธรรมไว้ว่า “ความยุติธรรมคือผลประโยชน์ของผู้ที่แข็งแรงกว่า” รัฐที่ดีต้องหลีกเลี่ยงที่จะบัญญัติกฎหมายแห่งธรรมชาติ ด้วยการลดบทบาทไม่ยุ่งเกี่ยวกับคนให้มากนัก คนดีที่กลุ่มซอฟฟิสต์ยกย่องได้แก่ คนที่รู้จักการหลบหลีก ไม่อยู่กับร่องรอย และรู้จักฉวยโอกาส *** ภาคผนวก(เพริคลิส) อ่านในหนังสือเรียนนะ(p.27-31)***
  • 8. 8 เพลโต(Plato : 427-347 BC) เพลโตเกิดในครอบครัวของชนชั้นสูงในนครรัฐเอเธนส์ เป็นศิษย์และสหายต่างวัยของซอคราตีส เขา ได้ก่อตั้งสานักศึกษาที่ชื่อว่า อเค็ดเดมี่(Academy) ซึ่งถือกันว่าเป็นวิทยาลัยแห่งแรกของโลก เพลโตเคยถูกลงโทษให้เป็นทาสที่เมืองไซราคิวส์ เมื่อเขาได้สร้างความขุ่นเคือง(โกรธ)ให้กับพระเจ้า ไดโอนีเซียสที่ 1 ด้วยการก้าวก่ายแนะนาพระองค์ในเรื่องการปกครอง แต่ภายหลังบรรดาเพื่อนได้ไถ่ตัวเขา ออกมา เพลโตได้ให้การศึกษาในเรื่องของวิทยาศาสตร์และปรัชญาแก่บรรดาลูกศิษย์ที่สมัครเข้าเรียน ผลงาน ของเพลโตมีจานวนมาก วิธีการเขียนหนังสือของเขามักจะใช้รูปแบบของการสนทนาโต้ตอบที่ได้รับอิทธิพลมา จากซอคราตีสผู้เป็นอาจารย์ ผลงานชิ้นสาคัญของเขาได้แก่ อุตมรัฐ(The Republic) รัฐบุรุษ(The Statesman) และกฎหมาย(The Law) เพลโตได้รับการยอมรับว่าเป็นเมธีการเมืองที่ยิ่งใหญ่ แนวความคิดและหลักปรัชญาของเขาได้รับความ สนใจในการนามาอภิปรายโดยเมธีสมัยต่อๆมาเสมอ ดังที่อัลเฟร็ด ไว้ท์เฮด ได้กล่าวอย่างยกย่องว่า ปรัชญา ตะวันตกทั้งปวงล้วนเป็นการอธิบายเพิ่มเติมต่อปรัชญาของเพลโตทั้งสิ้น เพลโตเห็นว่าธรรมชาติของมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่เกิดมาเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความ ช่วยเหลือนี้จะกระทาได้ ก็ต่อเมื่อเขาได้ใช้ชีวิตอยู่ภายในรัฐเท่านั้น มนุษย์ไม่สามารถสอนตัวเองให้รู้จักเหตุผลหรือความยุติธรรมได้ มนุษย์จะสามารถเรียนรู้คุณสมบัติ เหล่านี้ได้จากเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ดังนั้นการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ จะบรรลุได้ก็ต่อเมื่ออาศัยอยู่ภายในรัฐ ความเป็นพลเมืองดีและชีวิต ที่ดีจึงไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เนื่องจากการจะมีชีวิตที่ดีนั้นในเบื้องต้นต้องเข้ามาอยู่ในรัฐ หรือเป็น พลเมืองที่ดีเสียก่อน ความยุติธรรม(Justice) หมายถึงสิ่งที่เป็น “สัมมาร่วม”(Common Good) ที่จะทาให้เกิด ความสุขต่อปัจเจกบุคคลและรัฐ อันเป็นผลมาจากการแบ่งแยกของชนชั้นและหน้าที่ โดยที่แต่ละคนได้ปฏิบัติ หน้าที่อันสอดคล้องกับความสามารถตามธรรมชาติของตน ความยุติธรรมจึงเป็นคุณธรรมของบุคคล และ คุณธรรมสาธารณะที่สอดคล้องกลมกลืนกัน(Harmony) ความยุติธรรมระดับบุคคล เพลโตอธิบายว่าจิตใจของมนุษย์ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่ ตัณหา ความกล้าหาญ และเหตุผล โดยจิตมนุษย์จะถูกครอบงาด้านใดด้านหนึ่งเสมอ หากจิตใจผู้ใดถูก ครอบงาด้วยเหตุผล ผู้นั้นเหมาะสมที่จะเป็นผู้ปกครอง หากถูกครอบงาด้วยความกล้าหาญ ผู้นั้นเหมาะสมที่จะ เป็นทหาร และหากถูกครอบงาด้วยตัณหา ผู้นั้นเหมาะสมที่จะเป็นผู้ผลิต
  • 9. 9 ความยุติธรรมจะปรากฏในบุคคล เมื่อเขารู้จักความอดกลั้นหรือเป็นผู้มีขันติธรรม อันเป็นคุณธรรมที่ จะทาให้เขายอมรับและแสดงบทบาทตามคุณธรรมประจาจิตของตนและไม่ก้าวก่ายหน้าที่ของผู้อื่น ความยุติธรรมระดับรัฐ เพลโตเห็นว่ารัฐมีคุณธรรมคล้ายกับจิตใจมนุษย์ โดยคุณธรรมของรัฐมี 3 ประการได้แก่ ปัญญาที่หมายถึงความรู้ในศิลปะแห่งการปกครอง ความกล้าหาญ และขันติธรรม ความยุติธรรมของรัฐจะบังเกิดก็ต่อเมื่อคุณธรรมของรัฐแสดงออกอย่างถูกต้องเหมาะสมคือ ผู้มีปัญญา ได้เป็นผู้ปกครอง ผู้ที่มีความกล้าหาญได้เป็นผู้ป้องกันรัฐ(ทหาร) และผู้ที่เต็มไปด้วยตัณหา มีขันติธรรม ซึ่งไม่ ก้าวก่ายในหน้าที่ปกครองและป้องกันรัฐได้เป็นผู้ผลิตหรือช่างประดิษฐ์ อุตมรัฐหรือรัฐในอุดมคติ (Ideal State) : เขียนไว้ในหนังสือ The Republic รัฐที่ดี = รัฐที่มีความยุติธรรมเป็นหลัก กาหนดให้ราชาปราชญ์(ผู้ทรงปัญญาที่รู้ซึ้งถึงความจริงและมีเหตุผล) เป็นผู้ปกครอง ซึ่งเป็นผู้ที่รู้ซึ้ง ถึงศิลปะแห่งการเมือง มีความรอบรู้ในการปกครอง ผู้ทรงปัญญาจะค้นพบสิ่งนี้ได้ด้วยเหตุผล เชื่อว่าสิ่งชั่วร้ายจะหายไปจากรัฐหากว่านักปราชญ์ได้เป็นกษัตริย์ผู้ปกครอง ราชาปราชญ์(นักปรัชญา) คือผู้ที่กระหายความรู้ อยากรู้ทุกเรื่องไม่ใช่ส่วนใดส่วนหนึ่ง อุทิศตัว ให้กับการค้นคว้าหาความรู้อย่างไม่มีวันจบสิ้น รัฐอาจจะปกครองแบบราชาธิปไตยหรืออภิชนาธิปไตยก็ได้ แต่ต้องการให้อานาจการปกครองขึ้นอยู่ กับคณะหรือกลุ่มบุคคลมากกว่าที่จะให้อยู่กับคนเพียงคนเดียวหรือ 2-3 คนเพราะเกรงว่าจะเกิดการใช้ อานาจในทางไม่สุจริต การศึกษาเป็นเครื่องมือในการอบรมพลเมืองและเลือกสรรคนในรัฐให้เหมาะสมกับหน้าที่(แบ่งแยก ชนชั้น) มี 3 ขั้นคือ - ขั้นต้น (บังคับถึงอายุ 18 ปี) ต่อด้วยอบรมทางทหาร 2 ปี เน้นพลศึกษา&ดนตรี สอบไม่ผ่านขั้นแรกไปเป็น ผู้ผลิต - ขั้นที่2 ใช้เวลา 15 ปี โดย 10 ปีแรก (20-30ปี) ศึกษาคณิตศาสตร์&ดาราศาสตร์ สอบไม่ผ่านต้องไปเป็น ทหารหรือผู้ป้องกันรัฐ ถ้าสอบผ่านต่ออีก 5 ปี (30-35ปี) ศึกษาวิชาปรัชญา แสวงหาความดีและสัจธรรม - ขั้นสุดท้าย จะกาหนดให้ทางานในตาแหน่งบริหารทางพลเรือนและทหารอีก 15 ปี (35-50ปี) เป็นการ ทดสอบภาคปฏิบัติ
  • 10. 10 ชนชั้นผู้ปกครอง นักรบ และทหาร ต้องไม่มีทรัพย์สินส่วนตัวและห้ามมีครอบครัว เพราะจะเป็น การปลูกฝังลัทธิปัจเจกชนนิยม(เชื่อมั่นในตัวเอง) ทาให้เกิดการแก่งแย่งชิงดีเพื่ออานาจทางการเมืองในหมู่ชน ชั้นผู้ปกครองและชนชั้นทหาร การสืบพันธุ์กระทาได้ แต่ห้ามมีความสัมพันธ์ในแบบผัวเมีย ประเวณีได้เป็นครั้งคราวเพื่อให้ได้พันธุ์ที่ดี ที่สุด เด็กที่เกิดมาจะอยู่ในการเลี้ยงดูของรัฐ (ไม่มีระบบพ่อแม่ลูก) เพื่อควบคุมขนาดและคุณภาพของประชากร เพลโตยอมรับการคุมกาเนิด ทาแท้ง และทาลายทารก ยอมรับความเสมอภาคระหว่างชายหญิง ความแตกต่างของชายหญิงอยู่ที่ ชายเป็นเหตุแห่งการ กาเนิดและหญิงเป็นผู้ให้กาเนิด นอกนั้นธรรมชาติสร้างให้เท่าเทียมกัน สิทธิต่างๆในรัฐและการเป็นผู้ปกครอง เพศหญิงก็พึงมีพึงเป็นได้ถ้าความสามารถถึง ไม่มีกฎหมายในรัฐอุดมคติ ผู้ปกครองคือราชาปราชญ์ ซึ่งมีความรอบรู้และเฉลียวฉลาดอยู่แล้ว ไม่ จาเป็นต้องมีกฎหมาย หากกาหนดให้มีกฎหมายขึ้นมา ราชาปราชญ์ก็หมดความจาเป็น ประยุกตรัฐ (Practical State)หรือรัฐที่เป็นไปได้จริง : เสนอไว้ในหนังสือ The Laws รัฐที่ดีที่สุด คือรูปแบบผสมระหว่างคณาธิปไตยกับประชาธิปไตย และหันมาใช้กฎหมาย(กฎทั่วไป ไม่มุ่งเฉพาะบุคคล)แทนที่ราชาปราชญ์ในอุดมคติ โครงสร้างการปกครองเป็นลักษณะผสมระหว่าง คณาธิปไตยกับประชาธิปไตย(ความเฉลียวฉลาดกับจานวน) ขนาดของรัฐ ต้องอยู่ห่างจากชายทะเลเพื่อป้องกันการสร้างกองทัพและการค้าขาย(มองว่า กองทัพเรือด้อยกว่ากองทัพบก) ต่อต้านลัทธิพาณิชนิยม(ค้าขาย)เพราะการค้าขายจะให้รัฐมีแต่คนที่แสวงหาแต่กาไรมากกว่าการ ทาประโยชน์ให้รัฐ ห้ามพลเมืองทาการค้าขายยกเว้นพวกต่างด้าว ชอบให้ทากสิกรรม จะได้ไม่รวยเกินไป กาหนดประชากรว่าควรจะคงที่ที่ 5,040 คน ถ้ามีแนวโน้มว่าประชากรเพิ่มให้ควบคุมโดยการ คุมกาเนิดหรือการอพยพ กาหนดที่ดินแบ่งเป็น 5,040 ส่วนเท่าจานวนประชากร มอบให้พลเมืองคนละ 1 ส่วน(1 แปลง) ไม่มี การเปลี่ยนแปลงเจ้าของเว้นให้ต่อกับทายาท มีทรัพย์สินอื่นได้รวมแล้วไม่เกิน 4 เท่าของมูลค่าที่ดิน 1 แปลง ถ้ามีเกินต้องส่งให้รัฐ
  • 11. 11 แบ่งชนชั้นในสังคมเป็น 4 ชนชั้นตามค่าของทรัพย์สินที่มี คือ ชนชั้นที่ 1 = ผู้มีทรัพย์สินเท่ากับค่าที่ดิน 1 แปลง ชนชั้นที่ 2 = ผู้มีทรัพย์สินเท่ากับค่าที่ดิน 2 แปลง ชนชั้นที่ 3 = ผู้มีทรัพย์สินเท่ากับค่าที่ดิน 3 แปลง ชนชั้นที่ 4 = ผู้มีทรัพย์สินเท่ากับค่าที่ดิน 4 แปลง รัฐธรรมนูญ กาหนดให้พลเมืองทุกคนทาการรบป้องกันรัฐ มีสิทธิเป็นสมาชิกของสภา มีอานาจ เลือกตั้งคณะมนตรี 360 และตุลาการ (ขึ้นอยู่กับจานวนทรัพย์สินของแต่ละคน) กาหนดให้มี คณะมนตรี 360 โดยแบ่งที่นั่งออกเป็นตัวแทนจากชนชั้นทั้ง 4 ชนชั้นละเท่าๆกัน (ชั้นละ 90คน) แต่ละชนชั้นเป็นผู้เลือกคนในชนชั้นเดียวกับตนให้เข้าไปเป็นคณะมนตรี 360 ชนชั้นมั่งคั่งจึงมีสิทธิทาง การเมืองมากกว่าเพราะคนรวยมีน้อย แต่ได้รับสิทธิให้มีจานวนผู้แทนเท่ากันกับทุกชนชั้น (แสดงถึงความ ไม่เท่าเทียมกันทางการเมือง) บทลงโทษผู้ที่นอนหลับทับสิทธิ์ไว้ว่า ชนชั้นที่มีทรัพย์สินมากหากไม่ไปลงคะแนนเสียงก็จะถูกลงโทษ มากกว่าผู้ที่มีทรัพย์สินน้อย เว้นชนชั้นต่าสุด ถ้าไม่ไปลงคะแนนเสียง จะไม่ถูกลงโทษ การกาหนดให้ชนชั้นร่ารวยมีสิทธิมากกว่าชนชั้นคนจนนั้นเป็นลักษณะของคณาธิปไตย แต่การที่ ให้ทุกชนชั้นมีส่วนร่วมในการปกครองเป็นลักษณะของประชาธิปไตย เพลโตใช้ทรัพย์สินเป็นตัววัดความสามารถของคน ฐานะของผู้หญิงเสมอภาคเท่ากันกับผู้ชาย (แต่ไม่ได้บอกว่าลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้หรือเข้ารับราชการได้) ระบบครอบครัว เพลโตเสนอว่าเพื่อความสมานฉันท์ (Harmony) ภายในรัฐ ควรแต่งงานใน รูปแบบของการผสมผสาน เช่นคนรวยแต่งกับคนจน คนแข็งแรงแต่งกับคนอ่อนแอ (ไม่ได้บังคับแค่เสนอ) การศึกษาเป็นเรื่องของการบังคับ วิชาที่นามาสอนคือพลศึกษา ดนตรี และวรรณคดี มี รัฐมนตรีว่าการศึกษาเป็นตาแหน่งสูงสุดในบรรดาเจ้าหน้าที่รัฐ เสนอแนวความคิดเรื่องการปกครองโดยคน(Rule of Man) โดยให้มีคณะผู้ปกครองพิเศษขึ้นมาอีก เพื่อทาหน้าที่ควบคุมตาแหน่งที่มาจากการเลือกตั้ง เรียกว่าคณะมนตรีรัตติกาล (Nocturnal Council) คณะมนตรีรัตติกาล ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่นผู้พิพากษา รัฐมนตรีการศึกษา พระ ต้องมี อายุขั้นต่า 50 ปี ต้องศึกษาวิชาดาราศาสตร์ (เชื่อว่าเป็นศาสตร์ที่นาคนเข้าใกล้พระเจ้า)
  • 12. 12 รูปแบบการปกครอง 1. ในหนังสือ The Republic ว่ารัฐในอุดมคติที่ปกครองโดยราชาปราชญ์ หากเสื่อมแล้วก็จะเสื่อมลง เป็น 4 ขั้นคือ Ideal State ปกครองโดยราชาปราชญ์  ระบอบวีรชนาธิปไตย (Timocracy)  ระบอบคณาธิปไตย (Oligarchy)  ระบอบประชาธิปไตย (Democracy)  ทุชนาธิปไตย (Tyranny) Timocracy = ปกครองโดยทหาร Oligarchy = ปกครองเพื่อความสมบูรณ์พูนสุขของตน Democracy = เหมือนอนาธิปไตย(Anarchy) คือสภาวะที่ไม่มีรัฐบาล ขาดผู้ปกครอง สับสนวุ่นวายซึ่งเกิด จากการกระหายเสรีภาพ Tyranny = ปกครองตามอาเภอใจ 2. ในหนังสือ The Laws ให้ความสาคัญกับกฎหมาย ใช้กฎหมายจัดประเภทของระบบการปกครอง มี 2 ประเภทคือ รัฐที่มีกฎหมาย ระบบที่ดีที่สุดคือ ราชาธิปไตย (Monarchy) ดีน้อยที่สุดคือ ประชาธิปไตย (Polity) รัฐที่ไม่มีกฎหมาย ระบบที่เลวที่สุดคือ ทุชนาธิปไตย Tyranny) เลวน้อยที่สุดคือ ประชาธิปไตย (Democracy) จำนวน มีกฎหมำย ไม่มีกฎหมำย คนเดียว รำชำธิปไตย(Monarchy) ทุชนำธิปไตย(Tyranny) คนส่วนน้อย อภิชนำธิปไตย(Aristocracy) คณำธิปไตย(Oligarchy) คนส่วนมำก ประชำธิปไตย(Polity) ประชำธิปไตย(Democracy)
  • 13. 13 อริสโตเติ้ล(Aristotle 385-322BC) เกิดที่เมืองสตากิรัส เป็นบุตรของนายแพทย์ประจาราชสานักมาเซโดเนีย และศึกษาในสานักอเค็ดเดมี่ ของเพลโตอยู่เป็นเวลาถึง 20 ปี มีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระเจ้าฟิลลิปและได้เป็นครูของเจ้าชายอเล็กซานเดอร์ จนกระทั่งพระเจ้าฟิลลิปสิ้นพระชนม์ หลังจากนั้นกลับไปตั้งสานักศึกษาของตนชื่อลิเซียม(Lyceum)ในเอเธนส์ ผลงานชิ้นสาคัญคือ การเมือง(Politics) จริยศาสตร์แห่งนิโคมาเซี่ยม(Nicomachean Ethics) และรัฐธรรมนูญของเอเธนส์(The Constitution of Athens) อริสโตเติ้ลมีความสนใจอย่างกว้างขวางในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นตรรกวิทยา ภูมิศาสตร์ ปรัชญา จิตวิทยา ฟิสิกส์และชีววิทยา เขาได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ จากการที่เขาใช้วิธีการตรวจสอบ(Investigation)และ สังเกตการณ์(Observation)ในการแสวงหาความรู้ทางการเมือง ผลงาน “รัฐธรรมนูญของเอเธนส์” ถือเป็นรากฐานสาคัญของการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ (Comparative Politics) ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ อริสโตเติ้ลถือว่ามนุษย์เป็น “สัตว์การเมือง”หรือสัตว์ที่มีธรรมชาติอยู่ในเมืองหรือรัฐ เพราะมนุษย์มี สัญชาตญาณที่จะแสวงหาอานาจและสิ่งที่จะตอบสนองความปรารถนาของตน ซึ่งจะพบได้ก็ต่อเมื่ออาศัยอยู่ใน รัฐเท่านั้น รัฐเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและเป็นสิ่งจาเป็น มนุษย์จะค้นพบจุดหมายของชีวิตได้ก็แต่ในรัฐ เท่านั้น รัฐเปรียบเสมือนแหล่งพานักตามธรรมชาติ อริสโตเติ้ลเห็นว่า แม้ต้องอยู่ภายใต้รัฐที่ปกครองโดยทรราชก็ยังดีกว่าอยู่ภายนอกรัฐ หากปราศจาก รัฐมนุษย์ก็ไม่ต่างอะไรจากสัตว์ป่า สิ่งที่สร้างคนให้เป็นสัตว์โลกที่มีเหตุผล คือความสามารถในการพูดและ การสมาคมกับคนอื่นๆ เป้าหมายของคนกับรัฐคือ การมีชีวิตที่สมบูรณ์ เห็นความแตกต่างของคนในเรื่อง สติปัญญาและร่างกาย ที่ทาให้คนแต่ละคนมีฐานะทางสังคม ต่างกัน ธรรมชาติกาหนดให้คนบางคนเกิดมาเป็นนายบางคนเป็นทาส เป็นสิ่งที่ยุติธรรมแล้วเมื่อคานึงถึงว่า คนเราแตกต่างกันในด้านสติปัญญา พลเมืองคือบุคคลผู้มีส่วนร่วมในการปกครอง มีคุณสมบัติคือมีความสามารถที่จะปกครองและเป็นผู้ ถูกปกครอง (ทาสไม่ใช่พลเมือง)
  • 14. 14 กฎหมายเป็นสิ่งจาเป็น เพราะเป็นสิ่งที่บันดาลความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในรัฐและสร้างสันติสุขให้กับ คนในรัฐ เป็นสิ่งที่พันธนาการคนในสังคมไว้ด้วยความสานึกในหน้าที่ของตนต่อประชาคมและเพื่อนร่วมสังคม ในทรรศนะของอริสโตเติ้ล คนดี(Good Man)กับพลเมืองดี(Good Citizen)นั้นต่างกัน การเป็น พลเมืองดีนั้นขึ้นอยู่กับสัมมาแห่งกฎหมายของรัฐที่เขาสังกัดอยู่ หากบุคคลนั้นปฏิบัติตนสอดคล้องกับ บทบัญญัติแห่งรัฐอย่างดีเลิศ บุคคลนั้นได้ชื่อว่าเป็นพลเมืองดี ส่วนการเป็นคนดี มนุษย์ทุกคนย่อมใช้สัมมาเดียวกัน ดังนั้นมีแต่ผู้ปกครองเท่านั้นที่สามารถเป็นคนดี และพลเมืองดีได้ในเวลาเดียวกัน เพราะสัมมาที่ใช้วัดผู้ปกครองที่ดีกับคนดี คือสัมมาเดียวกัน ความยุติธรรมเป็นสิ่งที่จะส่งเสริมผลประโยชน์ร่วม (Common Good) จะบังเกิดขึ้นเมื่อคนที่เท่า เทียมกันได้รับในสิ่งเดียวกัน ความยุติธรรมทาให้ความดีในรัฐปรากฏขึ้น 1. ความยุติธรรมในการแบ่งสันปันส่วน = การที่คนเราถูกกาหนดให้ทาหน้าที่ต่างๆกัน ไปตามคุณค่า (Merits) ของแต่ละคนคือเป็นสิ่งที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกัน ถ้ามีทรัพย์สมบัติไม่เท่ากันก็เป็นความยุติธรรม เพราะเป็นการ แบ่งสันปันส่วนตามความสามารถในการรวบรวมของแต่ละคน 2. ความยุติธรรมจากความเสมอภาคทางกฎหมาย = ในเรื่องเกี่ยวกับการพิจารณาจากกฎหมาย ทุกคนต้อง ได้รับการปฏิบัติโดยเท่าเทียมกัน แม้จะมีสถานะทางสังคมต่างกัน ความยุติธรรมมี 2 ความหมายคือ Lawfulness (ปกครองด้วยกฎหมายหรือกระทาการในขอบเขตของ กฎหมายหรือปฏิบัติตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่) และ Fairness (ใครควรจะได้รับสิ่งใดก็ให้เขาได้รับสิ่งนั้น : Giving Each Man His Due) อุตมรัฐหรือรัฐในอุดมคติ (Ideal State) รัฐที่ดี = รัฐที่สร้างและส่งเสริมชีวิตที่ดีให้แก่พลเมือง คนที่มีความสุขได้แก่คนที่เป็นเจ้าของสิ่งดี 3 ประการ ได้แก่ สิ่งดีภายนอก(external goods) สิ่งดีแห่ง ร่างกาย(goods of the body) และสิ่งดีแห่งจิตใจ(good of the soul) เครื่องมือค้นพบความดีมี 3 ประการ ได้แก่ 1.คุณสมบัติตามธรรมชาติ (รัฐไม่สามารถช่วยเหลือได้ เกิดมาตามธรรมชาติไม่สามารถเพิ่มพูนหรือ เปลี่ยนแปลงได้) 2.อุปนิสัยอันเหมาะสม (เพิ่มพูนได้ด้วยการศึกษา) 3.หลักการแห่งเหตุผล (เพิ่มพูนได้ด้วยการศึกษา)
  • 15. 15 พลเมืองต้องถูกบังคับให้เข้ารับการศึกษา เพื่อสร้างพลเมืองดี และมีความรู้พอที่จะมีชีวิตที่ดีได้ สร้าง คนให้มีเหตุผลและรู้จักปฏิบัติตามกฎ การศึกษาเริ่มต้นจากวัยเด็กเน้นเรื่องการมีสุขภาพดีและเคยชินกับความเป็นผู้มีนิสัยดี ควรศึกษาวิชา วรรณคดี การประพันธ์ จิตรกรรมและดนตรี รัฐที่สมบูรณ์แบบ ขนาดของรัฐที่ดี ต้องไม่กว้างใหญ่และเล็กจนเกินไป เพื่อที่ทาให้ประชาชนในรัฐ รู้จักกันทั่วถึงทุกคน กว้างไปเป็นอุปสรรคในการป้องกันประเทศและใช้กฎหมาย เล็กไปก็จะขาดความอุดม สมบูรณ์ทางเศรษฐกิจ มีภูมิประเทศที่เป็นหุบเขาและติดทะเลเพื่อป้องกันตนเองจากธรรมชาติและอานวย ประโยชน์เรื่องการค้า กาหนดให้คนมีครอบครัว โดยกาหนดอายุที่จะสมรสไว้คือชายอายุ 37 ปีและหญิงอายุ 18 ปี แต่ละ ครอบครัวจะได้รับการอบรมวิธีการเลี้ยงลูกที่ถูกต้อง และควบคุมไม่ให้มีลูกมาก(เด็กจะได้รับการเอาใจใส่อย่าง ดี) แบ่งคนเป็น 2 ประเภทคือพลเมืองและผู้อาศัย พลเมืองมีหน้าที่ป้องกันรัฐ ดูแลศาสนา ที่ดิน และ บริการสาธารณะ ส่วนผู้อาศัยทางานกสิกรรมและการช่าง (พ่อค้า ช่างฝีมือ ทาส) บรรดาผู้อาศัยไม่ได้อยู่ในฐานะพลเมืองเพราะไม่มีเวลาแสวงหาคุณธรรมเหมือนเช่นพลเมือง ทาหน้าที่ เพื่อช่วยแบ่งเบาให้พลเมืองมีเวลาที่จะแสวงหาความสุขแห่งชีวิตด้วยการหาคุณธรรม(คุณธรรมทาให้ชีวิต สมบูรณ์แบบ) การแบ่งสันหน้าที่ กาหนดหน้าที่ป้องกันประเทศให้พลเมืองหนุ่ม การปกครองให้พลเมืองวัยกลางคน การศาสนาให้กับพลเมืองสูงอายุ แบ่งที่ดินโดยให้ที่ดินส่วนหนึ่งเป็นของรัฐ เพื่อที่รัฐจะได้นารายได้ไปช่วยเหลือสังเคราะห์คนจน เชื่อในการปกครองแบบราชาธิปไตยและอภิชนาธิปไตย รัฐบาลในอุดมคติ = รัฐบาลโดยคนดี : Virtuous Man (ไม่ว่าจะคนเดียว 2-3 คนหรือมากคน) ระบบประชาธิปไตยดีที่สุด หากสามารถหากษัตริย์ที่เฉลียวฉลาดได้ ประยุกตรัฐ (Practical State) : รัฐที่เป็นไปได้จริง รัฐที่ดีที่สุด = รัฐที่มีชนชั้นกลางจานวนมาก มากกว่าชนชั้นสูงและชนชั้นต่า
  • 16. 16 รัฐควรมีรัฐธรรมนูญที่กาหนดรูปแบบการปกครองแบบผสมระหว่างคณาธิปไตยกับประชาธิปไตย หรือเรียกว่าระบบมัชฌิมวิถีอธิปไตย (ประชาธิปไตยสายกลาง) รัฐควรมีองค์ประกอบ 2 ประการคือคุณภาพ(ลักษณะของคณาธิปไตย ได้แก่ชาติกาเนิด ฐานะ การศึกษา) & ปริมาณ(ลักษณะของประชาธิปไตย ได้แก่การให้คนจานวนมากเข้ามามีสิทธิในการปกครอง) ถ้ากาหนดให้รูปแบบการปกครองเป็นแบบคณาธิปไตย โดยให้คนรวยเท่านั้นมีสิทธิในการปกครอง ทา ให้พวกคนรวยปกครองเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง นิสัยคนรวยไม่ชอบกฎข้อบังคับ ชอบใช้อานาจบังคับ จิตใจถูกครอบงาด้วยเงิน มีความละโมบอยากได้ของคนอื่น แต่ถ้ากาหนดในคนจนพวกเดียวเข้ามามีสิทธิในการปกครองในลักษณะของประชาธิปไตย นิสัยคนจน คือมีความริษยาพวกร่ารวย และพร้อมจะเป็นพลังให้กับนักการเมืองประเภทฉวยโอกาส จะทาให้การ ปกครองถูกผลักดันไปเป็นระบอบทุชนาธิปไตย(ทรราช)แทนที่จะเป็นแบบประชาธิปไตย กาหนดให้ชนชั้นกลางเป็นพลังถ่วงดุลระหว่างพลังของคณาธิปไตยกับประชาธิปไตยจึงเกิดระบบ ประชาธิปไตยสายกลาง นิสัยคนชั้นกลางคือไม่มีความริษยาเนื่องจากไม่ยากจนและไม่ได้รวยเกินไป ขยันทามา หากินและคอยตรวจสอบกิจกรรมของรัฐ รัฐที่สมบูรณ์แบบและสร้างชีวิตที่ดีให้กับพลเมืองได้ หากในรัฐมีชนชั้นกลางจานวนมาก รัฐบาลที่ดี หาได้จากรัฐที่มีชนชั้นกลางเป็นจานวนมาก และยิ่งดีหากว่าจานวนชนชั้นกลางมากกว่าชนชั้นอื่น ยอมรับลักษณะคณาธิปไตยคือ กาหนดให้ทรัพย์สมบัติเป็นคุณสมบัติของผู้ปกครอง ผู้ปกครองมา จากการเลือกตั้ง ตาแหน่งขึ้นอยู่กับการสนับสนุนของประชาชน ผู้ปกครองต้องปกครองแบบนโยบายสายกลาง และคานึงถึงผลประโยชน์ของชนชั้นกลาง โดยระบอบมัชฌิมวิถีอธิปไตย(ประชาธิปไตยสายกลาง) เป็นระบอบการปกครองที่ผสมผสานระหว่าง คณาธิปไตยกับประชาธิปไตย ซึ่งจะมีหลักการถ่วงดุลกันระหว่างชนชั้นสูงและชนชั้นต่า โดยให้สิทธิการ เลือกตั้งกับพลเมืองทุกคน แต่ชนชั้นสูง(คนรวย)เท่านั้นที่มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ปกครองรัฐ ชนชั้น กลางและต่าไม่มีโอกาสเป็นผู้ปกครอง การจัดรูปแบบการปกครองแบบมัชฌิมวิถีอธิปไตย(ประชาธิปไตยสายกลาง)ขึ้นนั้นเพื่อก่อให้เกิด ความสมานฉันท์ (Harmony)ภายในรัฐ ผู้ปกครองที่ดีต้องมีความสามารถและยึดกฎหมายเป็นหลักปฏิบัติ รัฐต้องสร้างให้ประชาชนมีความ ฉลาด ขันติและคุณธรรม
  • 17. 17 รูปแบบการปกครอง รัฐที่ดีคือรัฐที่มีรูปการปกครองที่อานวยผลประโยชน์แก่คนในรัฐ รัฐที่เลวคือรัฐที่มีรูปการปกครองที่อานวยผลประโยชน์แก่ผู้ปกครอง อริสโตเติ้ลจาแนกรูปแบบการปกครองออกเป็น 6 แบบโดยใช้หลักเกณฑ์ 2 ประการคือจานวนผู้ใช้อานาจ และ จุดมุ่งหมายของการปกครอง ดังนี้ รัฐที่ดีที่สุดคือ รัฐที่ปกครองโดยคนๆเดียวและมีวัตถุประสงค์เพื่อความสุขของประชาชนทั้งหมด = รา ชาธิปไตย (Monarchy) แต่หากการปกครองนั้นทาเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง = ทุชนาธิปไตย (Tyranny)จะถือว่าเป็นระบอบการปกครองที่เลวที่สุด การปกครองโดยคณะบุคคลแบบอภิชนาธิปไตยและคณาธิปไตย ถือเป็นระบอบการปกครองชั้นดีที่ รองลงมาจากการปกครองโดยคนๆเดียวตามลาดับ ระบอบประชาธิปไตยถือเป็นระบอบที่เลวน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับระบอบที่เลวด้วยกัน ส่วนระบอบการ ปกครองแบบมัชฌิมวิถีอธิปไตย(Polity) เป็นระบอบที่ดีน้อยที่สุดในระบอบปกครองที่ดีด้วยกัน โดยระบอบมัชฌิมวิถีอธิปไตย เป็นระบอบการปกครองที่ผสมผสานระหว่างคณาธิปไตยกับ ประชาธิปไตย ซึ่งจะมีหลักการถ่วงดุลกันระหว่างชนชั้นสูงและชนชั้นต่า โดยให้สิทธิการเลือกตั้งกับพลเมืองทุก คน แต่ชนชั้นสูงเท่านั้นที่มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ปกครองรัฐ จานวน เพื่อประชาชน เพื่อผู้ปกครอง คนเดียว ราชาธิปไตย(Monarchy) ทุชนาธิปไตย(Tyranny) คณะ อภิชนาธิปไตย(Aristocracy) คณาธิปไตย(Oligarchy) ประชาชนทั้งหมด มัชฌิมวิถีอธิปไตย(Polity) ประชาธิปไตย(Democracy)
  • 18. 18  ลัทธิอิพิคิวเรียน(Epicureanism) ถือกาเนิดจากแนวคิดของอีพิคิวรุส(Epicurus) ผู้ซึ่งมีคติว่าจงมีชีวิตอยู่อย่างไม่ก้าวร้าวใคร เป็นผู้มี เมตตากับคนทุกประเภท ต้อนรับทาสและสตรีให้ได้รับการศึกษาจากสานักของเขา ทรรศนะต่อพระเจ้า เห็นว่าพระเจ้ามีจริงแต่ก็ไม่ยุ่งกับเรื่องของมนุษย์ มนุษย์ไม่จาเป็นต้องกลัวหรือ ศรัทธาพระเจ้า ที่มนุษย์ศรัทธาในพระเจ้านั้นเกิดจากจินตนาการ พวกอิพิคิวเรียนจัดเป็นพวกสาราญนิยม(Pleasurism) เพราะเชื่อว่า จุดหมายของชีวิตคือความสุข เฉพาะตัว ความสุขคือความรู้สึกสงบที่ได้รับหลังจากความต้องการได้รับการตอบสนอง ชีวิตที่ดีของมนุษย์คือ ชีวิตที่อยู่อย่างสงบ ง่ายๆ ไม่ทะเยอะทะยานใฝ่ฝันเกียรติยศในสังคม อิพิคิวเรียนมุ่งเน้นให้มนุษย์ไม่ยุ่งเกี่ยวกับรัฐหรือสังคม เพราะสิ่งเหล่านี้จะบั่นทอนความสุขของมนุษย์ และจะเป็นนายบังคับให้มนุษย์ตกเป็นทาส แท้จริงแล้วมนุษย์ไม่ควรตกเป็นทาสของสิ่งใด ดังนั้นทางที่จะพบความสุขคือการปลีกตัวออกจากสังคม ไม่ควรรับผิดชอบอะไรในสังคม เพราะจะ เป็นภาระทาให้ขาดความอิสระ และมีแต่ความกังวลใจ ซึ่งขัดกับจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของชีวิตตามคติอิพิคิว เรียน รัฐเป็นสิ่งชั่วร้ายที่จาเป็น เพราะแม้ว่าจะเป็นอุปสรรคต่อความสุขของมนุษย์ แต่ก็ต้องจัดตั้งขึ้นเพื่อ ผดุงไว้ซึ่งเสถียรภาพของสังคม ขจัดความรุนแรงและความอยุติธรรม เลื่อมใสในระบอบการปกครองแบบอานาจนิยม(Authoritarianism) และพอใจรูปแบบการ ปกครองแบบราชาธิปไตย(Monarchy) มีปรัชญาแบบปฏิเสธนิยม(Negativism)คือยอมถอยหลังเมื่อเผชิญกับ ปัญหาแทนที่จะก้าวไปข้างหน้า
  • 19. 19  ลัทธิซินนิคส์(Cynics) เกิดขึ้นเพราะการถูกกดดันและจากัดสิทธิหลายอย่างของพวกทาสและคนต่างด้าวในเอเธนส์ เป็นกลุ่มแรกของนักปรัชญาชนชั้นกรรมาชีพ(กรรมกร,ทาส) ผู้ก่อตั้งคือแอนทิสธิเนส(Antisthenes) คนสาคัญได้แก่ ไดโอจีนิส(Diogenes)และเครทิส(Crates) มี แนวคิดในการต่อต้านนครรัฐและสถาบันการปกครองและสังคม ชีวิตที่ดีคือการเป็นอยู่อย่างง่ายๆ(สมถะ)เท่านั้นที่จะเป็นกุญแจนาไปสู่ชีวิตที่ดี รัฐที่แท้จริงคือรัฐแห่งพิภพ(City of the world) ซึ่งคนฉลาดจากทุกแห่งสร้างขึ้นมา แนวคิดมีลักษณะเพ้อฝัน อยากสร้างอาณาจักรที่ครอบคลุมทั้งโลกเป็นนครเดียว(คอมมิวนิสต์) นิยมอนาธิปไตย(Anarchy) ไม่ให้มีรัฐบาลหรือสถาบันการเมือง ให้มนุษย์อยู่กันเองตามธรรมชาติ  กฎหมายโรมัน(Roman Laws) เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาณาจักรโรมันที่สร้างให้กับอารยธรรมตะวันตกและโลกปัจจุบัน มีรากฐานมาจาก กฎหมายสิบสองโต๊ะ ต่อมาบทบัญญัติต่างๆมาจากฝีมือของพวกผู้พิพากษาที่เรียกกันว่า เพรเตอร์(Praetors) จักพรรดิจัสติเนียนได้สร้างกฎหมายขึ้นในปีค.ศ.483-565 เรียกว่ากฎหมายจัสติเนียน(Code of Justinian) แบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ 1. Jus civile(กฎหมายภายใน) มีผลบังคับและคุ้มกันชาวโรมันเท่านั้น มีศักดิ์สูงสุด เป็นกฎหมายศักดิ์สิทธิ์ ได้มาจากพระเจ้า และไม่มีการเปลี่ยนแปลง 2. Jus gentium(กฎหมายทั่วไป) ดัดแปลงจากกฎหมายภายใน+หลักกฎหมายของบาบิโลเนีย ฟินีเชียนและ กรีก มีผลบังคับต่อชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในโรมัน 3. Jus natural(กฎหมายธรรมชาติ) เป็นสากลและเป็นรากฐานของกฎหมายอื่น ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิ สตอยอิกส์ ไม่ยอมรับการมีทาสถือว่ามนุษย์มีอิสรเสรีและเสมอภาคกัน ต่อมาในปีค.ศ.212 จักรพรรดิคาราคัลล่าได้ออกประกาศ Edict of Caracalla ซึ่งให้คนทุกคนที่อยู่ใน อาณาจักรโรมันเป็นพลเมืองโรมันเหมือนกันหมดและใช้กฎหมายฉบับเดียวกัน  โพลิเบียส(Polybius:204-111BC) เป็นบุตรของรัฐบุรุษแห่งอาร์คาเดีย ใช้ชีวิตทางการเมืองเหมือนบิดา เคยถูกจับเป็นเชลยของจักรวรรดิ โรมันอยู่ 17 ปี แต่โชคดีที่เขาเป็นเพื่อนกับสคิพิโอ(Scipio)นักการเมืองผู้มีอิทธิพลในโรมขณะนั้น โพลีเบียสจึงมี โอกาสเข้าสู่สังคมชนชั้นสูงของโรมัน ผลงานชิ้นสาคัญของเขาคือประวัติศาสตร์สากล(Universal Histories) โพลีเบียสตั้งคาถามถึงสาเหตุแห่งความรุ่งเรืองของอาณาจักโรมันและพบว่าเกิดจากการมีรัฐธรรมนูญที่ เป็นเลิศ(โครงสร้างการเมืองที่ดี) และได้ศึกษาประวัติศาสตร์เมืองกรีก การปกครองทุกรูปแบบจะมีลักษณะที่ ชั่วร้ายในตัวเองและนาไปสู่ความล่มสลายของระบอบการปกครอง
  • 20. 20 เขาเสนอว่าระบอบการปกครองมีการเปลี่ยนแปลงเป็นวัฏจักรเริ่มจากระบอบราชาธิปไตย(Monarchy) – ทุชนาธิปไตย(Tyranny) – อภิชนาธิปไตย(Aristocracy) – คณาธิปไตย(Oligarchy) – ประชาธิปไตย (Democracy) – ฝูงชนบ้าคลั่ง(Mob Rule) และกลับคืนสู่ราชาธิปไตยอีกครั้ง โพลีเบียสพบว่ารัฐธรรมนูญของอาณาจักรโรมันมีลักษณะผสมกันระหว่างรูปแบบที่ดีของระบอบการ ปกครองแบบราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตยและประชาธิปไตย(Mix Constitution) คือกงสุล(Consul) วุฒิสภา(Senate) และสภาประชาชน(Tribunes) ตามลาดับ โดยทั้งสามสถาบันมีการถ่วงดุลซึ่งกันและกัน ทาให้ลักษณะที่ดีของแต่ระบอบการปกครองไม่เสื่อมลงเป็น ลักษณะที่เลวหรือนาไปสู่ความล่มสลาย แนวคิดของโพลิเบียส ถือเป็นต้นแบบของหลักการตรวจสอบและถ่วงดุลอานาจ(Check and Balance) และการแบ่งแยกอานาจ(Separation of Power) ที่พบเห็นได้ทั่วไปในระบอบการเมืองปัจจุบัน
  • 21. 21  ลัทธิสตอยอิกส์(Stoicism) สตอยอิกส์มาจากภาษาละตินว่าสโตอา(Stoa) แปลว่าเฉลียงหรือระเบียง สตอยอิกส์เป็นชื่อเรียกบรรดา ผู้ที่ถกปัญหาทางปรัชญาแถวเฉลียงหรือระเบียงตามสถานที่สาธารณะ(Agora) เป็นลัทธิคาบสมัยคือมีชื่อเสียงในสมัยเฮเลนิก(Helenic)จนถึงสมัยของอาณาจักโรมันเรืองอานาจ เมธีคนสาคัญได้แก่ซีโน(Zeno) ซิซีโร(Cicero) ซินีคา(Seneca) และมาร์คัส เออเรลิอุส (MarcusAurelius)จักรพรรดิโรมัน แนวคิดของสตอยอิกส์ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิซินนิคส์และเพลโตอยู่มาก ถือธรรมชาติเสมือนเทพเจ้า เคารพเหตุผลและเข้าใจธรรมชาติ ยอมรับโชคชะตา เชื่อในความเสมอภาคของมนุษย์ สรรพสิ่งทั้งหลาย ล้วนเกิดขึ้นและเป็นไปตามกฎธรรมชาติอันเป็นกฎสากล มีเหตุมีผลและไม่เปลี่ยนแปลง จุดมุ่งหมายของชีวิตคือ การดาเนินชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติ และยอมรับผลที่ตามมาจากกฎ ธรรมชาติหรือโชคชะตาอย่างสงบและเป็นสุข หากไม่สามารถยอมรับผลจากสรรพสิ่งที่อยู่นอกเหนือการ ควบคุมของตนได้ ทางออกมีอยู่ทางเดียวคือการกระทาอัตวินิบาตกรรม(ฆ่าตัวตาย) คุณธรรมของมนุษย์ขึ้นอยู่กับความรอบรู้ที่แสวงหาได้จากเหตุผล และเมื่อมนุษย์มีเหตุผล มนุษย์ย่อม สามารถทาความเข้าใจกฎธรรมชาติได้ การปกครองที่ดีคือการปกครองที่สอดคล้องกับกฎธรรมชาติ คาสอนของสตอยอิกส์จะอยู่ตรงกลางเมื่อเทียบกับคาสอนของซินนิคส์และอิพิคิวเรียน กล่าวคือ สตอยอิกส์ ไม่สนับสนุนให้ละทิ้งหรือต่อต้านสังคม เมื่อมนุษย์ต้องทาหน้าที่สาธารณะบางอย่างที่เขาไม่ชอบ หากเหตุผล ของเขาบอกว่านั่นคือสิ่งที่กฎธรรมชาติกาหนดให้ทา เขาควรทาอย่างดีที่สุด  ซิซีโร(Cicero) เป็นปรัชญาเมธีชาวโรมัน โดดเด่นด้านนิติศาสตร์ หนังสือสาคัญได้แก่ Republic,On the Commonwealth,Laws ยกย่องความเลิศของรูปแบบการปกครองแบบผสมของอาณาจักโรมันคือราชาธิปไตย+อภิชนาธิป ไตย+ประชาธิปไตย ความยุติธรรมกาเนิดและค้นพบได้ในกฎหมายธรรมชาติ ความเสมอภาคเท่าเทียมคือความเท่ากันในด้านจิตใจและศีลธรรม