SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 42
Descargar para leer sin conexión
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 1
ชื่อ............................................นามสกุล...........................................อายุ...............ปี
ที่อยู่.............................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
กรมการแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข
ISBN 974-422-248-4
โปรดอย่าทำหาย นำติดตัวมาด้วยทุกครั้งที่รับบริการ
สมุดนี้ใช้บันทึกได้ในหน่วยบริการสุขภาพทุกแห่ง
ทั้งของรัฐบาลและเอกชน
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 1
ข้อที่ 1 อาบน้ำทุกวัน แปรงฟันสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
ข้อที่ 2 กินอาหารสุกสะอาด วันละ 3 มื้อ ให้ถือ 5 หมู่
ข้อที่ 3 ออกกำลังกายสามครั้งต่ออาทิตย์ ครั้งละนิดไม่เกิน 30 นาที
ข้อที่ 4 ดื่มน้ำสุกสะอาด อย่าให้ขาดวันละ 6-8 แก้ว
ข้อที่ 5 พักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง ปลอดโปร่งแจ่มใส
ข้อที่ 6 งดสิ่งเสพติด คบหาญาติมิตร ใกล้ชิดครอบครัว
ข้อที่ 7 ดูแลบ้านเรือน ของใช้ เสื้อผ้า ให้สะอาด น่าใช้
ข้อที่ 8 ตรวจสุขภาพให้ถ้วนถี่ ปีละครั้ง เป็นอย่างน้อย
ข้อท 9 ฝักใฝ่ในธรรม ประกอบกรรมดี อารีต่อทุกคน
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 2
คำนำ
สมุดบันทึกสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุได้ถูกจัดพิมพ์ขึ้น
หลายครั้ง ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ครั้งนี้กรมการแพทย์
ได้ทำการปรับปรุงให้ตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุมากขึ้น
โดยเปลี่ยนเป็นคู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ นอกจากจะเป็นคู่มือ
ที่ผู้สูงอายุได้ใช้บันทึกปัญหาสุขภาพของตนเอง แพทย์และบุคลากร
สาธารณสุขบันทึกข้อมูลการตรวจรักษาต่างๆ ผลการตรวจทาง
ห้องปฏิบัติการ เพื่อสามารถติดตามการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง
ซึ่งจะช่วยประกอบการตัดสินใจให้การรักษาผู้สูงอายุได้อย่างมี
ประสิทธิภาพแล้ว ยังมีข้อมูลด้านสุขภาพ คำแนะนำต่างๆ รวมทั้ง
“9 ประการ เพื่อชีวีสดใสวัยสูงอายุ” และ “เคล็ดลับผู้สูงวัย
หัวใจเด็ก” ไว้ให้ผู้สูงอายุได้ศึกษา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดูแล
สุขภาพของตนเองให้มีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ ดำรงชีวิตอยู่ใน
ครอบครัวและสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี
คณะผู้จัดทำได้ทำการเรียบเรียงจากเอกสารวิชาการและ
จัดทำขึ้นเป็นคู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ เพื่อให้เกิดประโยชน์
ต่อผู้สูงอายุที่จะนำไปใช้ให้ได้มากที่สุด จึงขอขอบคุณผู้นิพนธ์
บทความทางด้านผู้สูงอายุที่คณะผู้จัดได้นำมาประกอบลงใน
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุเล่มนี้
(นายแพทย์ชาตรี บานชื่น)
อธิบดีกรมการแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข
คำแนะนำการใช้คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ
1. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุนี้ใช้ในการบันทึกข้อมูลสุขภาพ
ประจำตัวท่าน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลบำบัดรักษาตัว
ท่านเอง โปรดเก็บไว้อย่าให้หาย
2. โปรดอ่านคำแนะนำต่างๆ ทางด้านสุขภาพและโรคที่พบบ่อย
ในผู้สูงอายุ เพื่อประโยชน์ต่อตัวท่านเอง
3. นำสมุดเล่มนี้ไปด้วยทุกครั้งเมื่อไปรับการตรวจรักษา ณ หน่วย
บริการสุขภาพ และโปรดมอบคู่มือนี้ให้แพทย์หรือบุคลากร
สาธารณสุขบันทึกการตรวจรักษาทุกครั้ง
4. ท่านสามารถบันทึกปัญหาสุขภาพของตัวท่านเองได้ในหน้า 22
5. หากท่านมีข้อสงสัยหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้คู่มือนี้ กรุณา
สอบถามรายละเอียดจากเจ้าหน้าที่ของหน่วยบริการสุขภาพ
กรณีฉุกเฉิน :
ผู้รับแจ้งเหตุฉุกเฉินชื่อ.....................................นามสกุล...............................
ที่อยู่.....................................................................................................................................
ที่ทำงาน................................................................................................................
โทรศัพท์..................................................มือถือ.................................................
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 3
3) ภาคผนวก : ความรู้เกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
และแนวทางการดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุ
คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุนี้
จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวผู้สูงอายุเองและแพทย์หรือบุคลากร
สาธารณสุขผู้ทำการตรวจรักษาผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถ
ดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่อง คงไว้ซึ่งการมีสุขภาพดี ในกรณีเจ็บป่วย
สามารถควบคุมโรคแทรกซ้อนได้ อันจะเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิต
ผู้สูงอายุ
(แพทย์หญิงวราภรณ์ ภูมิสวัสดิ์)
ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุเล่มนี้ ได้จัดทำขึ้น
1. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ใช้บันทึกปัญหาสุขภาพของตนเอง
และจัดเก็บไว้ประจำตัว นำสมุดเล่มนี้ติดตัวไปด้วยทุกครั้งที่ออก
จากบ้าน และเมื่อไปรับการตรวจรักษาจากหน่วยบริการสุขภาพ
ทุกแห่ง ทั้งของรัฐบาลและเอกชน
2. เพื่อให้แพทย์และบุคลากรสาธารณสุขบันทึกข้อมูลด้าน
สุขภาพต่างๆ ผลการตรวจรักษาและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง ช่วยในการตัดสินใจให้การ
รักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์ต่อตัวผู้สูงอายุเอง และ
ผู้สูงอายุจะได้ทราบข้อมูลด้านสุขภาพของตน ตลอดจนการรักษา
ของแพทย์ด้วย
3. เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้เรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุ ให้มี
ความรู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และแนวทางในการ
ปฏิบัติตน การส่งเสริมสุขภาพ เช่น อาหาร การออกกำลังกาย
การควบคุมป้องกันโรค เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดีทั้งทางร่างกาย
จิตใจ ในอันที่จะชะลอความชรา ชะลอความเสื่อม ช่วยเหลือตนเอง
ได้ และส่งเสริมศักยภาพในผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีให้สามารถดูแล
ช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งแบ่งเนื้อหาเป็น 3 ส่วน คือ
1) ประวัติส่วนตัวและประวัติทางสุขภาพ
2) ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและบันทึกการรักษา
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 4
สารบัญ
หน้า
คำนำ
วัตถุประสงค์
ประวัติส่วนตัวและประวัติสุขภาพ 5
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 7
ผลการตรวจพิเศษต่างๆ 9
บันทึกการตรวจและรักษาพยาบาล 11
สำหรับผู้สูงอายุและครอบครัวบันทึกปัญหาสุขภาพ 13
คำแนะนำสำหรับผู้สูงอายุ 14
ภาคผนวก
แนวทางการดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุ 15
ข้อที่ 1 อาบน้ำทุกวัน แปรงฟันสะอาดอย่างน้อย 15
วันละ 2 ครั้ง
ข้อที่ 2 กินอาหารสุกสะอาด วันละ 3 มื้อ ให้ถือ 5 หมู่ 15
ข้อที่ 3 ออกกำลังกายสามครั้งต่ออาทิตย์ ครั้งละนิด 15
ไม่เกิน 30 นาที
ข้อที่ 4 ดื่มน้ำสุกสะอาด อย่าให้ขาดวันละ 6-8 แก้ว 21
ข้อที่ 5 พักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง 21
ปลอดโปร่งแจ่มใส
ข้อที่ 6 งดสิ่งเสพติด คบหาญาติมิตร ใกล้ชิดครอบครัว 21
ข้อที่ 7 ดูแลบ้านเรือนของใช้ เสื้อผ้า ให้สะอาด น่าใช้ 21
ข้อที่ 8 ตรวจสุขภาพให้ถ้วนถี่ ปีละครั้ง เป็นอย่างน้อย 21
ข้อที่ 9 ฝักใฝ่ในธรรม ประกอบกรรมดี อารีต่อทุกคน 21
โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการดูแลรักษา
• ข้อเข่าเสื่อม 22
• โรคหัวใจขาดเลือด 23
• ความดันโลหิตสูง 25
• โรคหลอดเลือดสมอง 26
• ภาวะไขมันในเลือดสูง 27
• โรคมะเร็ง 28
• โรคเบาหวาน 31
• โรคกระดูกพรุน 33
• ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ 35
• นอนไม่หลับทำอย่างไร 36
• โรคสมองเสื่อม 37
• โรคซึมเศร้า 39
บรรณานุกรม 40
กำหนดนัดเพื่อสุขภาพครั้งต่อไป 41
เคล็ดลับผู้สูงวัยหัวใจเด็ก 42
หน้า
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 5
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ
รวบรวมโดย :
แพทย์หญิงวราภรณ์ ภูมิสวัสดิ์
นางปองขวัญ พีรพัฒนโภคิน
นางสาวนิติกุล ชัยรัตน์
นางอมรรัตน์ สัทธาธรรมรักษ์
พิมพ์ครั้งที่ 1 : มิถุนายน 2549 จำนวน 10,000 เล่ม
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
ประวัติส่วนตัวและประวัติสุขภาพ
1. ชื่อ..................................................นามสกุล....................................................
2. อายุ.................ปี วัน เดือน ปีเกิด...........................................................
3. น้ำหนัก...................ก.ก. ส่วนสูง....................ซ.ม. หมู่เลือด...............
4. ที่อยู่บ้านเลขที่..............หมู่ที่................ตรอก/ซอย................................
ถนน..................................................ตำบล.......................................................
อำเภอ...............................................จังหวัด...................................................
รหัสไปรษณีย์............................โทรศัพท์...................................................
5. อาชีพ...................................................................................................................
6. ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต.......................................................................
7. ประวัติการผ่าตัด............................................................................................
8. โรคประจำตัวหรือโรคที่ป่วยบ่อยๆ.....................................................
9. ยาที่รับประทานประจำ...............................................................................
10.ประวัติการแพ้ยาหรืออาหาร...................................................................
11.ปัญหาสุขภาพในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
หัวใจ มี ไม่มี
เบาหวาน มี ไม่มี
ความดันโลหิตสูง มี ไม่มี
หอบหืด/ถุงลมโป่งพอง มี ไม่มี
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 6
มะเร็ง มี ไม่มี
สมองเสื่อม มี ไม่มี
ข้อเสื่อม มี ไม่มี
ปัญหาด้านการมองเห็น มี ไม่มี
ปัญหาด้านการได้ยิน มี ไม่มี
โรคอื่นๆ (โปรดระบุ)................................................................................
12.การสูบบุหรี่/ยาเส้น
ไม่สูบ สูบบ้าง สูบประจำ
เคยสูบ ระบุ.................กี่ปี
13.การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ (เช่น สุรา เบียร์
ยาดองเหล้า)
ไม่ดื่ม ดื่มบ้าง ดื่มประจำ
เคยดื่ม เลิก.................ปี
14.การออกกำลังกาย
ไม่ออกกำลังกาย ออกกำลังกาย
ระบุ (หน้าข้อที่ท่านปฏิบัติ)
.................วิ่ง .................ไทเก็ก
.................เดิน .................เต้นแอโรบิก
.................บริหารร่างกาย
.................เล่นกีฬา อาทิ เทนนิส/ว่ายน้ำ/เปตอง เป็นต้น
.................อื่นๆ .....................................................................................
15.ความถี่ในการออกกำลังกาย
น้อยกว่า 3 วัน/สัปดาห์
มากกว่าหรือเท่ากับ 3 วัน/สัปดาห์
ไม่สม่ำเสมอ
16.จำนวนเวลาในการออกกำลังกาย
น้อยกว่า 30 นาที
มากกว่าหรือเท่ากับ 30 นาที
17.จำนวนฟันที่ใช้งานได้ (รวมฟันปลอม)
น้อยกว่า 20 ซี่
20 ซี่หรือมากกว่า 20 ซี่
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 7
CBC การตรวจนับเม็ดเลือด
- Hb ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง ญ. 12 - 16 gm/dL
ช. 14 - 18 gm/dL
- Hct อัตราความเข้มข้นของเลือด ญ. 37 - 48 %
ช. 42 - 52 %
- Wbc จำนวนเม็ดเลือดขาว 5,000-10,000cell/cu.mm
Blood Chemistry การตรวจสารเคมีในเลือด
- FBS น้ำตาลในเลือด 70 - 110 mg/dL
- BUN การทำงานของไต 8 - 25 mg/dL
- Cr การทำงานของไต 0.5 - 1.5 mg/dL
- Uric acid กรดยูริคในเลือด 3.6 - 7.7 mg/dL
- Cholesterol ไขมันโคเลสเตอรอล 150 - 200 mg/dL
- Triglyceride ไขมันไตรกลีเซอไรด์ 30 - 170 mg/dL
- HDL ไขมันเอชดีแอล (ไขมันชนิดดี) 35 - 55 mg/dL
- LDL ไขมันแอลดีแอล (ไขมันชนิดเลว) 0 - 150 mg/dL
- Albumin โปรตีน 3.2 - 4.5 mg/dL
- Globulin โปรตีน 2.3 - 3.5 mg/dL
- Alk phosphatase ตับและกระดูก 39 - 117 u/L
- SGOT เอนไซม์ตับ 0 - 40 u/L
- SGPT เอนไซม์ตับ 0 - 37 u/L
อื่นๆ
Immunology ภูมิคุ้มกันในเลือด
- HBsAg ไวรัสตับอักเสบชนิด บี Neg
- HBsAb ภูมิป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิด บี Neg or Pos
- HBcAb ภูมิป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิด บี Neg or Pos
- CEA ตรวจหามะเร็งลำไส้ 0 - 5 ng/ML
- Alphafetoprotein ตรวจหามะเร็งตับ 0 - 15 ng/ML
UA การตรวจปัสสาวะ
Stool การตรวจอุจจาระ
อื่นๆ
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
รายการส่งตรวจ ค่าปกติ 1/............ 2/............
ครั้งที่ / วัน เดือน ปี
3/............. 4/............. 5/............. 6/............. 7/............. 8/............. 9/............. 10/........... 11/........... 12/...........
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 8
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ต่อ)
รายการส่งตรวจ ค่าปกติ 13/......... 14/...........
ครั้งที่ / วัน เดือน ปี
15/.......... 16/........... 17/.......... 18/.......... 19/......... 20/.......... 21/.......... 22/........... 23/........... 24/..........
CBC การตรวจนับเม็ดเลือด
- Hb ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง ญ. 12 - 16 gm/dL
ช. 14 - 18 gm/dL
- Hct อัตราความเข้มข้นของเลือด ญ. 37 - 48 %
ช. 42 - 52 %
- Wbc จำนวนเม็ดเลือดขาว 5,000-10,000cell/cu.mm
Blood Chemistry การตรวจสารเคมีในเลือด
- FBS น้ำตาลในเลือด 70 - 110 mg/dL
- BUN การทำงานของไต 8 - 25 mg/dL
- Cr การทำงานของไต 0.5 - 1.5 mg/dL
- Uric acid กรดยูริคในเลือด 3.6 - 7.7 mg/dL
- Cholesterol ไขมันโคเลสเตอรอล 150 - 200 mg/dL
- Triglyceride ไขมันไตรกลีเซอไรด์ 30 - 170 mg/dL
- HDL ไขมันเอชดีแอล (ไขมันชนิดดี) 35 - 55 mg/dL
- LDL ไขมันแอลดีแอล (ไขมันชนิดเลว) 0 - 150 mg/dL
- Albumin โปรตีน 3.2 - 4.5 mg/dL
- Globulin โปรตีน 2.3 - 3.5 mg/dL
- Alk phosphatase ตับและกระดูก 39 - 117 u/L
- SGOT เอนไซม์ตับ 0 - 40 u/L
- SGPT เอนไซม์ตับ 0 - 37 u/L
อื่นๆ
Immunology ภูมิคุ้มกันในเลือด
- HBsAg ไวรัสตับอักเสบชนิด บี Neg
- HBsAb ภูมิป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิด บี Neg or Pos
- HBcAb ภูมิป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิด บี Neg or Pos
- CEA ตรวจหามะเร็งลำไส้ 0 - 5 ng/ML
- Alphafetoprotein ตรวจหามะเร็งตับ 0 - 15 ng/ML
UA การตรวจปัสสาวะ
Stool การตรวจอุจจาระ
อื่นๆ
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 9
ว.ด.ป. คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) การตรวจคลื่นสะท้อนเสียง
(Ultrasound)
ผลการตรวจพิเศษต่างๆ
เอ็กซเรย์ (x-ray) อื่นๆ
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 10
บันทึกการตรวจและรักษาพยาบาล
ว.ด.ป.
ที่ตรวจ
น้ำหนัก
(ก.ก.)
ส่วนสูง
(ซ.ม.)
*ค่าดัชนี
มวลกาย
ก.ก./ ม.2
ความดันโลหิต
อุณหภูมิ
อัตราชีพจร
การหายใจ
อาการที่ตรวจพบ
*ดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ค่าระหว่าง 18.5 - 24.9 ก.ก./ม.2
ค่าน้อยกว่า 18.5 ก.ก./ม.2
ค่าระหว่าง 25 - 29.9 ก.ก./ม.2
ค่าตั้งแต่ 30 ก.ก./ม.2
ขึ้นไป
ส่วนสูง (เมตร)2
หมายเหตุ :- ระบุแยกปัญหาการวินิจฉัย
- เรื้อรัง
- เฉียบพลัน
น้ำหนักปกติ
ผอม
น้ำหนักเกิน
โรคอ้วน
การวินิจฉัย การรักษาที่ให้
ลงชื่อ
ผู้ตรวจ
ชื่อสถานพยาบาล
ที่ตรวจ
แสดงว่า
แสดงว่า
แสดงว่า
แสดงว่า
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 11
บันทึกการตรวจและรักษาพยาบาล (ต่อ)
ว.ด.ป.
ที่ตรวจ
น้ำหนัก
(ก.ก.)
ส่วนสูง
(ซ.ม.)
*ค่าดัชนี
มวลกาย
ก.ก./ ม.2
ความดันโลหิต
อุณหภูมิ
อัตราชีพจร
การหายใจ
อาการที่ตรวจพบ
*ดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ค่าระหว่าง 18.5 - 24.9 ก.ก./ม.2
ค่าน้อยกว่า 18.5 ก.ก./ม.2
ค่าระหว่าง 25 - 29.9 ก.ก./ม.2
ค่าตั้งแต่ 30 ก.ก./ม.2
ขึ้นไป
ส่วนสูง (เมตร)2
หมายเหตุ :- ระบุแยกปัญหาการวินิจฉัย
- เรื้อรัง
- เฉียบพลัน
น้ำหนักปกติ
ผอม
น้ำหนักเกิน
โรคอ้วน
การวินิจฉัย การรักษาที่ให้
ลงชื่อ
ผู้ตรวจ
ชื่อสถานพยาบาล
ที่ตรวจ
แสดงว่า
แสดงว่า
แสดงว่า
แสดงว่า
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 12
บันทึกการตรวจและรักษาพยาบาล (ต่อ)
ว.ด.ป.
ที่ตรวจ
น้ำหนัก
(ก.ก.)
ส่วนสูง
(ซ.ม.)
*ค่าดัชนี
มวลกาย
ก.ก./ ม.2
ความดันโลหิต
อุณหภูมิ
อัตราชีพจร
การหายใจ
อาการที่ตรวจพบ
*ดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ค่าระหว่าง 18.5 - 24.9 ก.ก./ม.2
ค่าน้อยกว่า 18.5 ก.ก./ม.2
ค่าระหว่าง 25 - 29.9 ก.ก./ม.2
ค่าตั้งแต่ 30 ก.ก./ม.2
ขึ้นไป
ส่วนสูง (เมตร)2
หมายเหตุ :- ระบุแยกปัญหาการวินิจฉัย
- เรื้อรัง
- เฉียบพลัน
น้ำหนักปกติ
ผอม
น้ำหนักเกิน
โรคอ้วน
การวินิจฉัย การรักษาที่ให้
ลงชื่อ
ผู้ตรวจ
ชื่อสถานพยาบาล
ที่ตรวจ
แสดงว่า
แสดงว่า
แสดงว่า
แสดงว่า
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 13
สำหรับผู้สูงอายุและครอบครัวบันทึกปัญหาสุขภาพ
หรืออาการเปลี่ยนแปลง
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
สำหรับผู้สูงอายุและครอบครัวบันทึกปัญหาสุขภาพ
หรืออาการเปลี่ยนแปลง
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 14
12. ซึม พูดน้อยลง เบื่ออาหาร ร้องไห้ง่าย บ่นอยากตาย เบื่อชีวิต
13. ท่าทางหวาดระแวง กลัวคนทำร้าย ไม่ไว้ใจใคร ระแวงคู่สมรส
นอกใจ พูดคนเดียว
14. หลงลืมง่าย จำคนคุ้นหน้าไม่ได้ สับสนเรื่องเวลาและสถานที่
ถ้ามีอาการเหล่านี้ให้ติดตามอาการดู
หากมีอาการมากขึ้นหรือนานเกิน 7 วัน
ให้ไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
1. ตัวร้อนรุมๆ ปวดหัว
2. มีน้ำมูกใส ไอแห้ง
3. ผื่นคัน กลาก เกลื้อน หิด
4. ปวดท้อง แน่นอึดอัด เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ท้องผูก
5. ตกขาวมีอาการคัน หรือมีกลิ่นเหม็น
6. ปัสสาวะสีชาแก่ หรือขุ่นมีตะกอน
7. เหนื่อยง่าย เหงื่อออกตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า
8. มีแผลที่มุมปาก มีฝ้าขาว หรือมีแผลเรื้อรังในช่องปาก เจ็บคอ
9. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีแผลฟกช้ำ
10. นอนไม่หลับ กังวลง่าย หายใจไม่เต็มอิ่ม อารมณ์เสียง่าย ปวด
ศีรษะบ่อยๆ
คำแนะนำสำหรับผู้สูงอายุ
อาการที่ควรรีบพาไปพบแพทย์
1. ตัวร้อนจัด ไข้สูง/หนาวสั่น ไข้หลายวันติดต่อกัน ปวดมึนท้ายทอย
ปวดหัว ร่วมกับคลื่นไส้ อาเจียน ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ชักกระตุก
หมดสติ
2. ไอเรื้อรัง มีเสมหะเขียวข้น หรือปนเลือด หายใจหอบ
3. บวมตามตัว แขนขา หน้าตา คลำได้ก้อนนูนส่วนใดส่วนหนึ่ง
ของร่างกาย
4. อาเจียนรุนแรงหรือติดต่อกัน มีเลือดปนหรือเป็นสีดำ ถ่ายอุจจาระ
เหลวติดต่อกันหลายครั้งหรือเป็นน้ำ มีมูกเลือดปน หรือเป็นสีดำ
5. มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือมีบาดแผลบริเวณอวัยวะเพศ
6. ปัสสาวะขัดหรือกระปริดกะปรอย หรือเป็นสีเลือด สีน้ำล้างเนื้อ
หรือสีชาเข้ม
7. เจ็บหน้าอกเหมือนถูกบีบรัด ปวดร้าวไปที่แขนซ้ายหรือต้นคอ
แน่นหน้าอก นอนราบไม่ได้
8. ปวดกระบอกตา เจ็บระคายเคืองตา ตามัว เห็นภาพซ้อน
9. หูอื้อ ปวดในหู มีน้ำหนวก มีสิ่งแปลกปลอมเข้าหู
10. กลืนอาหารลำบาก เหงือกบวม
11. กล้ามเนื้อ แขนขาอ่อนแรง กล้ามเนื้อกระตุก ปวดบวมแดงร้อน
บริเวณข้อต่อ
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 15
ข้อที่ 3 ออกกำลังกายสามครั้งต่ออาทิตย์ ครั้งละนิดไม่เกิน 30
นาที
การออกกำลังกายที่เหมาะสมและสม่ำเสมอในทางการแพทย์
ถือเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างเสริมให้มีสุขภาพที่ดี การออกกำลังกาย
เพื่อสุขภาพเป็นการออกกำลังกายที่เพิ่มขึ้นจากการทำกิจวัตร
ประจำวัน โดยมุ่งเน้นให้เกิดความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย ดังนั้น
ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอคือ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง โดย
ออกต่อเนื่องครั้งละ 20-30 นาที และต้องมีการอุ่นเครื่องก่อนการ
ออกกำลังกายทุกครั้งประมาณ 5-10 นาที ออกกำลังกายประมาณ
15-20 นาที และมีระยะเวลาเพื่อการผ่อนคลายประมาณ 5-10 นาที
แล้วจึงยุติการออกกำลังกาย ซึ่งสามารถเลือกชนิดของการออกกำลังกาย
ตามความชอบและความเหมาะสมกับสภาพร่างกาย เช่น การเดิน
การวิ่งช้าๆ การบริหารท่าต่างๆ การรำมวยจีน โยคะ เป็นต้น
ประโยชน์ของการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ
1. ช่วยชะลอความชรา
2. การทรงตัวและการทำงานของอวัยวะต่างๆ มีการประสาน
กันดีขึ้น ทำให้เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว ไม่หกล้ม
3. ลดน้ำหนักตัว ควบคุมไม่ให้อ้วน รูปร่างดีขึ้น
4. ลดความเครียดและอาการซึมเศร้า ทำให้จิตใจแจ่มใส
5. ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือด ปอด หัวใจ ทำงานดีขึ้น ลด
ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดัน
โลหิตสูง
6. ลดความดันเลือด
ภาคผนวก
แนวทางการดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุ
การมีสุขภาพที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้
อย่างมีความสุข สามารถประกอบกิจการหรือภารกิจหน้าที่ได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ การมีสุขภาพที่ดี จึงเป็นสิ่งสำคัญที่บุคคลทุกเพศ
ทุกวัยปรารถนา คนเราจึงต้องใส่ใจต่อการปฏิบัติตนเองให้บรรลุถึง
การมีสุขภาพดี ซึ่งสำหรับผู้สูงอายุ มีแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเอง
9 ประการ เพื่อชีวีสดใสวัยสูงอายุ
“9 ประการ เพื่อชีวีสดใสวัยสูงอายุ” หมายถึงกิจกรรมที่ควร
ปฏิบัติเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ละเลยจนขาดความต่อเนื่อง
ควรเริ่มปฏิบัติตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อให้มีสุขภาพดีและมีอายุที่ยืนยาว
อย่างแข็งแรง กิจกรรม 9 อย่าง ประกอบด้วย
ข้อที่ 1 อาบน้ำทุกวัน แปรงฟันสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
เช้าและก่อนนอน เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันสึกและเหงือกเป็นแผล
หลีกเลี่ยงลูกอม ตรวจสุขภาพในช่องปากอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ข้อที่ 2 กินอาหารสุกสะอาด วันละ 3 มื้อ ให้ถือ 5 หมู่
ควรคำนึงถึงลักษณะอาหารให้เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย และควรลด
ปริมาณอาหารในแต่ละมื้อลง แต่เพิ่มจำนวนมื้ออาหารให้มากขึ้น
และควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวก สุรา เบียร์ เครื่องดื่มชูกำลัง ชา
กาแฟ น้ำอัดลม น้ำหวาน อาหารรสเค็ม และหวานจัด
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 16
9. มีอาการตามัว
10. หัวใจเต้นแรงแม้จะหยุดพักประมาณ 10 วินาทีแล้วก็ตาม
ข้อแนะนำการออกกำลังกายโดยทั่วไป
1. ควรออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น แขน ขา
2. ควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 วัน
3. ควรออกกำลังกายอย่างน้อยครั้งละ 20-60 นาที
4. ควรออกกำลังกายที่มีการพัฒนาความเหนื่อยเพิ่มขึ้นเท่าที่
ร่างกายจะรับได้
5. ก่อนและหลังการออกกำลังกายทุกครั้ง ควรอบอุ่นร่างกาย
และผ่อนคลายร่างกายโดยการเดินหรือทำท่ากายบริหารอย่างน้อย
ครั้งละ 5-10 นาที
7. ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น
ข้อพึงปฏิบัติในการออกกำลังกาย
1. เริ่มต้นอย่างช้าๆและหยุดทำทันที ถ้าท่านรู้สึกมีอาการ
เจ็บปวดหรือผิดปกติ
2. หลังจากที่ฝึกอย่างเต็มที่แล้วไม่ควรหยุดแบบทันที ควร
ฝึกอย่างช้าๆ แล้วค่อยหยุด
3. ฝึกในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
4. ชุดออกกำลังกายควรเป็นชุดที่รัดกุมไม่รุ่มร่าม สามารถ
ระบายความร้อนได้ดี ไม่ทิ้งชายผ้าที่จะก่อให้เกิดการหกล้มได้ง่าย
อาการผิดปกติขณะออกกำลังกาย
หากท่านมีอาการแสดงอาการใดอาการหนึ่งให้หยุดแล้วปรึกษา
แพทย์ ดังนี้
1. หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วไม่สม่ำเสมอ
2. เจ็บที่บริเวณหัวใจ ปวดแน่นบริเวณลิ้นปี่
3. หายใจไม่อิ่ม รู้สึกเหนื่อย
4. วิงเวียนศีรษะ ควบคุมลำตัวหรือแขนขาไม่ได้
5. เหงื่อออกมาก ตัวเย็น
6. รู้สึกหวั่นไหวอย่างทันที โดยหาสาเหตุไม่ได้
7. มีอาการอ่อนแรงหรือเป็นอัมพาต บริเวณหน้า แขน ขา
อย่างกะทันหัน
8. มีอาการพูดไม่ชัด หรือพูดตะกุกตะกัก
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 17
ท่าที่ 2 ตั้งศีรษะตรง เอียงคอตะแคงไปด้านซ้ายจนเต็มที่
กลับมาท่าเดิม เอียงคอตะแคงไปด้านขวาจน
เต็มที่ กลับมาท่าเดิม ทำซ้ำ
ท่าที่ 3 ตั้งศีรษะตรง บิดคอหันหน้าไปทางซ้ายจนเต็มที่
กลับมาท่าเดิม บิดคอหันหน้าไปทางขวาจนเต็มที่ กลับมาท่าเดิม ทำซ้ำ
ตัวอย่างการออกกำลังกายเพื่อฝึกฝน
ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ
1. กล้ามเนื้อคอ
ท่าเตรียม ยืนตรง กางขาเล็กน้อย ในขณะปฏิบัติควรเกร็งกล้ามเนื้อ
ส่วนนั้นๆ ให้ตึง ทำแต่ละท่า 5-10 ครั้ง
ปฏิบัติ ท่าที่ 1 ตั้งศีรษะตรง ก้มหน้าลงจนต่ำสุด แหงนหน้า
ขึ้นช้าๆ จนเต็มที่ กลับมาท่าเดิม ทำซ้ำ
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 18
ท่าที่ 2 แบมือยื่นแขนทั้ง 2 ข้างไปด้านหน้าเสมอไหล่
กำมือทั้ง 2 ข้างจนแน่น งอข้อมือให้มากที่สุด
กลับมาท่าเดิม หงายไปทางหลังแขนอย่างเต็มที่
กลับมาท่าเดิม ทำซ้ำ
ท่าที่ 3 กำมือทั้ง 2 ข้าง งอข้อศอกให้หมดทั้ง 2 ข้าง
อยู่หน้าไหล่ เหยียดแขนทั้ง 2 ข้างไปด้านหน้า
แล้วดึงกลับมาอยู่ท่าเดิมอย่างรวดเร็ว ทำซ้ำ
2. กล้ามเนื้อแขน ไหล่ อก
ท่าเตรียม ยืนตรง กางขาเล็กน้อย ในขณะปฏิบัติควรเกร็งกล้ามเนื้อ
ส่วนนั้นๆ ให้ตึง ทำแต่ละท่า 5-10 ครั้ง
ปฏิบัติ ท่าที่ 1 แบมือยื่นแขนทั้ง 2 ข้างไปด้านหน้า เสมอไหล่
กำมือทั้ง 2 ข้างจนแน่น กางมือออกให้นิ้วถ่าง
เต็มที่ กลับมาท่าเดิม ทำซ้ำ
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 19
ท่าที่ 6 กางแขนออกด้านข้างเสมอไหล่ทั้ง 2 ข้าง
งอข้อศอกให้ปลายนิ้วแตะไหล่ หมุนข้อศอก
ไปทางด้านหน้า (10 ครั้ง) แล้วหมุนข้อศอกไป
ทางด้านหลัง (10 ครั้ง)
3. กล้ามเนื้อลำตัว
ท่าเตรียม ยืนตรง กางแขนเล็กน้อย มือเท้าสะเอว ทำแต่ละท่า
5-10 ครั้ง
ปฏิบัติ ท่าที่ 1 ค่อยๆ ก้มตัวไปด้านหน้าจนเต็มที่ กลับมาท่าเดิม
เอนตัวไปด้านหลังจนเต็มที่ กลับมาท่าเดิม ทำซ้ำ
ท่าที่ 4 กางแขนออกด้านข้างเสมอไหล่ทั้ง 2 ข้าง แล้ว
ยกขึ้นเหนือศีรษะเป็นรูปครึ่งวงกลม จนต้นแขน
แนบหู กลับมาท่าเดิม ทำซ้ำ
ท่าที่ 5 กางแขนออกด้านข้างเสมอไหล่ทั้ง 2 ข้าง
แกว่งมือให้เป็นวงกลมไปทางด้านหน้า
(10 ครั้ง) แล้วแกว่งมือให้เป็นวงกลมไปทาง
ด้านหลัง (10 ครั้ง)
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 20
4. กล้ามเนื้อขา
ท่าเตรียม ยืนตรง กางขาเล็กน้อย มือเท้าสะเอว ทำแต่ละท่า 5-10
ครั้ง
ปฏิบัติ ท่าที่ 1 ลงน้ำหนักที่ขาขวา กระดกปลายเท้าซ้ายขึ้นจนสุด
งุ้มปลายเท้าลงเต็มที่ กลับมาท่าเดิม ทำซ้ำ
ท่าที่ 2 ค่อยๆ ย่อเข่าให้มากที่สุด ค้างไว้นับ 1-5 กลับมา
ท่าเดิม ทำซ้ำ
ท่าที่ 2 ค่อยๆ เอนตัวไปทางซ้ายเต็มที่ กลับมาท่าเดิม
เอนตัวไปทางด้านขวาจนเต็มที่ กลับมาท่าเดิม
ทำซ้ำ
ท่าที่ 3 บิดตัวส่วนเหนือเอวไปทางซ้ายจนเต็มที่ กลับมา
ท่าเดิม บิดตัวไปทางขวาจนเต็มที่ กลับมาท่าเดิม
ทำซ้ำ
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 21
ข้อที่ 8 ตรวจสุขภาพให้ถ้วนถี่ ปีละครั้ง เป็นอย่างน้อย
การตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอหรืออย่างน้อยปีละครั้ง
เป็นการสร้างโอกาสที่จะได้ทราบถึงภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพ
เนื่องจากอายุที่เพิ่มขึ้นย่อมมีการเสื่อมของการทำหน้าที่ของทุกระบบ
ในร่างกาย โดยมีแนวทางการปฏิบัติ คือ ควรพบแพทย์อย่างน้อยปีละ
1 ครั้ง เพื่อตรวจร่างกายทุกระบบ
ข้อที่ 9 ฝักใฝ่ในธรรม ประกอบกรรมดี อารีต่อทุกคน
การบำเพ็ญประโยชน์ต่อครอบครัว ชุมชน และสังคม เป็น
มูลเหตุนำไปสู่ความสงบสุขเจริญก้าวหน้าทั้งของครอบครัว ชุมชน
และสังคม ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้ได้รับการยอมรับนับถือจากผู้อื่น
ก่อให้เกิดความสุขใจเมื่อระลึกถึง เป็นการเพาะบ่มกุศลจิตให้เพิ่มพูน
อันจะเป็นหลักยึดหรือที่พึ่งที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงของชีวิตในบั้นปลาย
ข้อที่ 4 ดื่มน้ำสุกสะอาด อย่าให้ขาดวันละ 6-8 แก้ว
น้ำที่ใช้ดื่มควรเป็นน้ำสะอาด ปราศจากสี กลิ่น และตะกอน
และควรดื่มวันละ 6-8 แก้ว
ข้อที่ 5 พักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง ปลอดโปร่งแจ่มใส
การพักผ่อนนอนหลับเพื่อผ่อนคลายเป็นกระบวนการทาง
ธรรมชาติ ที่จะช่วยรักษาสุขภาพร่างกายให้มีความสมดุล และไม่ให้เกิด
อันตรายจากความอ่อนเพลีย เป็นการสะสมพลังงานเพื่อกิจกรรม
ในวันต่อไป จะเป็นการนอนหลับกลางวันหรือกลางคืนก็ได้ให้นับรวมกัน
ไม่ต่ำกว่า 6-8 ชั่วโมง
ข้อที่ 6 งดสิ่งเสพติด คบหาญาติมิตร ใกล้ชิดครอบครัว
สิ่งเสพติดไม่ว่าชนิดใดล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดโทษต่อผู้เสพ
ทั้งสิ้น ทั้งร่างกายและจิตใจ มีผลเสียต่อการทำหน้าที่ทางสังคมทุกระดับ
ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน จนถึงประเทศชาติ โดยเฉพาะผู้สูงอายุนั้น
สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องงดเว้นสิ่งเสพติด เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี
เป็นที่พึ่งทางใจของบุตรหลาน ก่อให้เกิดความสุข ความอบอุ่น เป็น
ครอบครัวที่พึงปรารถนาได้
ข้อที่ 7 ดูแลบ้านเรือน ของใช้ เสื้อผ้า ให้สะอาด น่าใช้
การแพร่ระบาดและการติดเชื้อโรคจากความไม่สะอาดของ
ที่อยู่อาศัย ของใช้ เสื้อผ้า นั้น เกิดขึ้นได้ง่าย ทั้งทางระบบหายใจ
ผิวหนัง และระบบทางเดินอาหาร การทำความสะอาดที่อยู่อาศัย
ของใช้ เสื้อผ้าฯลฯจึงเป็นวิธีการป้องกันไว้ก่อนที่จะสายเกินแก้ควรปฏิบัติ
อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ทั้งตัวผู้สูงอายุ และผู้ให้การดูแล
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 22
3. มีเสียงดังในข้อเข่า ขณะที่มีการเคลื่อนไหว
4. ข้อเข่าบวม มีน้ำในข้อ อาจมีการโป่งนูนของข้อ
5. ข้อเข่าคด ผิดรูป หรือเข่าโก่ง
วิธีการรักษาทั่วไป
การรักษามุ่งเน้นเพื่อการลดปวดหรือการอักเสบ ในขณะเดียวกัน
จะพยายามทำให้ข้อเคลื่อนไหวเป็นไปตามปกติ ซึ่งมีแนวทางการรักษา
ทั่วๆ ไปดังนี้
1. ใช้ความร้อนประคบรอบเข่า ลดอาการปวด เกร็ง
2. บริหารกล้ามเนื้อเข่าให้แข็งแรงอยู่เสมอ
3. ใช้สนับเข่า เพื่อกระชับ ลดอาการปวด
4. ใช้ไม้เท้าช่วยเดิน ช่วยลดแรงที่กระทำต่อข้อ
5. หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม เช่นนั่งพับเพียบ คุกเข่า
ขัดสมาธิ นั่งยองๆ
6. ลดน้ำหนักในรายที่อ้วนมาก เพราะเมื่อเดินจะมีน้ำหนัก
ผ่านลงที่เข่าแต่ละข้างประมาณ 3 เท่าของน้ำหนักตัว
นอกจากนี้ มีการรักษาทางกายภาพบำบัดด้วยความร้อนและ
ความเย็น การรักษาโดยการผ่าตัดและการใช้ยาซึ่งต้องอยู่ในความ
ดูแลของแพทย์
การบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า
ท่านั่ง นั่งบนเก้าอี้ งอเข่าทั้งสองข้าง เท้าวางราบกับพื้น ค่อยๆ
ยกขาขึ้นจนเข่าเหยียดตรงเกร็งค้างไว้นับ 1-10 งอเข่าลงช้าๆ ให้เท้า
วางกับพื้นเหมือนเดิม ทำ 10-20 ครั้ง สลับขาซ้าย-ขวา
โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการดูแลรักษา
ข้อเข่าเสื่อม
โรคข้อเข่าเสื่อม คือโรคข้อเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการสึก
กร่อนของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อที่พบได้บ่อยมาก ซึ่งจะเกิดขึ้น
ได้กับข้อกระดูกหลายส่วนของร่างกาย แต่ตำแหน่งที่พบมากที่สุดคือ
ข้อเข่า พบได้ประมาณครึ่งหนึ่งของโรคข้อเสื่อม ถือเป็นโรคในกลุ่ม
ข้ออักเสบชนิดหนึ่ง พบได้ในทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
พบมากกว่าร้อยละ 80-90
ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเสื่อม
1. อายุ มักพบในอายุ 45 ปีขึ้นไป และพบมากในผู้สูงอายุ
2. น้ำหนักตัวมาก มีโอกาสเป็นโรคมากขึ้น
3. อุบัติเหตุ หรือการใช้ข้อไม่ถูกต้อง เช่น การนั่งยองๆ การ
นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ เป็นต้น
4. การเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อน ที่เกิดจากการอักเสบติดเชื้อ
ในข้อเข่า การฉีดยาหรือสารเคมีเข้าในข้อเข่า
อาการของโรคข้อเสื่อม
1. เริ่มจากปวดข้อเป็นๆ หายๆ มีอาการปวดมากขึ้นเมื่อใช้งาน
ข้อมาก หากเป็นมากจะมีอาการปวดตลอดเวลา อาจจะมีอาการอ่อนแรง
ของกล้ามเนื้อร่วมด้วย
2. ข้อฝืด ยึดตึง ใช้งานไม่ถนัด บางรายมีข้อติด เช่นในช่วง
ตื่นนอนตอนเช้า เมื่อเคลื่อนไหวในครั้งแรกจะไม่คล่องตัว
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 23
โรคหัวใจขาดเลือด
โรคหัวใจขาดเลือดหรือโรคหลอดเลือดหัวใจ หมายถึง โรค
ที่เกิดจากหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบ หรือตัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจ
มีเลือดไปเลี้ยงลดลงหรือไม่มีเลย มักเป็นผลมาจากผนังหลอดเลือด
แข็งเพราะมีไขมันและหินปูนไปจับ ทำให้หลอดเลือดนั้นตีบเข้าๆ
จนกระทั่งอุดตันเนื่องจากความเสื่อมเกิดขึ้นตามอายุจึงพบว่าคนอายุมาก
เป็นโรคนี้มากกว่าคนอายุน้อย
อาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือดมีลักษณะคล้ายมีอะไร
มารัดหรือกดทับหน้าอก เจ็บแน่นตื้อๆ บางคนมีเจ็บร้าวไปที่แขนซ้าย
ต้นคอหรือกราม อาจมีอาการจุกแน่นลิ้นปี่ หายใจไม่ออก
คล้ายจะเป็นลม อาการมักเกิดขณะที่ร่างกายมีการใช้กำลัง
หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น
เช่น ขึ้นบันได วิ่ง ตกใจ เครียด เสียใจอย่างรุนแรง
ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด
1. มีภาวะไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูง
2. ความดันโลหิตสูง คนที่มีความดันโลหิตสูง ยิ่งสูงมากเท่าไร
มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้น
3. การสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่จัดจะมีโอกาสขาดเลือดไปเลี้ยง
กล้ามเนื้อหัวใจมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 2 เท่า
4. อายุที่มากขึ้นจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น
5. โรคเบาหวาน เนื่องจากทำให้มีผลเสียต่อหลอดเลือดหัวใจ
ท่านอน นอนหงาย ใช้หมอนเล็กๆ หนุนใต้เข่าทั้งสองข้าง
เหยียดเข่าให้ตรง แล้วยกขึ้นตรงๆ ให้ส้นเท้าสูงจากพื้นประมาณ 1 ฟุต
เกร็งไว้นาน 5-10 วินาทีแล้วลดลง สลับเหยียดขาอีกข้างหนึ่ง ทำข้างละ
10-15 ครั้ง วันละ 2 เวลา
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 24
ทางจิตใจ และทำจิตใจให้เบิกบานอยู่เสมอ
ทำอย่างไรให้มีสุขภาพหัวใจที่ดี
1. ดูแลตัวเองและคนรอบข้างให้ปลอดจากบุหรี่ และพยายาม
จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์
2. ทำให้การออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ทำตัว
ให้มีความกระฉับกระเฉงทุกวัน รวมถึงเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกายแบบ
แอโรบิก เช่น การเดินเร็วๆ วิ่ง ว่ายน้ำ หรืออื่นๆ โดยใช้เวลาอย่างน้อย
30 นาทีต่อวัน และพยายามปฏิบัติให้ได้มากที่สุดในแต่ละสัปดาห์
3. ตั้งเป้าหมายให้กับตัวเองที่จะมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม และ
มีสุขภาพที่ดี
4. ลดอาหารที่มีไขมัน โคเลสเตอรอล และพลังงานสูง เพิ่ม
การรับประทานผัก ผลไม้และธัญพืช
5. ลดการรับประทานเกลือ (ไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน) ลดการ
รับประทานน้ำตาล (ไม่เกิน 4 ช้อนโต๊ะต่อวัน)
6. ควรตรวจวัดความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดอย่าง
สม่ำเสมอ เมื่ออายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป และเป็นกลุ่มเสี่ยง รวมถึง
ระวังอย่าให้มีความดันโลหิตสูง
7. ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เรียนรู้ว่าตัวเลขใดแสดงถึง
ความผิดปกติของระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด
8. รู้จักคลายเครียด ทำจิตใจให้แจ่มใส
9. พักผ่อนให้เต็มที่ โดยเฉพาะการนอนหลับที่สนิทและเพียงพอ
6. กรรมพันธุ์ พบว่าผู้ที่พ่อแม่เป็นโรคหัวใจ ลูกมักมีโอกาส
เป็นมากกว่าคนอื่น
7. ภาวะทางจิตใจ ผู้ที่มีจิตใจตึงเครียดอยู่เสมอ ผู้ที่มีความ
ทะเยอทะยานมาก มีความกังวลใจมาก มีการชิงดีชิงเด่นมาก มีการ
ผิดหวังบ่อย มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้สูง
การดูแลตนเองขณะเป็นโรคหัวใจขาดเลือด
1.
พบแพทย์เพื่อรักษาและปฏิบัติตนตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
สม่ำเสมอ
2. เลิกสูบบุหรี่เด็ดขาด
3. ถ้าอ้วนควรลดน้ำหนัก
4. รับประทานอาหารให้ถูกต้อง ลดไขมัน ลดเค็ม รับประทาน
อาหารที่มีกากมาก/เส้นใยสูง
5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังที่
หักโหม และควรเพิ่มขึ้นทีละน้อย ทางที่ดีควรขอคำแนะนำจากแพทย์
เสียก่อนที่จะออกกำลังกายมากๆ
6. หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการโรคหัวใจกำเริบ เช่น
• อย่าทำงานหักโหมเกินไป
• อย่ารับประทานอาหารอิ่มเกินไป
• ระวังอย่าให้ท้องผูก เพราะการเบ่งถ่ายอุจจาระ จะส่งผลเสีย
ต่อหัวใจ
• งดดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
• หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตื่นเต้นตกใจหรือการกระทบกระเทือน
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 25
2. การรักษาทางยา โดยแพทย์ และไม่แนะนำให้หยุดยาเองเป็น
อันขาด เพราะจะเป็นผลเสียต่อร่างกาย
การป้องกัน
1. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน
2. งดสูบบุหรี่
3. จำกัดเกลือไม่ให้เกินวันละ 1 ช้อนชา
4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30
นาที
5. ลดการดื่มแอลกอฮอล์
6. รับประทานอาหารที่มีโปตัสเซียมสูง เช่น ถั่ว ส้ม น้ำเต้าหู้
ในรายที่ต้องรับประทานยาขับปัสสาวะ
7. รับประทานผัก ผลไม้ เช่น ผักบร็อกโคลี กล้วย องุ่น เป็นต้น
8. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมเช่น นมขาดไขมัน
9. หลีกเลี่ยงภาวะเครียด ฝึกสมาธิและการผ่อนคลาย
10. หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ
11. คอยสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ตามัว ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
เป็นต้น ควรรีบปรึกษาแพทย์
การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง
1. ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน
• ควบคุมน้ำหนักร่างกายให้พอดี คนที่มีน้ำหนักตัวมาก
ควรพยายามลดน้ำหนัก เพราะจะช่วยลดความดันลงได้ โดยใช้วิธี
ควบคุมอาหาร และหมั่นออกกำลังกาย
ความดันโลหิตสูง...ปฏิบัติอย่างไร
ภาวะความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่ค่าความดันโลหิตขณะ
หัวใจบีบตัว มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือ
ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 90
มิลลิเมตรปรอท
สาเหตุของความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
ส่วนใหญ่มักไม่ทราบสาเหตุ พบมากถึงร้อยละ 95 แต่มีปัจจัย
ที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุ ได้แก่ ความอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่
การขาดการออกกำลังกาย นอกจากนี้ยังพบในผู้ที่มีประวัติครอบครัว
มีความดันโลหิตสูงมาก่อน ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่พบ เช่น โรคไต โรค
ต่อมไร้ท่อ โรคระบบประสาท สารเคมี หรือยาบางชนิด
อาการ
หากเป็นไม่รุนแรง อาการจะไม่เด่นชัด อาจมีอาการเวียนศีรษะ
หลังจากนั้นจะมีอาการปวดศีรษะ ปวดบริเวณท้ายทอยช่วงเวลาเช้า
หลังตื่นนอน คลื่นไส้ อาเจียนโดยไม่ทราบสาเหตุ หากเป็นมากๆ
จะมีเลือดกำเดาไหล หอบ นอนราบไม่ได้ อาจมีอาการเจ็บหน้าอก
ร่วมด้วย
การรักษา
1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา โดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ในการ
รับประทานอาหาร การออกกำลังกายเป็นประจำ การงดสูบบุหรี่ ลด
แอลกอฮอล์ ตลอดจนการฝึกสมาธิ ฝึกจิตไม่ให้เครียด
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 26
โรคหลอดเลือดสมอง
เป็นอาการผิดปกติของสมองอย่างฉับพลันและเป็นอยู่นานเกิน
24 ชั่วโมง มีสาเหตุจาก
1. หลอดเลือดในสมองตีบตัน การตีบอย่างช้าๆ ของเส้นเลือด
สมอง เกิดจากมีแคลเซียมมาเกาะ หรือเกิดมีตะกอนไขมันมาเกาะ
ทำให้รูของหลอดเลือดแคบลงและทำให้เลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ
2. หลอดเลือดในสมองมีก้อนอุดตัน เนื่องจากมีลิ่มเลือดเล็กๆ
ที่เกิดขึ้นในหลอดเลือดที่อยู่นอกสมอง หลุดลอยตามกระแสเลือดขึ้นไป
อุดตันในหลอดเลือดที่อยู่ในสมอง มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ เช่น
โรคหัวใจรูมาติก กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหัวใจเต้นผิดจังหวะ
3. หลอดเลือดในสมองแตกหรือการตกเลือดในสมอง ผู้ที่มี
เส้นเลือดสมองเปราะและมีความดันโลหิตสูง เมื่อใดที่มีความดันโลหิต
สูงขึ้นทันทีทันใด อาจจะทำให้หลอดเลือดในสมองแตกได้
นอกจากนี้ ยังอาจมีสาเหตุจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดง
ที่เป็นมาแต่กำเนิด เช่น หลอดเลือดแดงโป่งพองโดยกำเนิด หลอดเลือด
ฝอยผิดปกติแต่กำเนิด หรือมีการอักเสบของเส้นเลือด มักจะแตกและ
ทำให้เกิดอาการอัมพาตเมื่อผู้ป่วยอยู่ในวัยหนุ่มสาวหรือวัยกลางคน และ
โรคที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เช่น ตับแข็ง
โรคเลือดบางชนิด เป็นต้น บางครั้งก็อาจกลายเป็นสาเหตุหนึ่งของเลือด
ออกในสมองได้
• หมั่นออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับ
ผู้สูงอายุ เช่น การเดินเร็วก้าวยาวๆ ท่าบริหารร่างกายแบบง่ายๆ ควร
เริ่มต้นทีละน้อยก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นจะทำให้หัวใจและปอดทำงาน
ดีขึ้น ช่วยการสูบฉีดโลหิตหมุนเวียนทั่วร่างกาย
• ลดอาหารเค็ม ควรเลือกอาหารที่ใส่เกลือหรือน้ำปลา
น้อยที่สุด รวมทั้งงดรับประทานผงชูรส ป้องกันอาการท้องผูกโดย
การรับประทานผัก ผลไม้ให้มาก ดื่มน้ำให้พอเพียง
2. ผู้ที่สูบบุหรี่ ต้องงดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด เพราะบุหรี่จะส่งเสริม
ให้เกิดโรคแทรกซ้อน โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจตีบตันเร็วขึ้น และ
ยังทำให้ดื้อต่อยาที่รักษา
3. ควรงดเหล้า เพราะแอลกอฮอล์ในปริมาณมากจะทำให้
ความดันขึ้น และทำให้ดื้อต่อยาที่รักษา
4. หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ทำให้หงุดหงิด โมโห ตื่นเต้น และนอน
หลับพักผ่อนให้เพียงพอ
5. ควรบริโภคอาหารที่มีไขมันและโคเลสเตอรอลต่ำ มีเส้นใย
อาหารสูง จะช่วยลดความดันโลหิตลงได้ร้อยละ 10
6. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ควรไปพบแพทย์
ตามนัดทุกครั้ง ไม่ควรหยุดยาหรือปรับยาด้วยตนเอง
7. หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำ อาจเป็นเดือนละ
1-2 ครั้ง ควรบันทึกลงคู่มือไว้ด้วย
8. สำหรับผู้ที่รับประทานยาขับปัสสาวะ ควรรับประทานส้ม
กล้วยเป็นประจำถ้าไม่มีข้อห้าม เพื่อทดแทนโปตัสเซียมที่เสียไปใน
ปัสสาวะ
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 27
ภาวะไขมันในเลือดสูง
ไขมันในเลือด เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นในการสร้างฮอร์โมน
บางชนิด และผนังเซลล์ของร่างกาย ที่สำคัญมี 2 ชนิด คือ
1. ไขมันโคเลสเตอรอล ปกติระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด
ไม่ควรเกิน 200 มก./ดล. ไขมันโคเลสเตอรอล มีหลายชนิด ที่สำคัญ
มี 2 ชนิด คือ
1.1 แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล เป็นไขมันชนิดที่ไม่ดี ระดับ
ค่าปกติไม่ควรเกิน 130 มก./ดล.
1.2 เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล เป็นไขมันชนิดที่ดี ทำหน้าที่
ช่วยนำไขมันโคเลสเตอรอลส่วนเกินในเลือด และบางส่วนที่เกาะตาม
ผนังหลอดเลือดกลับสู่ตับ ระดับค่าปกติไม่ควรต่ำกว่า 40 มก./ดล.
2. ไขมันไตรกลีเซอไรด์ ระดับค่าปกติไม่ควรเกิน 150 มก./ดล.
สาเหตุ
1. การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ การสูบบุหรี่ และ
การขาดการออกกำลังกาย
2. พันธุกรรม ประมาณ 20% ของผู้มีโคเลสเตอรอลสูง ญาติ
พี่น้องมีโอกาสเป็นโรคนี้
3. ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ
โรคตับ โรคไต โรคพิษสุราเรื้อรัง และความเครียด ซึ่งโรคเหล่านี้
ทำให้การเผาผลาญสารไขมันผิดปกติไป เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง
การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
1. งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงดื่มเหล้า
2. หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากความดัน
โลหิตสูงจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองถึง
ร้อยละ 80
3. ลดการบริโภคอาหารรสเค็มจัด ผลวิจัยพบว่าผู้ที่นิยม
รับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด จะพบว่าโรคหลอดเลือดสมองเป็น
สาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ
4. บริโภคอาหารที่มีโคเลสเตอรอลและไขมันต่ำ อาหารที่มี
เส้นใยสูง
5. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับปกติ
6. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
7. ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือมีภาวะไขมัน
ในเลือดสูง ควรรับการรักษาจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง
โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่สามารถป้องกัน ควบคุมได้ด้วย
การปฏิบัติตัว มิให้หลอดเลือดในสมองเสื่อมเร็วกว่าวัยอันควร โรคนี้
เมื่อเป็นแล้วจะฟื้นตัวได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นกับธรรมชาติของโรค
และผู้ป่วยเป็นสำคัญ และต้องตระหนักว่าผู้ป่วยจะมีเพียงความผิดปกติ
ทางกายเท่านั้น ส่วนทางด้านสติปัญญามักจะเป็นปกติ ญาติจึงต้อง
คอยให้กำลังใจและเสริมสร้างคุณค่าของผู้ป่วยอยู่เสมอ
ผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองควรปรับพฤติกรรมการดำรง
ชีวิต ให้เป็นแบบที่ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งจะทำให้
ฟื้นตัวได้ดีขึ้น และยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคซ้ำอีก
คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 28
โรคมะเร็ง
มะเร็ง เป็นโรคร้ายแรงที่เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญเป็นอันดับ
ต้นๆ ของประเทศไทย คนส่วนใหญ่จะตรวจพบการเป็นโรคมะเร็ง
ในระยะท้ายๆ ซึ่งยากต่อการบำบัดรักษา ทำให้มีอัตราการตายจากโรค
มะเร็งสูง
สาเหตุการเกิดโรคมะเร็ง
มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งหลายประการ อาจแบ่ง
ได้เป็น 2 สาเหตุใหญ่ๆ คือ
1. ปัจจัยภายในร่างกาย เช่น พันธุกรรม ภาวะทุพโภชนาการ
เช่น โรคตับแข็ง เกิดจากการขาดสารอาหารโปรตีน จะกลายเป็น
มะเร็งตับได้ง่าย
- เพศ มะเร็งตับ มะเร็งปอด พบมากในผู้ชาย มะเร็งของ
เต้านม มะเร็งผิวหนัง มะเร็งปากมดลูก พบมากในผู้หญิง
- อายุ มะเร็งของลูกตา มะเร็งของไต พบมากในเด็ก
- กรรมพันธุ์ มะเร็งเต้านม มะเร็งของต่อมไทรอยด์บางชนิด
พบว่ามีความสัมพันธ์กับกรรมพันธุ์ เป็นต้น
2. ปัจจัยภายนอกร่างกาย ได้แก่
2.1 สารกายภาพต่างๆ ได้แก่ การระคายเคืองเรื้อรัง เช่น
ฟันปลอมที่ไม่กระชับ การรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มร้อนจัด
เป็นประจำ การเคี้ยวหมากหรือการจุกยาฉุน สารรังสีชนิดต่างๆ เช่น
รังสีเอ็กซ์ สารกัมมันตภาพรังสีต่างๆ รวมทั้งรังสีอัลตราไวโอเลท
ในแสงแดด
อาการ
ผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง จะมีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้
วิธีป้องกันและการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง
1. ตรวจไขมันในเลือดตามคำแนะนำของแพทย์
2. เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค โดย
- จำกัดอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น เครื่องในสัตว์
ไข่แดง ปลาหมึก หอยนางรม
- ควรรับประทานอาหารประเภทเนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
นมพร่องไขมัน ไข่ควรรับประทานไม่เกินสัปดาห์ละ 2-3 ฟอง
- ลดอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด อาหารที่มีส่วน
ประกอบของกะทิ และอาหารประเภทย่าง นึ่ง หรืออบ
- ลดการบริโภคอาหารที่มีไขมัน พบได้ในอาหารเนื้อสัตว์
รวมทั้งน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เนย และใช้น้ำมันพืช
ในการปรุงอาหาร โดยใช้ประมาณ 2 - 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน
3. ควรบริโภคอาหารที่มีเส้นใยสูง อาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป
เช่น ผลไม้สดและผักต่างๆ และถั่วต่างๆ
4. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยเพิ่มระดับไขมัน
เอช ดี แอล ด้วย
5. งดสูบบุหรี่และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ
6. หลีกเลี่ยงภาวะเครียด
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

แบบบันทึกเคส ยะลา
แบบบันทึกเคส ยะลาแบบบันทึกเคส ยะลา
แบบบันทึกเคส ยะลาCotton On
 
ใบกิจกรรมที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น
ใบกิจกรรมที่  1 การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นใบกิจกรรมที่  1 การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น
ใบกิจกรรมที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นtassanee chaicharoen
 
สนอง วรอุไร สนทนาภาษาธรรม เล่ม 18
สนอง วรอุไร   สนทนาภาษาธรรม เล่ม 18สนอง วรอุไร   สนทนาภาษาธรรม เล่ม 18
สนอง วรอุไร สนทนาภาษาธรรม เล่ม 18Tongsamut vorasan
 
ใบงาน
ใบงานใบงาน
ใบงานtonsocial
 
ใบงานประวัติศาสตร์สากล 1
ใบงานประวัติศาสตร์สากล 1ใบงานประวัติศาสตร์สากล 1
ใบงานประวัติศาสตร์สากล 1nattha rachamool
 

La actualidad más candente (8)

แบบบันทึกเคส ยะลา
แบบบันทึกเคส ยะลาแบบบันทึกเคส ยะลา
แบบบันทึกเคส ยะลา
 
ใบกิจกรรมที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น
ใบกิจกรรมที่  1 การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นใบกิจกรรมที่  1 การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น
ใบกิจกรรมที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น
 
แผนการจัดการเรียนรู้ หน้าที่พลเมือง ม.1
แผนการจัดการเรียนรู้  หน้าที่พลเมือง ม.1แผนการจัดการเรียนรู้  หน้าที่พลเมือง ม.1
แผนการจัดการเรียนรู้ หน้าที่พลเมือง ม.1
 
สนอง วรอุไร สนทนาภาษาธรรม เล่ม 18
สนอง วรอุไร   สนทนาภาษาธรรม เล่ม 18สนอง วรอุไร   สนทนาภาษาธรรม เล่ม 18
สนอง วรอุไร สนทนาภาษาธรรม เล่ม 18
 
Saengdhamma April, 2010
Saengdhamma April, 2010 Saengdhamma April, 2010
Saengdhamma April, 2010
 
ใบงาน
ใบงานใบงาน
ใบงาน
 
ใบงานประวัติศาสตร์สากล 1
ใบงานประวัติศาสตร์สากล 1ใบงานประวัติศาสตร์สากล 1
ใบงานประวัติศาสตร์สากล 1
 
แผนที่ 1
แผนที่ 1แผนที่ 1
แผนที่ 1
 

Destacado

แนวทางการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
แนวทางการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุแนวทางการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
แนวทางการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุDashodragon KaoKaen
 
บันทึกการเยี่ยมบ้าน ตามแนวทาง In home sss
บันทึกการเยี่ยมบ้าน  ตามแนวทาง  In  home  sssบันทึกการเยี่ยมบ้าน  ตามแนวทาง  In  home  sss
บันทึกการเยี่ยมบ้าน ตามแนวทาง In home sssDr.Suradet Chawadet
 
Project pohpanpunya somdejyan
Project pohpanpunya somdejyanProject pohpanpunya somdejyan
Project pohpanpunya somdejyandnavaroj
 
แบบสอบถามผลกระทบของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
แบบสอบถามผลกระทบของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ แบบสอบถามผลกระทบของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
แบบสอบถามผลกระทบของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ yim2009
 
แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านนักเรียน
แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านนักเรียนแบบบันทึกการเยี่ยมบ้านนักเรียน
แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านนักเรียนthotsaporn_c
 
แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน
แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านแบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน
แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านusanee31
 
แบบสอบถามBrfss 2558
แบบสอบถามBrfss 2558แบบสอบถามBrfss 2558
แบบสอบถามBrfss 2558Chuchai Sornchumni
 
พิษภัยของสุราต่อสุขภาพ
พิษภัยของสุราต่อสุขภาพพิษภัยของสุราต่อสุขภาพ
พิษภัยของสุราต่อสุขภาพWajana Khemawichanurat
 
คู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
คู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังคู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
คู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังUtai Sukviwatsirikul
 
คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุคู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุThanai Punyakalamba
 

Destacado (11)

แนวทางการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
แนวทางการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุแนวทางการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
แนวทางการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
 
บันทึกการเยี่ยมบ้าน ตามแนวทาง In home sss
บันทึกการเยี่ยมบ้าน  ตามแนวทาง  In  home  sssบันทึกการเยี่ยมบ้าน  ตามแนวทาง  In  home  sss
บันทึกการเยี่ยมบ้าน ตามแนวทาง In home sss
 
Project pohpanpunya somdejyan
Project pohpanpunya somdejyanProject pohpanpunya somdejyan
Project pohpanpunya somdejyan
 
แบบสอบถามผลกระทบของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
แบบสอบถามผลกระทบของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ แบบสอบถามผลกระทบของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
แบบสอบถามผลกระทบของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
 
แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านนักเรียน
แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านนักเรียนแบบบันทึกการเยี่ยมบ้านนักเรียน
แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านนักเรียน
 
แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน
แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านแบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน
แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน
 
แบบสอบถามBrfss 2558
แบบสอบถามBrfss 2558แบบสอบถามBrfss 2558
แบบสอบถามBrfss 2558
 
พิษภัยของสุราต่อสุขภาพ
พิษภัยของสุราต่อสุขภาพพิษภัยของสุราต่อสุขภาพ
พิษภัยของสุราต่อสุขภาพ
 
คู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
คู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังคู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
คู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
 
คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุคู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
 
ภาวะซีด
ภาวะซีดภาวะซีด
ภาวะซีด
 

Similar a คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ

ใบงานอนามัยเจริญพันธุ์
ใบงานอนามัยเจริญพันธุ์ใบงานอนามัยเจริญพันธุ์
ใบงานอนามัยเจริญพันธุ์tassanee chaicharoen
 
ใบกิจกรรมที่ 5การรักษาดุลยภาพของน้ำและสารต่างๆ ของร่างกาย
ใบกิจกรรมที่ 5การรักษาดุลยภาพของน้ำและสารต่างๆ ของร่างกายใบกิจกรรมที่ 5การรักษาดุลยภาพของน้ำและสารต่างๆ ของร่างกาย
ใบกิจกรรมที่ 5การรักษาดุลยภาพของน้ำและสารต่างๆ ของร่างกายAomiko Wipaporn
 
แนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉ...
แนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉ...แนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉ...
แนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉ...Utai Sukviwatsirikul
 
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thaiHummd Mdhum
 
Geriatric hdbma-jul2015-30slide
Geriatric hdbma-jul2015-30slideGeriatric hdbma-jul2015-30slide
Geriatric hdbma-jul2015-30slideSukanya Jongsiri
 
สนอง วรอุไร สนทนาภาษาธรรม เล่ม 17
สนอง วรอุไร   สนทนาภาษาธรรม เล่ม 17สนอง วรอุไร   สนทนาภาษาธรรม เล่ม 17
สนอง วรอุไร สนทนาภาษาธรรม เล่ม 17Tongsamut vorasan
 

Similar a คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ (7)

ใบงานอนามัยเจริญพันธุ์
ใบงานอนามัยเจริญพันธุ์ใบงานอนามัยเจริญพันธุ์
ใบงานอนามัยเจริญพันธุ์
 
ใบกิจกรรมที่ 5การรักษาดุลยภาพของน้ำและสารต่างๆ ของร่างกาย
ใบกิจกรรมที่ 5การรักษาดุลยภาพของน้ำและสารต่างๆ ของร่างกายใบกิจกรรมที่ 5การรักษาดุลยภาพของน้ำและสารต่างๆ ของร่างกาย
ใบกิจกรรมที่ 5การรักษาดุลยภาพของน้ำและสารต่างๆ ของร่างกาย
 
แนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉ...
แนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉ...แนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉ...
แนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉ...
 
Aha(American Heart Association)-Guidelines-Highlights-Thai - 2015
Aha(American Heart Association)-Guidelines-Highlights-Thai - 2015Aha(American Heart Association)-Guidelines-Highlights-Thai - 2015
Aha(American Heart Association)-Guidelines-Highlights-Thai - 2015
 
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
 
Geriatric hdbma-jul2015-30slide
Geriatric hdbma-jul2015-30slideGeriatric hdbma-jul2015-30slide
Geriatric hdbma-jul2015-30slide
 
สนอง วรอุไร สนทนาภาษาธรรม เล่ม 17
สนอง วรอุไร   สนทนาภาษาธรรม เล่ม 17สนอง วรอุไร   สนทนาภาษาธรรม เล่ม 17
สนอง วรอุไร สนทนาภาษาธรรม เล่ม 17
 

Más de DMS Library

EuroSCORE predict operative mortality in Thai Cardiac Surgical Patient
EuroSCORE predict operative mortality in Thai Cardiac Surgical PatientEuroSCORE predict operative mortality in Thai Cardiac Surgical Patient
EuroSCORE predict operative mortality in Thai Cardiac Surgical PatientDMS Library
 
์Needs of Elderly long term care medical services for hospital
์Needs of Elderly long term care medical services for hospital์Needs of Elderly long term care medical services for hospital
์Needs of Elderly long term care medical services for hospitalDMS Library
 
การเข้าถึงบริการตามสิทธิและสุขภาวะของผู้สูงอายุ
การเข้าถึงบริการตามสิทธิและสุขภาวะของผู้สูงอายุการเข้าถึงบริการตามสิทธิและสุขภาวะของผู้สูงอายุ
การเข้าถึงบริการตามสิทธิและสุขภาวะของผู้สูงอายุDMS Library
 
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPHCardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPHDMS Library
 
การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานDMS Library
 
พฤติกรรมการมารับบริการบำบัดยาเสพติดจิตสังคมบำบัด
พฤติกรรมการมารับบริการบำบัดยาเสพติดจิตสังคมบำบัดพฤติกรรมการมารับบริการบำบัดยาเสพติดจิตสังคมบำบัด
พฤติกรรมการมารับบริการบำบัดยาเสพติดจิตสังคมบำบัดDMS Library
 
Self-management Program on Health Status and Quality of Life in Post Percutan...
Self-management Program on Health Status and Quality of Life in Post Percutan...Self-management Program on Health Status and Quality of Life in Post Percutan...
Self-management Program on Health Status and Quality of Life in Post Percutan...DMS Library
 
ชมรมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสุราษฏร์ธานี
ชมรมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสุราษฏร์ธานีชมรมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสุราษฏร์ธานี
ชมรมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสุราษฏร์ธานีDMS Library
 
ต้อกระจก
ต้อกระจกต้อกระจก
ต้อกระจกDMS Library
 
Drugs Addiction Treatment System Integrated Model
Drugs Addiction Treatment System Integrated ModelDrugs Addiction Treatment System Integrated Model
Drugs Addiction Treatment System Integrated ModelDMS Library
 
ผลกระทบของนโยบายยาเสพติด: มุมมองจากผู้เสพยาบ้า และผู้ให้บริการบำบัดรักษาในหน่...
ผลกระทบของนโยบายยาเสพติด: มุมมองจากผู้เสพยาบ้า และผู้ให้บริการบำบัดรักษาในหน่...ผลกระทบของนโยบายยาเสพติด: มุมมองจากผู้เสพยาบ้า และผู้ให้บริการบำบัดรักษาในหน่...
ผลกระทบของนโยบายยาเสพติด: มุมมองจากผู้เสพยาบ้า และผู้ให้บริการบำบัดรักษาในหน่...DMS Library
 
ทันตสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกับทันตกรรมผู้ป่วยทั่วไปในโรงพยาบาลประสาท...
ทันตสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกับทันตกรรมผู้ป่วยทั่วไปในโรงพยาบาลประสาท...ทันตสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกับทันตกรรมผู้ป่วยทั่วไปในโรงพยาบาลประสาท...
ทันตสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกับทันตกรรมผู้ป่วยทั่วไปในโรงพยาบาลประสาท...DMS Library
 
พิการขาขาด
พิการขาขาดพิการขาขาด
พิการขาขาดDMS Library
 
ทารกแรกคลอด
ทารกแรกคลอดทารกแรกคลอด
ทารกแรกคลอดDMS Library
 
J.list searching manual
J.list searching manualJ.list searching manual
J.list searching manualDMS Library
 
Pcfm6 เวชศาสตร์ครอบครัว
Pcfm6 เวชศาสตร์ครอบครัวPcfm6 เวชศาสตร์ครอบครัว
Pcfm6 เวชศาสตร์ครอบครัวDMS Library
 
Pub healthplandevelopment10
Pub healthplandevelopment10Pub healthplandevelopment10
Pub healthplandevelopment10DMS Library
 
CPG diabetes 2554
CPG diabetes 2554CPG diabetes 2554
CPG diabetes 2554DMS Library
 

Más de DMS Library (20)

EuroSCORE predict operative mortality in Thai Cardiac Surgical Patient
EuroSCORE predict operative mortality in Thai Cardiac Surgical PatientEuroSCORE predict operative mortality in Thai Cardiac Surgical Patient
EuroSCORE predict operative mortality in Thai Cardiac Surgical Patient
 
์Needs of Elderly long term care medical services for hospital
์Needs of Elderly long term care medical services for hospital์Needs of Elderly long term care medical services for hospital
์Needs of Elderly long term care medical services for hospital
 
การเข้าถึงบริการตามสิทธิและสุขภาวะของผู้สูงอายุ
การเข้าถึงบริการตามสิทธิและสุขภาวะของผู้สูงอายุการเข้าถึงบริการตามสิทธิและสุขภาวะของผู้สูงอายุ
การเข้าถึงบริการตามสิทธิและสุขภาวะของผู้สูงอายุ
 
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPHCardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
 
การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
 
พฤติกรรมการมารับบริการบำบัดยาเสพติดจิตสังคมบำบัด
พฤติกรรมการมารับบริการบำบัดยาเสพติดจิตสังคมบำบัดพฤติกรรมการมารับบริการบำบัดยาเสพติดจิตสังคมบำบัด
พฤติกรรมการมารับบริการบำบัดยาเสพติดจิตสังคมบำบัด
 
Self-management Program on Health Status and Quality of Life in Post Percutan...
Self-management Program on Health Status and Quality of Life in Post Percutan...Self-management Program on Health Status and Quality of Life in Post Percutan...
Self-management Program on Health Status and Quality of Life in Post Percutan...
 
ชมรมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสุราษฏร์ธานี
ชมรมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสุราษฏร์ธานีชมรมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสุราษฏร์ธานี
ชมรมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสุราษฏร์ธานี
 
ต้อกระจก
ต้อกระจกต้อกระจก
ต้อกระจก
 
Drugs Addiction Treatment System Integrated Model
Drugs Addiction Treatment System Integrated ModelDrugs Addiction Treatment System Integrated Model
Drugs Addiction Treatment System Integrated Model
 
ผลกระทบของนโยบายยาเสพติด: มุมมองจากผู้เสพยาบ้า และผู้ให้บริการบำบัดรักษาในหน่...
ผลกระทบของนโยบายยาเสพติด: มุมมองจากผู้เสพยาบ้า และผู้ให้บริการบำบัดรักษาในหน่...ผลกระทบของนโยบายยาเสพติด: มุมมองจากผู้เสพยาบ้า และผู้ให้บริการบำบัดรักษาในหน่...
ผลกระทบของนโยบายยาเสพติด: มุมมองจากผู้เสพยาบ้า และผู้ให้บริการบำบัดรักษาในหน่...
 
ทันตสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกับทันตกรรมผู้ป่วยทั่วไปในโรงพยาบาลประสาท...
ทันตสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกับทันตกรรมผู้ป่วยทั่วไปในโรงพยาบาลประสาท...ทันตสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกับทันตกรรมผู้ป่วยทั่วไปในโรงพยาบาลประสาท...
ทันตสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกับทันตกรรมผู้ป่วยทั่วไปในโรงพยาบาลประสาท...
 
พิการขาขาด
พิการขาขาดพิการขาขาด
พิการขาขาด
 
ทารกแรกคลอด
ทารกแรกคลอดทารกแรกคลอด
ทารกแรกคลอด
 
J.list searching manual
J.list searching manualJ.list searching manual
J.list searching manual
 
Pcfm6 เวชศาสตร์ครอบครัว
Pcfm6 เวชศาสตร์ครอบครัวPcfm6 เวชศาสตร์ครอบครัว
Pcfm6 เวชศาสตร์ครอบครัว
 
Type2 diabetes
Type2 diabetesType2 diabetes
Type2 diabetes
 
Pub healthplandevelopment10
Pub healthplandevelopment10Pub healthplandevelopment10
Pub healthplandevelopment10
 
CPG diabetes 2554
CPG diabetes 2554CPG diabetes 2554
CPG diabetes 2554
 
Type2 diabetes
Type2 diabetesType2 diabetes
Type2 diabetes
 

คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ

  • 1. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 1 ชื่อ............................................นามสกุล...........................................อายุ...............ปี ที่อยู่............................................................................................................................. ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ISBN 974-422-248-4 โปรดอย่าทำหาย นำติดตัวมาด้วยทุกครั้งที่รับบริการ สมุดนี้ใช้บันทึกได้ในหน่วยบริการสุขภาพทุกแห่ง ทั้งของรัฐบาลและเอกชน คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 1 ข้อที่ 1 อาบน้ำทุกวัน แปรงฟันสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ข้อที่ 2 กินอาหารสุกสะอาด วันละ 3 มื้อ ให้ถือ 5 หมู่ ข้อที่ 3 ออกกำลังกายสามครั้งต่ออาทิตย์ ครั้งละนิดไม่เกิน 30 นาที ข้อที่ 4 ดื่มน้ำสุกสะอาด อย่าให้ขาดวันละ 6-8 แก้ว ข้อที่ 5 พักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง ปลอดโปร่งแจ่มใส ข้อที่ 6 งดสิ่งเสพติด คบหาญาติมิตร ใกล้ชิดครอบครัว ข้อที่ 7 ดูแลบ้านเรือน ของใช้ เสื้อผ้า ให้สะอาด น่าใช้ ข้อที่ 8 ตรวจสุขภาพให้ถ้วนถี่ ปีละครั้ง เป็นอย่างน้อย ข้อท 9 ฝักใฝ่ในธรรม ประกอบกรรมดี อารีต่อทุกคน
  • 2. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 2 คำนำ สมุดบันทึกสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุได้ถูกจัดพิมพ์ขึ้น หลายครั้ง ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ครั้งนี้กรมการแพทย์ ได้ทำการปรับปรุงให้ตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุมากขึ้น โดยเปลี่ยนเป็นคู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ นอกจากจะเป็นคู่มือ ที่ผู้สูงอายุได้ใช้บันทึกปัญหาสุขภาพของตนเอง แพทย์และบุคลากร สาธารณสุขบันทึกข้อมูลการตรวจรักษาต่างๆ ผลการตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ เพื่อสามารถติดตามการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยประกอบการตัดสินใจให้การรักษาผู้สูงอายุได้อย่างมี ประสิทธิภาพแล้ว ยังมีข้อมูลด้านสุขภาพ คำแนะนำต่างๆ รวมทั้ง “9 ประการ เพื่อชีวีสดใสวัยสูงอายุ” และ “เคล็ดลับผู้สูงวัย หัวใจเด็ก” ไว้ให้ผู้สูงอายุได้ศึกษา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดูแล สุขภาพของตนเองให้มีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ ดำรงชีวิตอยู่ใน ครอบครัวและสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี คณะผู้จัดทำได้ทำการเรียบเรียงจากเอกสารวิชาการและ จัดทำขึ้นเป็นคู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ เพื่อให้เกิดประโยชน์ ต่อผู้สูงอายุที่จะนำไปใช้ให้ได้มากที่สุด จึงขอขอบคุณผู้นิพนธ์ บทความทางด้านผู้สูงอายุที่คณะผู้จัดได้นำมาประกอบลงใน คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุเล่มนี้ (นายแพทย์ชาตรี บานชื่น) อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข คำแนะนำการใช้คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 1. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุนี้ใช้ในการบันทึกข้อมูลสุขภาพ ประจำตัวท่าน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลบำบัดรักษาตัว ท่านเอง โปรดเก็บไว้อย่าให้หาย 2. โปรดอ่านคำแนะนำต่างๆ ทางด้านสุขภาพและโรคที่พบบ่อย ในผู้สูงอายุ เพื่อประโยชน์ต่อตัวท่านเอง 3. นำสมุดเล่มนี้ไปด้วยทุกครั้งเมื่อไปรับการตรวจรักษา ณ หน่วย บริการสุขภาพ และโปรดมอบคู่มือนี้ให้แพทย์หรือบุคลากร สาธารณสุขบันทึกการตรวจรักษาทุกครั้ง 4. ท่านสามารถบันทึกปัญหาสุขภาพของตัวท่านเองได้ในหน้า 22 5. หากท่านมีข้อสงสัยหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้คู่มือนี้ กรุณา สอบถามรายละเอียดจากเจ้าหน้าที่ของหน่วยบริการสุขภาพ กรณีฉุกเฉิน : ผู้รับแจ้งเหตุฉุกเฉินชื่อ.....................................นามสกุล............................... ที่อยู่..................................................................................................................................... ที่ทำงาน................................................................................................................ โทรศัพท์..................................................มือถือ.................................................
  • 3. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 3 3) ภาคผนวก : ความรู้เกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และแนวทางการดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุ คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุนี้ จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวผู้สูงอายุเองและแพทย์หรือบุคลากร สาธารณสุขผู้ทำการตรวจรักษาผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถ ดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่อง คงไว้ซึ่งการมีสุขภาพดี ในกรณีเจ็บป่วย สามารถควบคุมโรคแทรกซ้อนได้ อันจะเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุ (แพทย์หญิงวราภรณ์ ภูมิสวัสดิ์) ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ วัตถุประสงค์ คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุเล่มนี้ ได้จัดทำขึ้น 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ใช้บันทึกปัญหาสุขภาพของตนเอง และจัดเก็บไว้ประจำตัว นำสมุดเล่มนี้ติดตัวไปด้วยทุกครั้งที่ออก จากบ้าน และเมื่อไปรับการตรวจรักษาจากหน่วยบริการสุขภาพ ทุกแห่ง ทั้งของรัฐบาลและเอกชน 2. เพื่อให้แพทย์และบุคลากรสาธารณสุขบันทึกข้อมูลด้าน สุขภาพต่างๆ ผลการตรวจรักษาและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง ช่วยในการตัดสินใจให้การ รักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์ต่อตัวผู้สูงอายุเอง และ ผู้สูงอายุจะได้ทราบข้อมูลด้านสุขภาพของตน ตลอดจนการรักษา ของแพทย์ด้วย 3. เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้เรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุ ให้มี ความรู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และแนวทางในการ ปฏิบัติตน การส่งเสริมสุขภาพ เช่น อาหาร การออกกำลังกาย การควบคุมป้องกันโรค เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดีทั้งทางร่างกาย จิตใจ ในอันที่จะชะลอความชรา ชะลอความเสื่อม ช่วยเหลือตนเอง ได้ และส่งเสริมศักยภาพในผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีให้สามารถดูแล ช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งแบ่งเนื้อหาเป็น 3 ส่วน คือ 1) ประวัติส่วนตัวและประวัติทางสุขภาพ 2) ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและบันทึกการรักษา
  • 4. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 4 สารบัญ หน้า คำนำ วัตถุประสงค์ ประวัติส่วนตัวและประวัติสุขภาพ 5 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 7 ผลการตรวจพิเศษต่างๆ 9 บันทึกการตรวจและรักษาพยาบาล 11 สำหรับผู้สูงอายุและครอบครัวบันทึกปัญหาสุขภาพ 13 คำแนะนำสำหรับผู้สูงอายุ 14 ภาคผนวก แนวทางการดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุ 15 ข้อที่ 1 อาบน้ำทุกวัน แปรงฟันสะอาดอย่างน้อย 15 วันละ 2 ครั้ง ข้อที่ 2 กินอาหารสุกสะอาด วันละ 3 มื้อ ให้ถือ 5 หมู่ 15 ข้อที่ 3 ออกกำลังกายสามครั้งต่ออาทิตย์ ครั้งละนิด 15 ไม่เกิน 30 นาที ข้อที่ 4 ดื่มน้ำสุกสะอาด อย่าให้ขาดวันละ 6-8 แก้ว 21 ข้อที่ 5 พักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง 21 ปลอดโปร่งแจ่มใส ข้อที่ 6 งดสิ่งเสพติด คบหาญาติมิตร ใกล้ชิดครอบครัว 21 ข้อที่ 7 ดูแลบ้านเรือนของใช้ เสื้อผ้า ให้สะอาด น่าใช้ 21 ข้อที่ 8 ตรวจสุขภาพให้ถ้วนถี่ ปีละครั้ง เป็นอย่างน้อย 21 ข้อที่ 9 ฝักใฝ่ในธรรม ประกอบกรรมดี อารีต่อทุกคน 21 โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการดูแลรักษา • ข้อเข่าเสื่อม 22 • โรคหัวใจขาดเลือด 23 • ความดันโลหิตสูง 25 • โรคหลอดเลือดสมอง 26 • ภาวะไขมันในเลือดสูง 27 • โรคมะเร็ง 28 • โรคเบาหวาน 31 • โรคกระดูกพรุน 33 • ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ 35 • นอนไม่หลับทำอย่างไร 36 • โรคสมองเสื่อม 37 • โรคซึมเศร้า 39 บรรณานุกรม 40 กำหนดนัดเพื่อสุขภาพครั้งต่อไป 41 เคล็ดลับผู้สูงวัยหัวใจเด็ก 42 หน้า
  • 5. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 5 คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ รวบรวมโดย : แพทย์หญิงวราภรณ์ ภูมิสวัสดิ์ นางปองขวัญ พีรพัฒนโภคิน นางสาวนิติกุล ชัยรัตน์ นางอมรรัตน์ สัทธาธรรมรักษ์ พิมพ์ครั้งที่ 1 : มิถุนายน 2549 จำนวน 10,000 เล่ม โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ประวัติส่วนตัวและประวัติสุขภาพ 1. ชื่อ..................................................นามสกุล.................................................... 2. อายุ.................ปี วัน เดือน ปีเกิด........................................................... 3. น้ำหนัก...................ก.ก. ส่วนสูง....................ซ.ม. หมู่เลือด............... 4. ที่อยู่บ้านเลขที่..............หมู่ที่................ตรอก/ซอย................................ ถนน..................................................ตำบล....................................................... อำเภอ...............................................จังหวัด................................................... รหัสไปรษณีย์............................โทรศัพท์................................................... 5. อาชีพ................................................................................................................... 6. ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต....................................................................... 7. ประวัติการผ่าตัด............................................................................................ 8. โรคประจำตัวหรือโรคที่ป่วยบ่อยๆ..................................................... 9. ยาที่รับประทานประจำ............................................................................... 10.ประวัติการแพ้ยาหรืออาหาร................................................................... 11.ปัญหาสุขภาพในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) หัวใจ มี ไม่มี เบาหวาน มี ไม่มี ความดันโลหิตสูง มี ไม่มี หอบหืด/ถุงลมโป่งพอง มี ไม่มี
  • 6. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 6 มะเร็ง มี ไม่มี สมองเสื่อม มี ไม่มี ข้อเสื่อม มี ไม่มี ปัญหาด้านการมองเห็น มี ไม่มี ปัญหาด้านการได้ยิน มี ไม่มี โรคอื่นๆ (โปรดระบุ)................................................................................ 12.การสูบบุหรี่/ยาเส้น ไม่สูบ สูบบ้าง สูบประจำ เคยสูบ ระบุ.................กี่ปี 13.การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ (เช่น สุรา เบียร์ ยาดองเหล้า) ไม่ดื่ม ดื่มบ้าง ดื่มประจำ เคยดื่ม เลิก.................ปี 14.การออกกำลังกาย ไม่ออกกำลังกาย ออกกำลังกาย ระบุ (หน้าข้อที่ท่านปฏิบัติ) .................วิ่ง .................ไทเก็ก .................เดิน .................เต้นแอโรบิก .................บริหารร่างกาย .................เล่นกีฬา อาทิ เทนนิส/ว่ายน้ำ/เปตอง เป็นต้น .................อื่นๆ ..................................................................................... 15.ความถี่ในการออกกำลังกาย น้อยกว่า 3 วัน/สัปดาห์ มากกว่าหรือเท่ากับ 3 วัน/สัปดาห์ ไม่สม่ำเสมอ 16.จำนวนเวลาในการออกกำลังกาย น้อยกว่า 30 นาที มากกว่าหรือเท่ากับ 30 นาที 17.จำนวนฟันที่ใช้งานได้ (รวมฟันปลอม) น้อยกว่า 20 ซี่ 20 ซี่หรือมากกว่า 20 ซี่
  • 7. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 7 CBC การตรวจนับเม็ดเลือด - Hb ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง ญ. 12 - 16 gm/dL ช. 14 - 18 gm/dL - Hct อัตราความเข้มข้นของเลือด ญ. 37 - 48 % ช. 42 - 52 % - Wbc จำนวนเม็ดเลือดขาว 5,000-10,000cell/cu.mm Blood Chemistry การตรวจสารเคมีในเลือด - FBS น้ำตาลในเลือด 70 - 110 mg/dL - BUN การทำงานของไต 8 - 25 mg/dL - Cr การทำงานของไต 0.5 - 1.5 mg/dL - Uric acid กรดยูริคในเลือด 3.6 - 7.7 mg/dL - Cholesterol ไขมันโคเลสเตอรอล 150 - 200 mg/dL - Triglyceride ไขมันไตรกลีเซอไรด์ 30 - 170 mg/dL - HDL ไขมันเอชดีแอล (ไขมันชนิดดี) 35 - 55 mg/dL - LDL ไขมันแอลดีแอล (ไขมันชนิดเลว) 0 - 150 mg/dL - Albumin โปรตีน 3.2 - 4.5 mg/dL - Globulin โปรตีน 2.3 - 3.5 mg/dL - Alk phosphatase ตับและกระดูก 39 - 117 u/L - SGOT เอนไซม์ตับ 0 - 40 u/L - SGPT เอนไซม์ตับ 0 - 37 u/L อื่นๆ Immunology ภูมิคุ้มกันในเลือด - HBsAg ไวรัสตับอักเสบชนิด บี Neg - HBsAb ภูมิป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิด บี Neg or Pos - HBcAb ภูมิป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิด บี Neg or Pos - CEA ตรวจหามะเร็งลำไส้ 0 - 5 ng/ML - Alphafetoprotein ตรวจหามะเร็งตับ 0 - 15 ng/ML UA การตรวจปัสสาวะ Stool การตรวจอุจจาระ อื่นๆ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ รายการส่งตรวจ ค่าปกติ 1/............ 2/............ ครั้งที่ / วัน เดือน ปี 3/............. 4/............. 5/............. 6/............. 7/............. 8/............. 9/............. 10/........... 11/........... 12/...........
  • 8. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 8 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ต่อ) รายการส่งตรวจ ค่าปกติ 13/......... 14/........... ครั้งที่ / วัน เดือน ปี 15/.......... 16/........... 17/.......... 18/.......... 19/......... 20/.......... 21/.......... 22/........... 23/........... 24/.......... CBC การตรวจนับเม็ดเลือด - Hb ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง ญ. 12 - 16 gm/dL ช. 14 - 18 gm/dL - Hct อัตราความเข้มข้นของเลือด ญ. 37 - 48 % ช. 42 - 52 % - Wbc จำนวนเม็ดเลือดขาว 5,000-10,000cell/cu.mm Blood Chemistry การตรวจสารเคมีในเลือด - FBS น้ำตาลในเลือด 70 - 110 mg/dL - BUN การทำงานของไต 8 - 25 mg/dL - Cr การทำงานของไต 0.5 - 1.5 mg/dL - Uric acid กรดยูริคในเลือด 3.6 - 7.7 mg/dL - Cholesterol ไขมันโคเลสเตอรอล 150 - 200 mg/dL - Triglyceride ไขมันไตรกลีเซอไรด์ 30 - 170 mg/dL - HDL ไขมันเอชดีแอล (ไขมันชนิดดี) 35 - 55 mg/dL - LDL ไขมันแอลดีแอล (ไขมันชนิดเลว) 0 - 150 mg/dL - Albumin โปรตีน 3.2 - 4.5 mg/dL - Globulin โปรตีน 2.3 - 3.5 mg/dL - Alk phosphatase ตับและกระดูก 39 - 117 u/L - SGOT เอนไซม์ตับ 0 - 40 u/L - SGPT เอนไซม์ตับ 0 - 37 u/L อื่นๆ Immunology ภูมิคุ้มกันในเลือด - HBsAg ไวรัสตับอักเสบชนิด บี Neg - HBsAb ภูมิป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิด บี Neg or Pos - HBcAb ภูมิป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิด บี Neg or Pos - CEA ตรวจหามะเร็งลำไส้ 0 - 5 ng/ML - Alphafetoprotein ตรวจหามะเร็งตับ 0 - 15 ng/ML UA การตรวจปัสสาวะ Stool การตรวจอุจจาระ อื่นๆ
  • 9. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 9 ว.ด.ป. คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) การตรวจคลื่นสะท้อนเสียง (Ultrasound) ผลการตรวจพิเศษต่างๆ เอ็กซเรย์ (x-ray) อื่นๆ
  • 10. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 10 บันทึกการตรวจและรักษาพยาบาล ว.ด.ป. ที่ตรวจ น้ำหนัก (ก.ก.) ส่วนสูง (ซ.ม.) *ค่าดัชนี มวลกาย ก.ก./ ม.2 ความดันโลหิต อุณหภูมิ อัตราชีพจร การหายใจ อาการที่ตรวจพบ *ดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ค่าระหว่าง 18.5 - 24.9 ก.ก./ม.2 ค่าน้อยกว่า 18.5 ก.ก./ม.2 ค่าระหว่าง 25 - 29.9 ก.ก./ม.2 ค่าตั้งแต่ 30 ก.ก./ม.2 ขึ้นไป ส่วนสูง (เมตร)2 หมายเหตุ :- ระบุแยกปัญหาการวินิจฉัย - เรื้อรัง - เฉียบพลัน น้ำหนักปกติ ผอม น้ำหนักเกิน โรคอ้วน การวินิจฉัย การรักษาที่ให้ ลงชื่อ ผู้ตรวจ ชื่อสถานพยาบาล ที่ตรวจ แสดงว่า แสดงว่า แสดงว่า แสดงว่า
  • 11. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 11 บันทึกการตรวจและรักษาพยาบาล (ต่อ) ว.ด.ป. ที่ตรวจ น้ำหนัก (ก.ก.) ส่วนสูง (ซ.ม.) *ค่าดัชนี มวลกาย ก.ก./ ม.2 ความดันโลหิต อุณหภูมิ อัตราชีพจร การหายใจ อาการที่ตรวจพบ *ดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ค่าระหว่าง 18.5 - 24.9 ก.ก./ม.2 ค่าน้อยกว่า 18.5 ก.ก./ม.2 ค่าระหว่าง 25 - 29.9 ก.ก./ม.2 ค่าตั้งแต่ 30 ก.ก./ม.2 ขึ้นไป ส่วนสูง (เมตร)2 หมายเหตุ :- ระบุแยกปัญหาการวินิจฉัย - เรื้อรัง - เฉียบพลัน น้ำหนักปกติ ผอม น้ำหนักเกิน โรคอ้วน การวินิจฉัย การรักษาที่ให้ ลงชื่อ ผู้ตรวจ ชื่อสถานพยาบาล ที่ตรวจ แสดงว่า แสดงว่า แสดงว่า แสดงว่า
  • 12. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 12 บันทึกการตรวจและรักษาพยาบาล (ต่อ) ว.ด.ป. ที่ตรวจ น้ำหนัก (ก.ก.) ส่วนสูง (ซ.ม.) *ค่าดัชนี มวลกาย ก.ก./ ม.2 ความดันโลหิต อุณหภูมิ อัตราชีพจร การหายใจ อาการที่ตรวจพบ *ดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ค่าระหว่าง 18.5 - 24.9 ก.ก./ม.2 ค่าน้อยกว่า 18.5 ก.ก./ม.2 ค่าระหว่าง 25 - 29.9 ก.ก./ม.2 ค่าตั้งแต่ 30 ก.ก./ม.2 ขึ้นไป ส่วนสูง (เมตร)2 หมายเหตุ :- ระบุแยกปัญหาการวินิจฉัย - เรื้อรัง - เฉียบพลัน น้ำหนักปกติ ผอม น้ำหนักเกิน โรคอ้วน การวินิจฉัย การรักษาที่ให้ ลงชื่อ ผู้ตรวจ ชื่อสถานพยาบาล ที่ตรวจ แสดงว่า แสดงว่า แสดงว่า แสดงว่า
  • 13. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 13 สำหรับผู้สูงอายุและครอบครัวบันทึกปัญหาสุขภาพ หรืออาการเปลี่ยนแปลง ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... สำหรับผู้สูงอายุและครอบครัวบันทึกปัญหาสุขภาพ หรืออาการเปลี่ยนแปลง ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ......................................................................................................................................
  • 14. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 14 12. ซึม พูดน้อยลง เบื่ออาหาร ร้องไห้ง่าย บ่นอยากตาย เบื่อชีวิต 13. ท่าทางหวาดระแวง กลัวคนทำร้าย ไม่ไว้ใจใคร ระแวงคู่สมรส นอกใจ พูดคนเดียว 14. หลงลืมง่าย จำคนคุ้นหน้าไม่ได้ สับสนเรื่องเวลาและสถานที่ ถ้ามีอาการเหล่านี้ให้ติดตามอาการดู หากมีอาการมากขึ้นหรือนานเกิน 7 วัน ให้ไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1. ตัวร้อนรุมๆ ปวดหัว 2. มีน้ำมูกใส ไอแห้ง 3. ผื่นคัน กลาก เกลื้อน หิด 4. ปวดท้อง แน่นอึดอัด เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ท้องผูก 5. ตกขาวมีอาการคัน หรือมีกลิ่นเหม็น 6. ปัสสาวะสีชาแก่ หรือขุ่นมีตะกอน 7. เหนื่อยง่าย เหงื่อออกตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า 8. มีแผลที่มุมปาก มีฝ้าขาว หรือมีแผลเรื้อรังในช่องปาก เจ็บคอ 9. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีแผลฟกช้ำ 10. นอนไม่หลับ กังวลง่าย หายใจไม่เต็มอิ่ม อารมณ์เสียง่าย ปวด ศีรษะบ่อยๆ คำแนะนำสำหรับผู้สูงอายุ อาการที่ควรรีบพาไปพบแพทย์ 1. ตัวร้อนจัด ไข้สูง/หนาวสั่น ไข้หลายวันติดต่อกัน ปวดมึนท้ายทอย ปวดหัว ร่วมกับคลื่นไส้ อาเจียน ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ชักกระตุก หมดสติ 2. ไอเรื้อรัง มีเสมหะเขียวข้น หรือปนเลือด หายใจหอบ 3. บวมตามตัว แขนขา หน้าตา คลำได้ก้อนนูนส่วนใดส่วนหนึ่ง ของร่างกาย 4. อาเจียนรุนแรงหรือติดต่อกัน มีเลือดปนหรือเป็นสีดำ ถ่ายอุจจาระ เหลวติดต่อกันหลายครั้งหรือเป็นน้ำ มีมูกเลือดปน หรือเป็นสีดำ 5. มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือมีบาดแผลบริเวณอวัยวะเพศ 6. ปัสสาวะขัดหรือกระปริดกะปรอย หรือเป็นสีเลือด สีน้ำล้างเนื้อ หรือสีชาเข้ม 7. เจ็บหน้าอกเหมือนถูกบีบรัด ปวดร้าวไปที่แขนซ้ายหรือต้นคอ แน่นหน้าอก นอนราบไม่ได้ 8. ปวดกระบอกตา เจ็บระคายเคืองตา ตามัว เห็นภาพซ้อน 9. หูอื้อ ปวดในหู มีน้ำหนวก มีสิ่งแปลกปลอมเข้าหู 10. กลืนอาหารลำบาก เหงือกบวม 11. กล้ามเนื้อ แขนขาอ่อนแรง กล้ามเนื้อกระตุก ปวดบวมแดงร้อน บริเวณข้อต่อ
  • 15. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 15 ข้อที่ 3 ออกกำลังกายสามครั้งต่ออาทิตย์ ครั้งละนิดไม่เกิน 30 นาที การออกกำลังกายที่เหมาะสมและสม่ำเสมอในทางการแพทย์ ถือเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างเสริมให้มีสุขภาพที่ดี การออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพเป็นการออกกำลังกายที่เพิ่มขึ้นจากการทำกิจวัตร ประจำวัน โดยมุ่งเน้นให้เกิดความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย ดังนั้น ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอคือ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง โดย ออกต่อเนื่องครั้งละ 20-30 นาที และต้องมีการอุ่นเครื่องก่อนการ ออกกำลังกายทุกครั้งประมาณ 5-10 นาที ออกกำลังกายประมาณ 15-20 นาที และมีระยะเวลาเพื่อการผ่อนคลายประมาณ 5-10 นาที แล้วจึงยุติการออกกำลังกาย ซึ่งสามารถเลือกชนิดของการออกกำลังกาย ตามความชอบและความเหมาะสมกับสภาพร่างกาย เช่น การเดิน การวิ่งช้าๆ การบริหารท่าต่างๆ การรำมวยจีน โยคะ เป็นต้น ประโยชน์ของการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ 1. ช่วยชะลอความชรา 2. การทรงตัวและการทำงานของอวัยวะต่างๆ มีการประสาน กันดีขึ้น ทำให้เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว ไม่หกล้ม 3. ลดน้ำหนักตัว ควบคุมไม่ให้อ้วน รูปร่างดีขึ้น 4. ลดความเครียดและอาการซึมเศร้า ทำให้จิตใจแจ่มใส 5. ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือด ปอด หัวใจ ทำงานดีขึ้น ลด ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดัน โลหิตสูง 6. ลดความดันเลือด ภาคผนวก แนวทางการดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุ การมีสุขภาพที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ อย่างมีความสุข สามารถประกอบกิจการหรือภารกิจหน้าที่ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ การมีสุขภาพที่ดี จึงเป็นสิ่งสำคัญที่บุคคลทุกเพศ ทุกวัยปรารถนา คนเราจึงต้องใส่ใจต่อการปฏิบัติตนเองให้บรรลุถึง การมีสุขภาพดี ซึ่งสำหรับผู้สูงอายุ มีแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเอง 9 ประการ เพื่อชีวีสดใสวัยสูงอายุ “9 ประการ เพื่อชีวีสดใสวัยสูงอายุ” หมายถึงกิจกรรมที่ควร ปฏิบัติเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ละเลยจนขาดความต่อเนื่อง ควรเริ่มปฏิบัติตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อให้มีสุขภาพดีและมีอายุที่ยืนยาว อย่างแข็งแรง กิจกรรม 9 อย่าง ประกอบด้วย ข้อที่ 1 อาบน้ำทุกวัน แปรงฟันสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันสึกและเหงือกเป็นแผล หลีกเลี่ยงลูกอม ตรวจสุขภาพในช่องปากอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ข้อที่ 2 กินอาหารสุกสะอาด วันละ 3 มื้อ ให้ถือ 5 หมู่ ควรคำนึงถึงลักษณะอาหารให้เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย และควรลด ปริมาณอาหารในแต่ละมื้อลง แต่เพิ่มจำนวนมื้ออาหารให้มากขึ้น และควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวก สุรา เบียร์ เครื่องดื่มชูกำลัง ชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำหวาน อาหารรสเค็ม และหวานจัด
  • 16. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 16 9. มีอาการตามัว 10. หัวใจเต้นแรงแม้จะหยุดพักประมาณ 10 วินาทีแล้วก็ตาม ข้อแนะนำการออกกำลังกายโดยทั่วไป 1. ควรออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น แขน ขา 2. ควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 วัน 3. ควรออกกำลังกายอย่างน้อยครั้งละ 20-60 นาที 4. ควรออกกำลังกายที่มีการพัฒนาความเหนื่อยเพิ่มขึ้นเท่าที่ ร่างกายจะรับได้ 5. ก่อนและหลังการออกกำลังกายทุกครั้ง ควรอบอุ่นร่างกาย และผ่อนคลายร่างกายโดยการเดินหรือทำท่ากายบริหารอย่างน้อย ครั้งละ 5-10 นาที 7. ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น ข้อพึงปฏิบัติในการออกกำลังกาย 1. เริ่มต้นอย่างช้าๆและหยุดทำทันที ถ้าท่านรู้สึกมีอาการ เจ็บปวดหรือผิดปกติ 2. หลังจากที่ฝึกอย่างเต็มที่แล้วไม่ควรหยุดแบบทันที ควร ฝึกอย่างช้าๆ แล้วค่อยหยุด 3. ฝึกในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก 4. ชุดออกกำลังกายควรเป็นชุดที่รัดกุมไม่รุ่มร่าม สามารถ ระบายความร้อนได้ดี ไม่ทิ้งชายผ้าที่จะก่อให้เกิดการหกล้มได้ง่าย อาการผิดปกติขณะออกกำลังกาย หากท่านมีอาการแสดงอาการใดอาการหนึ่งให้หยุดแล้วปรึกษา แพทย์ ดังนี้ 1. หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วไม่สม่ำเสมอ 2. เจ็บที่บริเวณหัวใจ ปวดแน่นบริเวณลิ้นปี่ 3. หายใจไม่อิ่ม รู้สึกเหนื่อย 4. วิงเวียนศีรษะ ควบคุมลำตัวหรือแขนขาไม่ได้ 5. เหงื่อออกมาก ตัวเย็น 6. รู้สึกหวั่นไหวอย่างทันที โดยหาสาเหตุไม่ได้ 7. มีอาการอ่อนแรงหรือเป็นอัมพาต บริเวณหน้า แขน ขา อย่างกะทันหัน 8. มีอาการพูดไม่ชัด หรือพูดตะกุกตะกัก
  • 17. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 17 ท่าที่ 2 ตั้งศีรษะตรง เอียงคอตะแคงไปด้านซ้ายจนเต็มที่ กลับมาท่าเดิม เอียงคอตะแคงไปด้านขวาจน เต็มที่ กลับมาท่าเดิม ทำซ้ำ ท่าที่ 3 ตั้งศีรษะตรง บิดคอหันหน้าไปทางซ้ายจนเต็มที่ กลับมาท่าเดิม บิดคอหันหน้าไปทางขวาจนเต็มที่ กลับมาท่าเดิม ทำซ้ำ ตัวอย่างการออกกำลังกายเพื่อฝึกฝน ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ 1. กล้ามเนื้อคอ ท่าเตรียม ยืนตรง กางขาเล็กน้อย ในขณะปฏิบัติควรเกร็งกล้ามเนื้อ ส่วนนั้นๆ ให้ตึง ทำแต่ละท่า 5-10 ครั้ง ปฏิบัติ ท่าที่ 1 ตั้งศีรษะตรง ก้มหน้าลงจนต่ำสุด แหงนหน้า ขึ้นช้าๆ จนเต็มที่ กลับมาท่าเดิม ทำซ้ำ
  • 18. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 18 ท่าที่ 2 แบมือยื่นแขนทั้ง 2 ข้างไปด้านหน้าเสมอไหล่ กำมือทั้ง 2 ข้างจนแน่น งอข้อมือให้มากที่สุด กลับมาท่าเดิม หงายไปทางหลังแขนอย่างเต็มที่ กลับมาท่าเดิม ทำซ้ำ ท่าที่ 3 กำมือทั้ง 2 ข้าง งอข้อศอกให้หมดทั้ง 2 ข้าง อยู่หน้าไหล่ เหยียดแขนทั้ง 2 ข้างไปด้านหน้า แล้วดึงกลับมาอยู่ท่าเดิมอย่างรวดเร็ว ทำซ้ำ 2. กล้ามเนื้อแขน ไหล่ อก ท่าเตรียม ยืนตรง กางขาเล็กน้อย ในขณะปฏิบัติควรเกร็งกล้ามเนื้อ ส่วนนั้นๆ ให้ตึง ทำแต่ละท่า 5-10 ครั้ง ปฏิบัติ ท่าที่ 1 แบมือยื่นแขนทั้ง 2 ข้างไปด้านหน้า เสมอไหล่ กำมือทั้ง 2 ข้างจนแน่น กางมือออกให้นิ้วถ่าง เต็มที่ กลับมาท่าเดิม ทำซ้ำ
  • 19. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 19 ท่าที่ 6 กางแขนออกด้านข้างเสมอไหล่ทั้ง 2 ข้าง งอข้อศอกให้ปลายนิ้วแตะไหล่ หมุนข้อศอก ไปทางด้านหน้า (10 ครั้ง) แล้วหมุนข้อศอกไป ทางด้านหลัง (10 ครั้ง) 3. กล้ามเนื้อลำตัว ท่าเตรียม ยืนตรง กางแขนเล็กน้อย มือเท้าสะเอว ทำแต่ละท่า 5-10 ครั้ง ปฏิบัติ ท่าที่ 1 ค่อยๆ ก้มตัวไปด้านหน้าจนเต็มที่ กลับมาท่าเดิม เอนตัวไปด้านหลังจนเต็มที่ กลับมาท่าเดิม ทำซ้ำ ท่าที่ 4 กางแขนออกด้านข้างเสมอไหล่ทั้ง 2 ข้าง แล้ว ยกขึ้นเหนือศีรษะเป็นรูปครึ่งวงกลม จนต้นแขน แนบหู กลับมาท่าเดิม ทำซ้ำ ท่าที่ 5 กางแขนออกด้านข้างเสมอไหล่ทั้ง 2 ข้าง แกว่งมือให้เป็นวงกลมไปทางด้านหน้า (10 ครั้ง) แล้วแกว่งมือให้เป็นวงกลมไปทาง ด้านหลัง (10 ครั้ง)
  • 20. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 20 4. กล้ามเนื้อขา ท่าเตรียม ยืนตรง กางขาเล็กน้อย มือเท้าสะเอว ทำแต่ละท่า 5-10 ครั้ง ปฏิบัติ ท่าที่ 1 ลงน้ำหนักที่ขาขวา กระดกปลายเท้าซ้ายขึ้นจนสุด งุ้มปลายเท้าลงเต็มที่ กลับมาท่าเดิม ทำซ้ำ ท่าที่ 2 ค่อยๆ ย่อเข่าให้มากที่สุด ค้างไว้นับ 1-5 กลับมา ท่าเดิม ทำซ้ำ ท่าที่ 2 ค่อยๆ เอนตัวไปทางซ้ายเต็มที่ กลับมาท่าเดิม เอนตัวไปทางด้านขวาจนเต็มที่ กลับมาท่าเดิม ทำซ้ำ ท่าที่ 3 บิดตัวส่วนเหนือเอวไปทางซ้ายจนเต็มที่ กลับมา ท่าเดิม บิดตัวไปทางขวาจนเต็มที่ กลับมาท่าเดิม ทำซ้ำ
  • 21. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 21 ข้อที่ 8 ตรวจสุขภาพให้ถ้วนถี่ ปีละครั้ง เป็นอย่างน้อย การตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอหรืออย่างน้อยปีละครั้ง เป็นการสร้างโอกาสที่จะได้ทราบถึงภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพ เนื่องจากอายุที่เพิ่มขึ้นย่อมมีการเสื่อมของการทำหน้าที่ของทุกระบบ ในร่างกาย โดยมีแนวทางการปฏิบัติ คือ ควรพบแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจร่างกายทุกระบบ ข้อที่ 9 ฝักใฝ่ในธรรม ประกอบกรรมดี อารีต่อทุกคน การบำเพ็ญประโยชน์ต่อครอบครัว ชุมชน และสังคม เป็น มูลเหตุนำไปสู่ความสงบสุขเจริญก้าวหน้าทั้งของครอบครัว ชุมชน และสังคม ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้ได้รับการยอมรับนับถือจากผู้อื่น ก่อให้เกิดความสุขใจเมื่อระลึกถึง เป็นการเพาะบ่มกุศลจิตให้เพิ่มพูน อันจะเป็นหลักยึดหรือที่พึ่งที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงของชีวิตในบั้นปลาย ข้อที่ 4 ดื่มน้ำสุกสะอาด อย่าให้ขาดวันละ 6-8 แก้ว น้ำที่ใช้ดื่มควรเป็นน้ำสะอาด ปราศจากสี กลิ่น และตะกอน และควรดื่มวันละ 6-8 แก้ว ข้อที่ 5 พักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง ปลอดโปร่งแจ่มใส การพักผ่อนนอนหลับเพื่อผ่อนคลายเป็นกระบวนการทาง ธรรมชาติ ที่จะช่วยรักษาสุขภาพร่างกายให้มีความสมดุล และไม่ให้เกิด อันตรายจากความอ่อนเพลีย เป็นการสะสมพลังงานเพื่อกิจกรรม ในวันต่อไป จะเป็นการนอนหลับกลางวันหรือกลางคืนก็ได้ให้นับรวมกัน ไม่ต่ำกว่า 6-8 ชั่วโมง ข้อที่ 6 งดสิ่งเสพติด คบหาญาติมิตร ใกล้ชิดครอบครัว สิ่งเสพติดไม่ว่าชนิดใดล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดโทษต่อผู้เสพ ทั้งสิ้น ทั้งร่างกายและจิตใจ มีผลเสียต่อการทำหน้าที่ทางสังคมทุกระดับ ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน จนถึงประเทศชาติ โดยเฉพาะผู้สูงอายุนั้น สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องงดเว้นสิ่งเสพติด เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นที่พึ่งทางใจของบุตรหลาน ก่อให้เกิดความสุข ความอบอุ่น เป็น ครอบครัวที่พึงปรารถนาได้ ข้อที่ 7 ดูแลบ้านเรือน ของใช้ เสื้อผ้า ให้สะอาด น่าใช้ การแพร่ระบาดและการติดเชื้อโรคจากความไม่สะอาดของ ที่อยู่อาศัย ของใช้ เสื้อผ้า นั้น เกิดขึ้นได้ง่าย ทั้งทางระบบหายใจ ผิวหนัง และระบบทางเดินอาหาร การทำความสะอาดที่อยู่อาศัย ของใช้ เสื้อผ้าฯลฯจึงเป็นวิธีการป้องกันไว้ก่อนที่จะสายเกินแก้ควรปฏิบัติ อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ทั้งตัวผู้สูงอายุ และผู้ให้การดูแล
  • 22. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 22 3. มีเสียงดังในข้อเข่า ขณะที่มีการเคลื่อนไหว 4. ข้อเข่าบวม มีน้ำในข้อ อาจมีการโป่งนูนของข้อ 5. ข้อเข่าคด ผิดรูป หรือเข่าโก่ง วิธีการรักษาทั่วไป การรักษามุ่งเน้นเพื่อการลดปวดหรือการอักเสบ ในขณะเดียวกัน จะพยายามทำให้ข้อเคลื่อนไหวเป็นไปตามปกติ ซึ่งมีแนวทางการรักษา ทั่วๆ ไปดังนี้ 1. ใช้ความร้อนประคบรอบเข่า ลดอาการปวด เกร็ง 2. บริหารกล้ามเนื้อเข่าให้แข็งแรงอยู่เสมอ 3. ใช้สนับเข่า เพื่อกระชับ ลดอาการปวด 4. ใช้ไม้เท้าช่วยเดิน ช่วยลดแรงที่กระทำต่อข้อ 5. หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม เช่นนั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ นั่งยองๆ 6. ลดน้ำหนักในรายที่อ้วนมาก เพราะเมื่อเดินจะมีน้ำหนัก ผ่านลงที่เข่าแต่ละข้างประมาณ 3 เท่าของน้ำหนักตัว นอกจากนี้ มีการรักษาทางกายภาพบำบัดด้วยความร้อนและ ความเย็น การรักษาโดยการผ่าตัดและการใช้ยาซึ่งต้องอยู่ในความ ดูแลของแพทย์ การบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า ท่านั่ง นั่งบนเก้าอี้ งอเข่าทั้งสองข้าง เท้าวางราบกับพื้น ค่อยๆ ยกขาขึ้นจนเข่าเหยียดตรงเกร็งค้างไว้นับ 1-10 งอเข่าลงช้าๆ ให้เท้า วางกับพื้นเหมือนเดิม ทำ 10-20 ครั้ง สลับขาซ้าย-ขวา โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการดูแลรักษา ข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อม คือโรคข้อเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการสึก กร่อนของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อที่พบได้บ่อยมาก ซึ่งจะเกิดขึ้น ได้กับข้อกระดูกหลายส่วนของร่างกาย แต่ตำแหน่งที่พบมากที่สุดคือ ข้อเข่า พบได้ประมาณครึ่งหนึ่งของโรคข้อเสื่อม ถือเป็นโรคในกลุ่ม ข้ออักเสบชนิดหนึ่ง พบได้ในทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ พบมากกว่าร้อยละ 80-90 ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเสื่อม 1. อายุ มักพบในอายุ 45 ปีขึ้นไป และพบมากในผู้สูงอายุ 2. น้ำหนักตัวมาก มีโอกาสเป็นโรคมากขึ้น 3. อุบัติเหตุ หรือการใช้ข้อไม่ถูกต้อง เช่น การนั่งยองๆ การ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ เป็นต้น 4. การเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อน ที่เกิดจากการอักเสบติดเชื้อ ในข้อเข่า การฉีดยาหรือสารเคมีเข้าในข้อเข่า อาการของโรคข้อเสื่อม 1. เริ่มจากปวดข้อเป็นๆ หายๆ มีอาการปวดมากขึ้นเมื่อใช้งาน ข้อมาก หากเป็นมากจะมีอาการปวดตลอดเวลา อาจจะมีอาการอ่อนแรง ของกล้ามเนื้อร่วมด้วย 2. ข้อฝืด ยึดตึง ใช้งานไม่ถนัด บางรายมีข้อติด เช่นในช่วง ตื่นนอนตอนเช้า เมื่อเคลื่อนไหวในครั้งแรกจะไม่คล่องตัว
  • 23. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 23 โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจขาดเลือดหรือโรคหลอดเลือดหัวใจ หมายถึง โรค ที่เกิดจากหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบ หรือตัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจ มีเลือดไปเลี้ยงลดลงหรือไม่มีเลย มักเป็นผลมาจากผนังหลอดเลือด แข็งเพราะมีไขมันและหินปูนไปจับ ทำให้หลอดเลือดนั้นตีบเข้าๆ จนกระทั่งอุดตันเนื่องจากความเสื่อมเกิดขึ้นตามอายุจึงพบว่าคนอายุมาก เป็นโรคนี้มากกว่าคนอายุน้อย อาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือดมีลักษณะคล้ายมีอะไร มารัดหรือกดทับหน้าอก เจ็บแน่นตื้อๆ บางคนมีเจ็บร้าวไปที่แขนซ้าย ต้นคอหรือกราม อาจมีอาการจุกแน่นลิ้นปี่ หายใจไม่ออก คล้ายจะเป็นลม อาการมักเกิดขณะที่ร่างกายมีการใช้กำลัง หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น เช่น ขึ้นบันได วิ่ง ตกใจ เครียด เสียใจอย่างรุนแรง ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด 1. มีภาวะไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูง 2. ความดันโลหิตสูง คนที่มีความดันโลหิตสูง ยิ่งสูงมากเท่าไร มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้น 3. การสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่จัดจะมีโอกาสขาดเลือดไปเลี้ยง กล้ามเนื้อหัวใจมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 2 เท่า 4. อายุที่มากขึ้นจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น 5. โรคเบาหวาน เนื่องจากทำให้มีผลเสียต่อหลอดเลือดหัวใจ ท่านอน นอนหงาย ใช้หมอนเล็กๆ หนุนใต้เข่าทั้งสองข้าง เหยียดเข่าให้ตรง แล้วยกขึ้นตรงๆ ให้ส้นเท้าสูงจากพื้นประมาณ 1 ฟุต เกร็งไว้นาน 5-10 วินาทีแล้วลดลง สลับเหยียดขาอีกข้างหนึ่ง ทำข้างละ 10-15 ครั้ง วันละ 2 เวลา
  • 24. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 24 ทางจิตใจ และทำจิตใจให้เบิกบานอยู่เสมอ ทำอย่างไรให้มีสุขภาพหัวใจที่ดี 1. ดูแลตัวเองและคนรอบข้างให้ปลอดจากบุหรี่ และพยายาม จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ 2. ทำให้การออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ทำตัว ให้มีความกระฉับกระเฉงทุกวัน รวมถึงเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกายแบบ แอโรบิก เช่น การเดินเร็วๆ วิ่ง ว่ายน้ำ หรืออื่นๆ โดยใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน และพยายามปฏิบัติให้ได้มากที่สุดในแต่ละสัปดาห์ 3. ตั้งเป้าหมายให้กับตัวเองที่จะมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม และ มีสุขภาพที่ดี 4. ลดอาหารที่มีไขมัน โคเลสเตอรอล และพลังงานสูง เพิ่ม การรับประทานผัก ผลไม้และธัญพืช 5. ลดการรับประทานเกลือ (ไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน) ลดการ รับประทานน้ำตาล (ไม่เกิน 4 ช้อนโต๊ะต่อวัน) 6. ควรตรวจวัดความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดอย่าง สม่ำเสมอ เมื่ออายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป และเป็นกลุ่มเสี่ยง รวมถึง ระวังอย่าให้มีความดันโลหิตสูง 7. ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เรียนรู้ว่าตัวเลขใดแสดงถึง ความผิดปกติของระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด 8. รู้จักคลายเครียด ทำจิตใจให้แจ่มใส 9. พักผ่อนให้เต็มที่ โดยเฉพาะการนอนหลับที่สนิทและเพียงพอ 6. กรรมพันธุ์ พบว่าผู้ที่พ่อแม่เป็นโรคหัวใจ ลูกมักมีโอกาส เป็นมากกว่าคนอื่น 7. ภาวะทางจิตใจ ผู้ที่มีจิตใจตึงเครียดอยู่เสมอ ผู้ที่มีความ ทะเยอทะยานมาก มีความกังวลใจมาก มีการชิงดีชิงเด่นมาก มีการ ผิดหวังบ่อย มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้สูง การดูแลตนเองขณะเป็นโรคหัวใจขาดเลือด 1. พบแพทย์เพื่อรักษาและปฏิบัติตนตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด สม่ำเสมอ 2. เลิกสูบบุหรี่เด็ดขาด 3. ถ้าอ้วนควรลดน้ำหนัก 4. รับประทานอาหารให้ถูกต้อง ลดไขมัน ลดเค็ม รับประทาน อาหารที่มีกากมาก/เส้นใยสูง 5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังที่ หักโหม และควรเพิ่มขึ้นทีละน้อย ทางที่ดีควรขอคำแนะนำจากแพทย์ เสียก่อนที่จะออกกำลังกายมากๆ 6. หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการโรคหัวใจกำเริบ เช่น • อย่าทำงานหักโหมเกินไป • อย่ารับประทานอาหารอิ่มเกินไป • ระวังอย่าให้ท้องผูก เพราะการเบ่งถ่ายอุจจาระ จะส่งผลเสีย ต่อหัวใจ • งดดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน • หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตื่นเต้นตกใจหรือการกระทบกระเทือน
  • 25. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 25 2. การรักษาทางยา โดยแพทย์ และไม่แนะนำให้หยุดยาเองเป็น อันขาด เพราะจะเป็นผลเสียต่อร่างกาย การป้องกัน 1. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน 2. งดสูบบุหรี่ 3. จำกัดเกลือไม่ให้เกินวันละ 1 ช้อนชา 4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที 5. ลดการดื่มแอลกอฮอล์ 6. รับประทานอาหารที่มีโปตัสเซียมสูง เช่น ถั่ว ส้ม น้ำเต้าหู้ ในรายที่ต้องรับประทานยาขับปัสสาวะ 7. รับประทานผัก ผลไม้ เช่น ผักบร็อกโคลี กล้วย องุ่น เป็นต้น 8. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมเช่น นมขาดไขมัน 9. หลีกเลี่ยงภาวะเครียด ฝึกสมาธิและการผ่อนคลาย 10. หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ 11. คอยสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ตามัว ปวดศีรษะอย่างรุนแรง เป็นต้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง 1. ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน • ควบคุมน้ำหนักร่างกายให้พอดี คนที่มีน้ำหนักตัวมาก ควรพยายามลดน้ำหนัก เพราะจะช่วยลดความดันลงได้ โดยใช้วิธี ควบคุมอาหาร และหมั่นออกกำลังกาย ความดันโลหิตสูง...ปฏิบัติอย่างไร ภาวะความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่ค่าความดันโลหิตขณะ หัวใจบีบตัว มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือ ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท สาเหตุของความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มักไม่ทราบสาเหตุ พบมากถึงร้อยละ 95 แต่มีปัจจัย ที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุ ได้แก่ ความอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ การขาดการออกกำลังกาย นอกจากนี้ยังพบในผู้ที่มีประวัติครอบครัว มีความดันโลหิตสูงมาก่อน ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่พบ เช่น โรคไต โรค ต่อมไร้ท่อ โรคระบบประสาท สารเคมี หรือยาบางชนิด อาการ หากเป็นไม่รุนแรง อาการจะไม่เด่นชัด อาจมีอาการเวียนศีรษะ หลังจากนั้นจะมีอาการปวดศีรษะ ปวดบริเวณท้ายทอยช่วงเวลาเช้า หลังตื่นนอน คลื่นไส้ อาเจียนโดยไม่ทราบสาเหตุ หากเป็นมากๆ จะมีเลือดกำเดาไหล หอบ นอนราบไม่ได้ อาจมีอาการเจ็บหน้าอก ร่วมด้วย การรักษา 1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา โดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ในการ รับประทานอาหาร การออกกำลังกายเป็นประจำ การงดสูบบุหรี่ ลด แอลกอฮอล์ ตลอดจนการฝึกสมาธิ ฝึกจิตไม่ให้เครียด
  • 26. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 26 โรคหลอดเลือดสมอง เป็นอาการผิดปกติของสมองอย่างฉับพลันและเป็นอยู่นานเกิน 24 ชั่วโมง มีสาเหตุจาก 1. หลอดเลือดในสมองตีบตัน การตีบอย่างช้าๆ ของเส้นเลือด สมอง เกิดจากมีแคลเซียมมาเกาะ หรือเกิดมีตะกอนไขมันมาเกาะ ทำให้รูของหลอดเลือดแคบลงและทำให้เลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ 2. หลอดเลือดในสมองมีก้อนอุดตัน เนื่องจากมีลิ่มเลือดเล็กๆ ที่เกิดขึ้นในหลอดเลือดที่อยู่นอกสมอง หลุดลอยตามกระแสเลือดขึ้นไป อุดตันในหลอดเลือดที่อยู่ในสมอง มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ เช่น โรคหัวใจรูมาติก กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหัวใจเต้นผิดจังหวะ 3. หลอดเลือดในสมองแตกหรือการตกเลือดในสมอง ผู้ที่มี เส้นเลือดสมองเปราะและมีความดันโลหิตสูง เมื่อใดที่มีความดันโลหิต สูงขึ้นทันทีทันใด อาจจะทำให้หลอดเลือดในสมองแตกได้ นอกจากนี้ ยังอาจมีสาเหตุจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดง ที่เป็นมาแต่กำเนิด เช่น หลอดเลือดแดงโป่งพองโดยกำเนิด หลอดเลือด ฝอยผิดปกติแต่กำเนิด หรือมีการอักเสบของเส้นเลือด มักจะแตกและ ทำให้เกิดอาการอัมพาตเมื่อผู้ป่วยอยู่ในวัยหนุ่มสาวหรือวัยกลางคน และ โรคที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เช่น ตับแข็ง โรคเลือดบางชนิด เป็นต้น บางครั้งก็อาจกลายเป็นสาเหตุหนึ่งของเลือด ออกในสมองได้ • หมั่นออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับ ผู้สูงอายุ เช่น การเดินเร็วก้าวยาวๆ ท่าบริหารร่างกายแบบง่ายๆ ควร เริ่มต้นทีละน้อยก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นจะทำให้หัวใจและปอดทำงาน ดีขึ้น ช่วยการสูบฉีดโลหิตหมุนเวียนทั่วร่างกาย • ลดอาหารเค็ม ควรเลือกอาหารที่ใส่เกลือหรือน้ำปลา น้อยที่สุด รวมทั้งงดรับประทานผงชูรส ป้องกันอาการท้องผูกโดย การรับประทานผัก ผลไม้ให้มาก ดื่มน้ำให้พอเพียง 2. ผู้ที่สูบบุหรี่ ต้องงดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด เพราะบุหรี่จะส่งเสริม ให้เกิดโรคแทรกซ้อน โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจตีบตันเร็วขึ้น และ ยังทำให้ดื้อต่อยาที่รักษา 3. ควรงดเหล้า เพราะแอลกอฮอล์ในปริมาณมากจะทำให้ ความดันขึ้น และทำให้ดื้อต่อยาที่รักษา 4. หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ทำให้หงุดหงิด โมโห ตื่นเต้น และนอน หลับพักผ่อนให้เพียงพอ 5. ควรบริโภคอาหารที่มีไขมันและโคเลสเตอรอลต่ำ มีเส้นใย อาหารสูง จะช่วยลดความดันโลหิตลงได้ร้อยละ 10 6. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ควรไปพบแพทย์ ตามนัดทุกครั้ง ไม่ควรหยุดยาหรือปรับยาด้วยตนเอง 7. หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำ อาจเป็นเดือนละ 1-2 ครั้ง ควรบันทึกลงคู่มือไว้ด้วย 8. สำหรับผู้ที่รับประทานยาขับปัสสาวะ ควรรับประทานส้ม กล้วยเป็นประจำถ้าไม่มีข้อห้าม เพื่อทดแทนโปตัสเซียมที่เสียไปใน ปัสสาวะ
  • 27. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 27 ภาวะไขมันในเลือดสูง ไขมันในเลือด เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นในการสร้างฮอร์โมน บางชนิด และผนังเซลล์ของร่างกาย ที่สำคัญมี 2 ชนิด คือ 1. ไขมันโคเลสเตอรอล ปกติระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด ไม่ควรเกิน 200 มก./ดล. ไขมันโคเลสเตอรอล มีหลายชนิด ที่สำคัญ มี 2 ชนิด คือ 1.1 แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล เป็นไขมันชนิดที่ไม่ดี ระดับ ค่าปกติไม่ควรเกิน 130 มก./ดล. 1.2 เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล เป็นไขมันชนิดที่ดี ทำหน้าที่ ช่วยนำไขมันโคเลสเตอรอลส่วนเกินในเลือด และบางส่วนที่เกาะตาม ผนังหลอดเลือดกลับสู่ตับ ระดับค่าปกติไม่ควรต่ำกว่า 40 มก./ดล. 2. ไขมันไตรกลีเซอไรด์ ระดับค่าปกติไม่ควรเกิน 150 มก./ดล. สาเหตุ 1. การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ การสูบบุหรี่ และ การขาดการออกกำลังกาย 2. พันธุกรรม ประมาณ 20% ของผู้มีโคเลสเตอรอลสูง ญาติ พี่น้องมีโอกาสเป็นโรคนี้ 3. ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ โรคตับ โรคไต โรคพิษสุราเรื้อรัง และความเครียด ซึ่งโรคเหล่านี้ ทำให้การเผาผลาญสารไขมันผิดปกติไป เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง 1. งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงดื่มเหล้า 2. หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากความดัน โลหิตสูงจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองถึง ร้อยละ 80 3. ลดการบริโภคอาหารรสเค็มจัด ผลวิจัยพบว่าผู้ที่นิยม รับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด จะพบว่าโรคหลอดเลือดสมองเป็น สาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ 4. บริโภคอาหารที่มีโคเลสเตอรอลและไขมันต่ำ อาหารที่มี เส้นใยสูง 5. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับปกติ 6. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 7. ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือมีภาวะไขมัน ในเลือดสูง ควรรับการรักษาจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่สามารถป้องกัน ควบคุมได้ด้วย การปฏิบัติตัว มิให้หลอดเลือดในสมองเสื่อมเร็วกว่าวัยอันควร โรคนี้ เมื่อเป็นแล้วจะฟื้นตัวได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นกับธรรมชาติของโรค และผู้ป่วยเป็นสำคัญ และต้องตระหนักว่าผู้ป่วยจะมีเพียงความผิดปกติ ทางกายเท่านั้น ส่วนทางด้านสติปัญญามักจะเป็นปกติ ญาติจึงต้อง คอยให้กำลังใจและเสริมสร้างคุณค่าของผู้ป่วยอยู่เสมอ ผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองควรปรับพฤติกรรมการดำรง ชีวิต ให้เป็นแบบที่ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งจะทำให้ ฟื้นตัวได้ดีขึ้น และยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคซ้ำอีก
  • 28. คู่มือสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ 28 โรคมะเร็ง มะเร็ง เป็นโรคร้ายแรงที่เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญเป็นอันดับ ต้นๆ ของประเทศไทย คนส่วนใหญ่จะตรวจพบการเป็นโรคมะเร็ง ในระยะท้ายๆ ซึ่งยากต่อการบำบัดรักษา ทำให้มีอัตราการตายจากโรค มะเร็งสูง สาเหตุการเกิดโรคมะเร็ง มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งหลายประการ อาจแบ่ง ได้เป็น 2 สาเหตุใหญ่ๆ คือ 1. ปัจจัยภายในร่างกาย เช่น พันธุกรรม ภาวะทุพโภชนาการ เช่น โรคตับแข็ง เกิดจากการขาดสารอาหารโปรตีน จะกลายเป็น มะเร็งตับได้ง่าย - เพศ มะเร็งตับ มะเร็งปอด พบมากในผู้ชาย มะเร็งของ เต้านม มะเร็งผิวหนัง มะเร็งปากมดลูก พบมากในผู้หญิง - อายุ มะเร็งของลูกตา มะเร็งของไต พบมากในเด็ก - กรรมพันธุ์ มะเร็งเต้านม มะเร็งของต่อมไทรอยด์บางชนิด พบว่ามีความสัมพันธ์กับกรรมพันธุ์ เป็นต้น 2. ปัจจัยภายนอกร่างกาย ได้แก่ 2.1 สารกายภาพต่างๆ ได้แก่ การระคายเคืองเรื้อรัง เช่น ฟันปลอมที่ไม่กระชับ การรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มร้อนจัด เป็นประจำ การเคี้ยวหมากหรือการจุกยาฉุน สารรังสีชนิดต่างๆ เช่น รังสีเอ็กซ์ สารกัมมันตภาพรังสีต่างๆ รวมทั้งรังสีอัลตราไวโอเลท ในแสงแดด อาการ ผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง จะมีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้ วิธีป้องกันและการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง 1. ตรวจไขมันในเลือดตามคำแนะนำของแพทย์ 2. เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค โดย - จำกัดอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น เครื่องในสัตว์ ไข่แดง ปลาหมึก หอยนางรม - ควรรับประทานอาหารประเภทเนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน นมพร่องไขมัน ไข่ควรรับประทานไม่เกินสัปดาห์ละ 2-3 ฟอง - ลดอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด อาหารที่มีส่วน ประกอบของกะทิ และอาหารประเภทย่าง นึ่ง หรืออบ - ลดการบริโภคอาหารที่มีไขมัน พบได้ในอาหารเนื้อสัตว์ รวมทั้งน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เนย และใช้น้ำมันพืช ในการปรุงอาหาร โดยใช้ประมาณ 2 - 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน 3. ควรบริโภคอาหารที่มีเส้นใยสูง อาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป เช่น ผลไม้สดและผักต่างๆ และถั่วต่างๆ 4. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยเพิ่มระดับไขมัน เอช ดี แอล ด้วย 5. งดสูบบุหรี่และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ 6. หลีกเลี่ยงภาวะเครียด