SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 204
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
2
พิมพ์ครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2555
จ�ำนวนพิมพ์ 1,000 เล่ม
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ราคา 200 บาท
ISBN 978-974-401-744-4
เจ้าของผู้พิมพ์
สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
อาคารเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย (ภ.ส.ท.)
เลขที่ 40 ซอยสันติสุข (สุขุมวิท 38) ถนนสุขุมวิท
แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์ 0 2713 5261-3 โทรสาร 0 2713 5541
ออกแบบจัดพิมพ์โดย
ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด ปันชะยา ครีเอชั่น
เลขที่ 72 ซอยลาดปลาเค้า 14 แขวงจรเข้บัว
เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230
โทรศัพท์ 0 2940 3813, 0 2940 3981
โทรสาร 0 2940 3813, 0 2940 3981 กด 16
E-mail : panchaya_2@yahoo.com
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Self Development Manual on Good Pharmacy Practice
in Community Pharmacy Settings
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
3
วิรัตน์ ทองรอด
ภบ., MBA (Marketing), Ph.D. (Pharmacy Administration)
กรรมการและเลขาธิการสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
อาจารย์ คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
สมบัติ แก้วจินดา
ภบ.
อุปนายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
เภสัชกรปฏิบัติการ
ร้านชุมชนเภสัชกรรม จ.ปราจีนบุรี
ภิญโญ รุจิจนากุล
ภบ.
กรรมการสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
อาจารย์พิเศษคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เภสัชกรเจ้าของและผู้ปฏิบัติการ
ร้านหนองใหญ่เภสัช จ.ขอนแก่น
ชูศักดิ์ ไมตรีมิตร
ภบ., ภม. (เภสัชกรรมชุมชน), ภม. กิตติมศักดิ์ (การบริการทางเภสัชกรรม)
อาจารย์พิเศษและแหล่งฝึก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เภสัชกรปฏิบัติการ
บจก.นครปฐมสากลฟาร์ม่า
อติชาต อรุณไพโรจน์
ภบ., บธ.ม. (MBA)
เภสัชกรปฏิบัติการ
ร้านบ้านยาและสุขภาพ จ.นครสวรรค์
ศิริรัตน์ ตันปิชาติ
ภ.บ., บธ.ม. (การบริหารการเงินและการตลาด)
กรรมการสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
เภสัชกรปฏิบัติการ
ร้าน เอ็ม ที ดรั๊ก กรุงเทพฯ
รายนามผู้จัดท�ำ
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
4
ทวีสิทธิ วีระวัธนชัย, ร้อยโท
ภบ. (BSc in Pharm), Micro MBA
กรรมการสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
กรรมการเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
ประธานเครือข่ายเภสัชกรจังหวัดอุบลราชธานี
เภสัชกรปฏิบัติการ
ร้านคลังยา จ.อุบลราชธานี
สมศักดิ์ ตรีทิพย์สถิตย์
ภบ., ศษ.บ. (เอกปฐมวัยศึกษา), บธ.ม. (กิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารธุรกิจ)
กรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ที่ปรึกษาฝ่ายพัฒนาโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี
เภสัชกรปฏิบัติการ
ร้านสมศักดิ์เภสัช จ.อุดรธานี
วัฒนา ตั้งเกียรติก�ำจาย
ภบ.
เภสัชกรปฏิบัติการ
ร้านโนราเภสัช จ.สงขลา
วิรัตน์ เมลืองนนท์
ภบ.
เภสัชกรปฏิบัติการ
ร้านส่งเสริมเภสัช จ.ปทุมธานี
พีระพงศ์ เหลืองอิงคะสุต
ภบ.(เกียรตินิยม), บธ.บ.(การจัดการทั่วไป), วท.ม. (เภสัชวิทยา)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสถานปฏิบัติการชุมชน (ร้านยา) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เจ้าของและเภสัชกรปฏิบัติการ
ร้านพีระพงศ์เภสัช จ.อุดรธานี
รายนามผู้จัดท�ำ
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
5
จิรศักดิ์ โออริยกุล
ภบ.
กรรมการสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
รองเลขาธิการ ชมรมร้านขายยาแห่งประเทศไทย
เภสัชกรปฏิบัติการ
ร้านช้างม่อยเภสัช จ.เชียงใหม่
ชูศักดิ์ โชคคติวัฒน์
ภบ., วท.ม. (เภสัชศาสตร์)
เภสัชกรปฏิบัติการ
ร้านเภสัชกรชูศักดิ์ จ.มหาสารคาม
วราวุธ เสริมสินสิริ
ภบ., ภม. (การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข)
เภสัชกรช�ำนาญการ กองควบคุมยา
ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ทรงศักดิ์ วิมลกิตติพงศ์
ภบ., นบ.
เภสัชกรช�ำนาญการ กองควบคุมยา
ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กุลธิดา สุขนิวัฒน์ชัย
ภบ., ภม. (เภสัชกรรมชุมชน)
เภสัชกร
ส�ำนักงานโครงการพัฒนาร้านยา กองควบคุมยา
ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ชาญชัย ศรีมงคลปทุม
ภบ.
กรรมการสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
เภสัชกรปฏิบัติการ
ร้านชาญชัยเภสัช กรุงเทพฯ
รายนามผู้จัดท�ำ
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
6
ค�ำน�ำ 		 7
บทบรรณาธิการ 	 8
สาสน์จากนายกสภาเภสัชกรรม	 9
สาสน์จากประธานโครงการพัฒนาร้านยา	 10
สาสน์จากนายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)	 11
มาตรฐานที่ 1	สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ	 12
มาตรฐานที่ 2	การบริหารจัดการเพื่อคุณภาพ	 37
มาตรฐานที่ 3	การบริการเภสัชกรรมที่ดี	 51
	 3.1 การจัดหา การควบคุมยาและเวชภัณฑ์	 52
	 3.2 แนวทางการให้บริการทางเภสัชกรรม	 71
มาตรฐานที่ 4	การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และจริยธรรม	 141
มาตรฐานที่ 5	การให้บริการและการมีส่วนร่วมในชุมชนและสังคม	 152
ภาคผนวก		 160
ดัชนี		 197
สารบัญ
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
7
“ร้านยา” คือ “สถานบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่ส�ำคัญ เป็นมิตร และใกล้ชิดประชาชน” ประชาชนสามารถ
เข้าถึงบริการของร้านยากว่าหมื่นแห่งที่กระจายตามชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว เปิดบริการ
ตลอดทั้งวัน ไม่ต้องเดินทางไกล หรือ คอยคิวนาน ค่าใช้จ่ายก็ย่อมเยา ดังรายงานวิจัยว่า ประชาชนส่วนใหญ่ประมาณ
ร้อยละ 60-80 จะเลือกใช้บริการจากร้านยาเป็นด่านแรกเมื่อเกิด การเจ็บป่วยเบื้องต้นขึ้น และมูลค่าของยาที่กระจาย
ผ่านร้านยาคิดเป็นร้อยละ 45 ของการบริโภคยาทั้งประเทศ
	 ร้านยาจึงเป็นที่พึ่งด้านสุขภาพของชุมชนที่แท้จริง ที่คอยให้ค�ำปรึกษาและแนะน�ำเรื่องการใช้ยา ผลิตภัณฑ์
สุขภาพ การดูแลตนเอง และปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ ของชุมชน พร้อมทั้งส่งต่อไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตามระดับ
ความรุนแรงของโรค ทั้งนี้เพื่อ ‘สุขภาวะของประชาชน’ เป็นเป้าหมายสูงสุด
ร้านยาที่เปิดให้บริการเรื่องยาและสุขภาพแก่ชุมชนทั่วประเทศ มีรูปแบบการให้บริการที่หลากหลายแตกต่าง
กัน ทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ยาและสุขภาพ สถานที่ตั้ง บริการ ฯลฯ ส่งผลให้เกิดความแตกต่างหลากหลายของคุณภาพ
การให้บริการ ซึ่งเป็นประเด็นส�ำคัญที่สังคมไทยให้ความสนใจและคาดหวังให้ร้านยาเป็นที่พึ่งสามารถตอบสนอง
ความต้องการที่แท้จริงของประชาชนและสังคม
สภาเภสัชกรรมโดยความร่วมมือกับส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และสมาคมเภสัชกรรมชุมชน
(ประเทศไทย) พัฒนาเกณฑ์มาตรฐานร้านยาขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการยกระดับคุณภาพการบริการของร้านยาให้มี
มาตรฐานระดับสากลตามหลักวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรม (GPP-Good Pharmacy Practices) และเป็นที่ยอมรับ
ของแวดวงวิชาการ วิชาชีพ และสังคม
ดังนั้น เพื่อให้เกณฑ์มาตรฐานร้านยาได้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพบริการทางเภสัชกรรมอย่างเป็น
รูปธรรม สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของประชาชน ส�ำนักงานโครงการพัฒนาร้านยา ส�ำนักงาน
คณะกรรมการอาหารและยา สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) สมาพันธ์พัฒนาคุณภาพร้านยา และสถาบัน
การศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ จึงร่วมมือกันพัฒนา “คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมใน
ร้านยา” นี้ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือที่ส�ำคัญของผู้ประกอบการและเภสัชกรชุมชนได้เข้าใจและร่วมกันพัฒนาคุณภาพ
บริการของร้านยาด้วยตนเองตามแนวทางวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมชุมชนอย่างแท้จริง บนพื้นฐานบริบทของ
ประเทศไทย ในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจ เน้นให้สามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง มีค�ำอธิบาย พร้อมทั้งยกตัวอย่าง
รูปภาพ แผนภูมิ แบบฟอร์มต่างๆ ประกอบอย่างชัดเจน
คณะผู้จัดท�ำหวังว่า “คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมชุมชนในร้านยา” นี้ จะเป็น
ประโยชน์ต่อการพัฒนายกระดับงานเภสัชกรรมชุมชนหรือบริการสุขภาพของร้านยาให้มีคุณภาพการให้บริการที่ดี
ยิ่งขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพที่แท้จริงของประชาชน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัย
ด้านการใช้ยา และส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันเชิงธุรกิจ จนเป็นสถานบริการสุขภาพปฐมภูมิที่ได้รับการยอมรับ
ของประชาชนในชุมชน และส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพไทยที่ยั่งยืนตลอดไป
คณะผู้จัดท�ำคู่มือ
ค�ำน�ำ
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
8
หนังสือ “คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา” จัดท�ำขึ้น ด้วยจุด
มุ่งหมายเพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ประกอบการร้านยาและเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานได้น�ำไปศึกษาและ
ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อร้านยา ช่วยพัฒนายกระดับบริการของร้านยาให้คุณภาพดียิ่งขึ้น ก่อให้
เกิดประสิทธิภาพในการใช้ยาอย่างคุ้มค่า ปลอดภัย ประหยัด และสมเหตุผล ตามความต้องการที่แท้จริง
ของผู้รับบริการ เพื่อบรรลุถึง ‘สุขภาวะ’ ของประชาชน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดร่วมกันของสังคมไทย
เมื่อผู้รับบริการได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพจากร้านยาแล้ว ย่อมจะมีความรู้สึกประทับใจและเกิด
ความพึงพอใจต่อร้านยา และพัฒนาต่อเป็นความไว้เนื้อเชื่อใจ และความจงรักภักดีในที่สุด ผลตอบแทน
ก็จะไหลกลับคืนสู่ร้านยา ‘ดั่งน�้ำซึมบ่อทราย’ ไม่ว่า จะเป็นการยอมรับนับถือ ชื่อเสียง การแนะน�ำ
และการบอกต่อแบบปากต่อปากของคนในชุมชน ส่งผลถึงรายรับและผลประกอบการของกิจการให้
เจริญรุ่งเรือง เป็นที่นับถือของชุมชน พร้อมกับความมั่งคั่งของทรัพย์สิน อันเป็นพื้นฐานที่มั่นคงของ
กิจการ “ร้านยาในฝัน”
หนังสือคู่มือเล่มนี้เป็นเหมือนส่วนขยายต่อยอดของ “มาตรฐานร้านยา” ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ขยาย
ความเพิ่มความชัดเจนของแต่ละมาตรฐานให้สามารถน�ำไปปฏิบัติได้จริง ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก
ได้แก่ มาตรฐานร้านยา ค�ำอธิบาย และตัวอย่างประกอบ (พร้อมรูปหรือแบบฟอร์ม-ถ้ามี) ผู้อ่านจึง
สามารถศึกษาท�ำความเข้าใจได้ด้วยตนเอง และสามารถน�ำไปประยุกต์ต่อยอดสวมมงกุฎให้กับกิจการ
ของตนได้อย่างสง่างามแท้จริง
คณะท�ำงานประกอบด้วยผู้พัฒนามาตรฐานร้านยา ผู้เยี่ยมส�ำรวจร้านยา เภสัชกรชุมชนเจ้าของ
ร้านยาคุณภาพ และเภสัชกรรุ่นใหม่ เป็นตัวแทนของทุกภาคส่วนมีมุมมองที่หลากหลายมิติ ร่วมกัน
ท�ำงานเป็นทีม ทุ่มเทมุ่งมั่น ค้นคว้ารวบรวมความรู้ ประสบการณ์ และทักษะที่ส�ำคัญถ่ายทอดลงเป็น
ตัวอักษรที่อ่านได้ง่าย ดังปรากฏในหนังสือเล่มนี้ กว่า 200 หน้า ด้วยความมุ่งหวังให้คู่มือเล่มนี้ได้เป็น
เสมือน “เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ร้านยา” เป็นต�ำราคู่ใจข้างกายเภสัชกรชุมชนไทย
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณคณะท�ำงานที่ได้ทุ่มเทบากบั่นมุ่งมั่น ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและ
ยาที่สนับสนุนด้านงบประมาณและความคิดสร้างสรรค์ที่ดี สมาคมเภสัชกรรมชุมชนที่ให้การสนับสนุน
อย่างเต็มก�ำลัง และสภาเภสัชกรรมที่ได้สร้างสรรค์มาตรฐานร้านยาและร้านยาคุณภาพ และผู้ที่เกี่ยวข้อ
งอื่นๆ อีกเป็นจ�ำนวนมากที่ให้การสนับสนุนการจัดท�ำหนังสือ “คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฏิบัติ
ที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา” จนส�ำเร็จเป็นที่เรียบร้อย
ภก.ดร.วิรัตน์ ทองรอด
บรรณาธิการ
บทบรรณาธิการ
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
9
ในอดีตที่ผ่านมา เภสัชกรที่มีหน้าที่ปฏิบัติการในร้านยาจะมีการปฏิบัติที่หลากหลาย เพราะยัง
ไม่มีเกณฑ์มาตรฐานที่ก�ำหนดแนวทางให้มีการปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2546 เริ่มมี
การก�ำหนดมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมชุมชน และมีมาตรฐานร้านยา ท�ำให้เกิดการตื่นตัวและมี
พัฒนาการเกิดขึ้นมากในการด�ำเนินการและการปฏิบัติวิชาชีพของเภสัชกรในร้านยา มีร้านยาจ�ำนวน
หนึ่งที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากสภาเภสัชกรรมเป็น “ร้านยาคุณภาพ” ขณะเดียวกันทางส�ำนักงาน
คณะกรรมการอาหารและยาได้ช่วยกระตุ้นร้านยาต่างๆ ให้มีการพัฒนาเข้าสู่มาตรฐานให้มากขึ้นและ
ช่วยสนับสนุนให้มีการเขียนคู่มือวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรม (Good Pharmacy Practices-GPP) ซึ่ง
เป็นเสมือนการอธิบายเพิ่มเติมมาตรฐานร้านยาพร้อมทั้งมีการยกตัวอย่างประกอบให้เห็นเป็นรูปธรรม
ง่ายต่อการท�ำความเข้าใจและปฏิบัติ เพื่อให้เภสัชกรที่เป็นเจ้าของกิจการและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการใน
ร้านยาสามารถพัฒนาได้ด้วยตนเอง ช่วยให้เกิดการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกันพร้อมๆ กันได้ โดยมี
เป้าหมายเพื่อเปลี่ยนร้านยาเป็นสถานประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
การผลักดันร้านยาจากสถานที่ขายยาเป็นสถานประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมนั้น เป็นนโยบายหนึ่ง
ของสภาเภสัชกรรมในวาระที่ 6 นี้ และมีนโยบายที่จะสนับสนุนและผลักดันให้ร้านยามีบทบาทส�ำคัญ
ในการให้บริการร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การสื่อสารท�ำความเข้าใจกับเภสัชกรที่มีหน้า
ที่ปฏิบัติการในร้านยาเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สภาเภสัชกรรมให้ความส�ำคัญ เริ่มจากการที่สภาเภสัชกรรมได้
จัดหลักสูตรอบรม (1 วัน) เพื่อสื่อสารกับเภสัชกรที่เป็นเจ้าของกิจการหรือมีหน้าที่ปฏิบัติการในร้านยา
ที่จะเปิดใหม่ ให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมชุมชนและวิธีปฏิบัติ
ที่ดีทางเภสัชกรรม กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนความรับผิดชอบของเภสัชกรชุมชนต่อสังคม
ซึ่งจะท�ำให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อวิชาชีพโดยรวม ทั้งนี้เนื่องจากร้านยาเป็นด่านแรกที่ประชาชนเข้ารับ
บริการ เป็นที่พึ่งของประชาชนในพื้นที่ที่ห่างไกลจากสถานพยาบาล อีกทั้งเป็นการเตรียมร้านยาและ
เภสัชกรที่มีหน้าที่ปฏิบัติการให้พร้อมรับกฎกระทรวงที่จะประกาศให้มีวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมใน
ร้านยาในเร็ววันนี้
เภสัชกรเป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ด้านยาโดยตรง หากมีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิธีปฏิบัติที่ดีทาง
เภสัชกรรมแล้ว สามารถที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาให้ถูกต้องได้ ช่วยป้องกัน
ปัญหาการใช้ยาซ�้ำซ้อน ช่วยลดปัญหาการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่ป้องกันได้ ลดปัญหาการจัดเก็บยา
ผิด ฯลฯ ซึ่งนอกจากจะช่วยเหลือผู้ป่วยโดยตรงแล้ว ยังช่วยประเทศชาติในการประหยัดงบประมาณ
เรื่องยาในภาพรวมได้อีกด้วย เหนืออื่นใดคือการยกระดับการให้บริการในร้านยาที่สังคมส่วนใหญ่มัก
มองว่าเป็นการประกอบธุรกิจขายยา ให้เกิดมุมมองว่าเป็นการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ไม่มีใครจะ
ช่วยเหลือให้สังคมเกิดภาพพจน์ใหม่นี้ได้ นอกจากพวกเราเภสัชกรเองเท่านั้น
เภสัชกรหญิง รองศาสตราจารย์ ธิดา นิงสานนท์
นายกสภาเภสัชกรรม
มีนาคม 2553
สาสน์จากนายกสภาเภสัชกรรม
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
10
วิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรม (Good Pharmacy Practice : GPP) นั้น เป็นหลักการที่ได้รับ
การยอมรับในระดับสากลว่าเป็น ปฏิบัติการทางวิชาชีพ(Professional-based Practice) ที่ร้านยาพึง
น�ำไปปฏิบัติเพื่อประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดแก่ผู้รับบริการ ส�ำหรับประเทศไทยนั้น ได้เริ่มเอาแนวคิดของ
GPP มาใช้ด้วยการก�ำหนด “มาตรฐานร้านยาคุณภาพ” โดยสภาเภสัชกรรมขึ้น จนอาจกล่าวได้ว่า
เป็น “ต้นร่าง” ในการพัฒนา GPP ขึ้นมาใช้ในวงการร้านยาของประเทศไทยนั่นเอง
ตลอดช่วงกว่า 6 ปีของการด�ำเนินการขับเคลื่อนโครงการ “ร้านยาคุณภาพ” โดยใช้ “มาตรฐาน
ร้านยาคุณภาพ” เป็นเป้าหมายของการพัฒนานั้น ส�ำนักงานโครงการพัฒนาร้านยาซึ่งเป็นหน่วยงาน
ภายใต้กองควบคุมยา ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตระหนักว่า ในการให้บริการ
ทางเภสัชกรรมของเภสัชกรชุมชนในปัจจุบัน มีรูปแบบและวิธีการให้บริการที่ดีอยู่บ้างแล้ว แต่ยังขาด
การรวบรวม จัดเก็บองค์ความรู้เหล่านั้น เพื่อประโยชน์ในการถ่ายทอดและต่อยอดให้เกิดความสมบูรณ์
ยิ่งขึ้น
ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงได้สนับสนุนงบประมาณแก่ สมาคมเภสัชกรรมชุมชน
(ประเทศไทย) ในการรวบรวมประสบการณ์การให้บริการทางเภสัชกรรมในร้านยาขึ้น โดยยึดมาตรฐาน
ร้านยาคุณภาพและหลักการของ GPP เป็นพื้นฐานในการรวบรวม จนได้เป็นเอกสารฉบับนี้ โดยคาด
หวังหนังสือดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือส�ำคัญส�ำหรับเภสัชกรชุมชนที่ประสงค์จะยกระดับคุณภาพการ
ให้บริการใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา อีกทั้งยังหวังว่าหนังสือดังกล่าวจะเป็นจุดเริ่มต้นในการแลก
เปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนา GPP ให้มีความชัดเจน เหมาะสมกับบริบทของประเทศ และน�ำไปสู่
การถ่ายทอด ขัดเกลา ความเป็นวิชาชีพแก่เภสัชกรชุมชนในรุ่นต่อๆ ไป เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ในการ
พัฒนาร้านยาที่ ว่า
“ร้านยาในประเทศไทยเป็นสถานให้การบริบาลทางเภสัชกรรมตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการ
ให้บริการด้านยา และผ่านเกณฑ์มาตรฐาน “ร้านยาคุณภาพ” โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการใช้ยาอย่างสม
เหตุสมผลมีประสิทธิภาพและปลอดภัย”
เภสัชกร วิศิษฏ์ ประวีณวงศ์วุฒิ
ประธานโครงการพัฒนาร้านยา
ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
สาสน์จากประธานโครงการพัฒนาร้านยา
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
11
ระบบสุขภาพของประเทศไทย ก�ำลังพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพและ
สร้างสุขภาวะที่ดีของประชาชน แต่ก็ยังไม่สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากข้อจ�ำกัดหลาย
ประการ ประชาชนส่วนใหญ่ยังใช้บริการร้านยาเป็นด่านแรกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ซึ่งนับวันก็เป็นปัญหาที่ซับซ้อนและใหญ่มากขึ้น
ในฐานะที่เภสัชกรชุมชนจะต้องเป็นผู้ให้บริการหลักในร้านยา ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพที่ถูกต้อง
ตามกฎหมาย เภสัชกรมีหน้าที่ต้องพัฒนาตนเองให้สอดรับกับสถานการณ์และสามารถแก้ไขปัญหารวม
ทั้งหาแนวทางป้องกันให้กับผู้รับบริการจนสัมฤทธิ์ผล
เพื่อให้เภสัชกรและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถพัฒนาโดยตนเอง สมาคมเภสัชกรรมชุมชน(ประเทศไทย)
จึงได้จัดท�ำหนังสือคู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา หรือ Self
Development Manual on Good Pharmacy Practice in Community Pharmacy Settings
เล่มนี้ขึ้น ซึ่งเล่มนี้เป็นการพิมพ์ครั้งที่ 2 หลังจากเล่มแรกที่ได้หมดไปอย่างรวดเร็ว และมีการทบทวน
เนื้อหา พร้อมทั้งแทรกบทบาทใหม่ๆที่เกิดขึ้น รวมทั้งการท�ำงานร่วมกับสหวิชาชีพ เพื่อใช้เป็นเครื่อง
มือส�ำคัญในการพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ของเภสัชกรที่ร้านยาในการให้ค�ำปรึกษาและดูแลผู้ป่วยให้มีการ
ได้รับยาที่ถูกต้องเหมาะสม
สมาคมเภสัชกรรมชุมชน(ประเทศไทย) ขอขอบพระคุณส�ำนักยา ภายใต้คณะกรรมการ
อาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขที่ได้กรุณาให้การสนับสนุนการจัดพิมพ์ครั้งแรก และหวังเป็น
อย่างยิ่งว่าในการจัดพิมพ์ครั้งนี้จะยังประโยชน์ให้ผู้ด�ำเนินการร้านยา เภสัชกรตลอดจนผู้เกี่ยวข้องได้
มีความรู้ความเข้าใจบทบาทบริการต่างๆในร้านยา สามารถพัฒนาตนเองและกิจการให้เป็นที่พึ่งแรก
ด้านสุขภาพของประชาชน
เภสัชกรหญิงช้องมาศ นิติศฤงคาริน
นายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
สาสน์จากนายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
12
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
13มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ
มาตรฐานร้านยา
มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ
ความมุ่งหมายของมาตรฐานนี้เพื่อให้มีองค์ประกอบทางกายภาพที่เหมาะสมและสนับสนุนให้เกิดการบริการที่มี
คุณภาพ โดยมีการจัดแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนที่เพียงพอและเหมาะสมส�ำหรับการให้บริการ แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัด
ระหว่างพื้นที่ที่ต้องปฏิบัติการโดยเภสัชกร และพื้นที่บริการอื่นๆ มีการจัดหมวดหมู่ของยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และ
การเก็บรักษาที่เอื้อต่อการรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนต้องจัดหาอุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนการให้บริการที่ดี
แก่ประชาชน โดยมีรายละเอียดของมาตรฐานดังนี้
1.1	สถานที่
	 1.1.1	ต้องเป็นสถานที่มั่นคง แข็งแรง มีพื้นที่เพียงพอแก่การประกอบกิจกรรม มีอาณาบริเวณแยกจากสถาน
ที่แวดล้อมเป็นสัดส่วน
	 1.1.2	มีความสะอาด มีแสงสว่างเหมาะสม อากาศถ่ายเท รวมถึงมีระบบหรืออุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย
	 1.1.3	มีการจัดการควบคุมสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์
	 1.1.4	มีบริเวณที่จัดวางยาที่ต้องปฏิบัติการโดยเภสัชกรเท่านั้นและเป็นที่รับรู้ของผู้รับบริการอย่างชัดเจน
	 1.1.5	มีบริเวณให้ค�ำแนะน�ำปรึกษาที่เป็นสัดส่วน
	 1.1.6	มีบริเวณแสดงสื่อให้ความรู้เรื่องสุขภาพ ในกรณีจัดวางเอกสารหรือติดตั้งสื่อที่มุ่งการโฆษณาให้มีพื้นที่
จัดแยกโดยเฉพาะ
	 1.1.7	มีป้ายสัญญลักษณ์ต่างๆ ดังนี้
ก.	ป้ายแสดงว่าเป็น “ร้านยา”
			 ข.	ป้ายแสดงชื่อ รูปถ่าย เลขที่ใบประกอบวิชาชีพ และเวลาปฏิบัติการของเภสัชกรที่ก�ำลังปฏิบัติหน้าที่
ไว้ในที่เปิดเผย
			 ค.	ป้ายสัญลักษณ์ที่เป็นไปตามข้อก�ำหนดของใบอนุญาตและประเภทของยา
			 ง.	ป้าย “จุดบริการโดยเภสัชกร” แสดงบริเวณที่ปฏิบัติงานโดยเภสัชกร และกิจกรรมอื่นๆ ตาม ความ
เหมาะสม เช่น “รับใบสั่งยา” “ให้ค�ำแนะน�ำปรึกษาโดยเภสัชกร”
มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
14 มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ
1.1 สถานที่
	 1.1.1
	 -	ต้องเป็นสถานที่มั่นคง แข็งแรง เพื่อป้องกัน
อันตรายที่อาจขึ้นกับผู้รับบริการ ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้สัญจร
ผ่าน ยกตัวอย่างเช่น โครงสร้างของอาคารที่ไม่แข็งแรง
อาจพังทลายเนื่องจากภัยธรรมชาติ รวมถึงส่วนเชื่อมต่อ
อาคาร ได้แก่ หลังคากันสาด ป้ายต่างๆ ควรตรวจสอบว่า
มั่นคงเพียงพอต่อสภาพอากาศ หากพบว่ามีการช�ำรุดควร
รีบท�ำการซ่อมแซมแก้ไข
	 -	มีพื้นที่เพียงพอแก่การประกอบกิจกรรม (โดย
ตามร่างกฏกระทรวงใหม่ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และ
ค�ำอธิบายพร้อมตัวอย่าง
ความมุ่งหมายของมาตรฐานนี้เพื่อให้มีองค์ประกอบ
ทางกายภาพที่เหมาะสมและสนับสนุนให้เกิดการบริการที่มี
คุณภาพ โดยมีการจัดแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนที่เพียงพอและ
เหมาะสมส�ำหรับการให้บริการ แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัด
ระหว่างพื้นที่ที่ต้องปฏิบัติการโดยเภสัชกร และพื้นที่บริการ
อื่นๆ มีการจัดหมวดหมู่ของยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการ
เก็บรักษาที่เอื้อต่อการรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ตลอด
จนต้องจัดหาอุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนการให้บริการที่ดีแก่
ประชาชน โดยมีรายละเอียดของมาตรฐานดังนี้
มาตรฐานร้านยา
1.2	อุปกรณ์
	 1.2.1 มีอุปกรณ์ในการให้บริการสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์ในการติดตามผลการใช้ยา เช่น
			 - เครื่องชั่งน�้ำหนัก
			 - ที่วัดส่วนสูง
			 - ที่วัดอุณหภูมิร่างกาย
			 - เครื่องวัดความดันโลหิต
			 - ชุดวัดระดับน�้ำตาลในเลือด ฯลฯ
	 1.2.2 	มีอุปกรณ์นับเม็ดยา จ�ำแนกตามกลุ่มยาที่จ�ำเป็นในการให้บริการ เช่น ยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนนิซิลิน
ยาซัลโฟนาไมด์ ฯลฯ
	 1.2.3	มีอุปกรณ์เครื่องใช้ในการให้บริการที่สะอาด และไม่เกิดการปนเปื้อนในระหว่างการให้บริการ
	 1.2.4	มีตู้เย็นเก็บเวชภัณฑ์ที่เป็นสัดส่วนเพียงพอและมีการควบคุมและบันทึกอุณหภูมิอย่างสม�่ำเสมอ
	 1.2.5 มีภาชนะบรรจุยา โดยที่
			 ก.	ยาที่มีไว้เพื่อบริการ ควรอยู่ในภาชนะเดิมที่มีฉลากครบถ้วนตามที่กฎหมายก�ำหนด ไม่ควรมี
การเปลี่ยนถ่ายภาชนะ
			 ข.	ภาชนะบรรจุยาที่เหมาะสมส�ำหรับการให้บริการต่อประชาชน ต้องค�ำนึงถึง ปริมาณบรรจุ
การป้องกันยาเสื่อมคุณภาพ เป็นต้น
1.3 สิ่งสนับสนุนบริการ
	 1.3.1 มีแหล่งข้อมูล ต�ำรา ที่เหมาะสมในการใช้อ้างอิงและเผยแพร่
	 1.3.2 มีฉลากช่วย เอกสารความรู้ สนับสนุนการบริการอย่างเหมาะสม
	 1.3.3 มีอุปกรณ์พิเศษที่ช่วยเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยา (ในกรณีจ�ำเป็น)
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
15มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ
เงื่อนไขการขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุ
ใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต เกี่ยวกับการ
ขายยาแผนปัจจุบัน ขนาดต้องไม่น้อยกว่า 8 ตาราง
เมตร) มีอาณาบริเวณแยกจากสถานที่แวดล้อมเป็นสัดส่วน
สามารถให้ผู้รับบริการรับทราบได้อย่างชัดเจนถึงอาณา
บริเวณที่เป็นร้านยา
	 1.1.2
	 -	มีความสะอาด และถูกสุขอนามัย ควร
ท�ำความสะอาดอย่างสม�่ำเสมอ ป้องกันไม่ให้มีการ
สะสมของฝุ่น สิ่งสกปรกอื่นๆ เช่น หยากไย เศษแมลง
ขี้แมลง คราบสกปรกอาจท�ำความสะอาดด้วยน�้ำยาฆ่า
เชื้อโรค
	 -	มีแสงสว่างเหมาะสมให้เพียงพอต่อการปฏิบัติ
งาน ป้องกันการผิดพลาดในการท�ำงานเนื่องจากมีแสง
สว่างไม่เพียงพอ
	 -	มีอากาศถ่ายเท หรือหาอุปกรณ์เพื่อช่วยระบาย
อากาศ เช่น พัดลมระบายอากาศ หากภายในร้านมีกลิ่น
อับ หรือกลิ่นไม่พึ่งประสงค์ย่อมส่งผลต่อบรรยากาศในการ
ปฏิบัติงาน ตลอดจนอารมณ์ของผู้รับบริการ
	 -	ควรมีระบบหรืออุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย ได้แก่
ถังดับเพลิงตามความเหมาะสมของพื้นที่ร้าน (ดังแสดง
ในรูปที่ 1.1) หัวฉีดน�้ำอัตโนมัติส�ำหรับอาคารส�ำนักงาน
เนื่องจากเวชภัณฑ์บางอย่างสามารถติดไฟได้ง่าย การมี
อุปกรณ์ช่วยดับเพลิงจะบรรเทาความเสียหายจากอุบัติเหตุ
เนื่องจากไฟไหม้ ทั้งนี้ควรตรวจอุปกรณ์ดังกล่าวอย่าง
สม�่ำเสมอให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้
	 1.1.3 มีการจัดการควบคุมสภาวะแวดล้อมที่
เหมาะสมต่อการรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ ได้แก่
	 -	การป้องกันแสงส่องกระทบต่อบริเวณที่เก็บ
ยาโดยตรง เช่น ใช้ผ้ายางกันแดด ผ้าม่านหรือใช้วัสดุ
กันแสงอื่นๆ
	 -	การป้องกันผลกระทบต่ออุณหภูมิที่ร้อนจัด เช่น
การใช้พัดลมระบายอากาศ การติดฉนวนกันความร้อน
การติดเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ควรน�ำยาที่เสื่อมสภาพ
ได้ง่ายจากอุณหภูมิสูงไปเก็บที่ควบคุมอุณหภูมิได้ เช่น
ตู้เย็น ห้องควบคุมอุณหภูมิ เป็นต้น
	 1.1.4 มีบริเวณที่จัดวางยาที่ต้องปฏิบัติการโดย
เภสัชกรเท่านั้น และเป็นที่รับรู้ของผู้รับบริการอย่างชัดเจน
โดยแสดงป้ายสัญลักษณ์บอก ณ บริเวณดังกล่าว (ดังแสดง
ในรูปที่ 1.2) เช่น “จุดให้บริการโดยเภสัชกร” เป็นต้น และ
จัดเรียงยาที่ต้องจ่ายเภสัชกรเท่านั้น เช่น ยาอันตราย ยา
ควบคุมพิเศษ ยาเสพติด ฯลฯ ทั้งนี้เป็นการป้องกันไม่ให้
ผู้รับบริการมาเลือกซื้อยาดังกล่าวได้ด้วยตนเอง เป็นการ
ป้องกันความเสี่ยงต่อการน�ำยาไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง
รูปที่ 1.1	ถังดับเพลิงตามความเหมาะสม
	 ของพื้นที่ร้าน
รูปที่ 1.2	ป้ายแสดง “จุดรับบริการโดยเภสัชกร” และบริเวณที่จัดวางยา
	 บริการโดยเภสัชกรเท่านั้น
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
16 มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ
ในทางปฏิบัติเภสัชกรจะสอบถาม
และระบุความต้องการที่แท้จริงก่อน
จึงสามารถจ่ายยาดังกล่าวได้ตามความ
เหมาะสมหรือเงื่อนไขของกฎหมาย ใน
กรณีเภสัชกรไม่อยู่เนื่องจากเหตุจ�ำเป็น
ฉุกเฉินใดๆ สามารถงดให้บริการยาใน
บริเวณหวงห้ามนี้แก่ลูกค้า (ดังแสดงใน
รูปที่ 1.3) แต่ยังสามารถให้บริการยา
สามัญประจ�ำบ้านที่ผู้รับบริการเลือกซื้อ
ยาดังกล่าวได้ด้วยตนเอง
	 1.1.5 มีบริเวณให้ค�ำแนะน�ำ
ปรึกษาที่เป็นสัดส่วน
	 •	สามารถจัดท�ำเป็นห้อง
ให้ค�ำปรึกษาโดยเฉพาะ (ดังแสดงใน
รูปที่ 1.4) หรือจัดบริเวณพื้นที่ในร้าน
บางส่วนให้มีขนาดเหมาะสม โดยมี
โต๊ะส�ำหรับท�ำกิจกรรมให้ค�ำปรึกษา มี
เก้าอี้ให้ผู้รับบริการนั่งพัก (ดังแสดงใน
รูปที่ 1.5) หรือมีฉากกั้นเป็นอาณาบริเวณ
ให้ค�ำปรึกษา ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับการไว้วางใจ
เกิดความเป็นส่วนตัวที่จะเก็บรักษาความ
ลับของลูกค้า ตลอดจนป้องกันไม่ให้ลูก
ค้าอื่นๆมาสอดแทรกการให้ค�ำปรึกษา
นอกจากนี้ควรป้องกันเสียงรบกวนที่ส่งผล
กระทบระหว่างการปฏิบัติงานให้ค�ำปรึกษา
(ดังแสดงในรูปที่ 1.6)
รูปที่ 1.4 ตัวอย่างห้องให้ค�ำปรึกษาโดยเภสัชกร
รูปที่ 1.3 รูปแสดงป้ายการบอกให้ผู้รับบริการรับรู้กรณีเภสัชกรไม่อยู่
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
17มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ
รูปที่ 1.6 ด้านนอกบริเวณพื้นที่ให้ค�ำปรึกษามีเก้าอี้ให้ผู้รับบริการรายอื่นได้นั่งพักระหว่างรอเภสัชกร
รูปที่ 1.5	บริเวณให้ค�ำปรึกษาโดยเภสัชกร โดยดัดแปลงพื้นที่บางส่วนในร้านให้เป็นสัดส่วน
	 โดยมีฉากกั้น เพื่อความสะดวก และความเป็นส่วนตัว อีกทั้งมีจอคอมพิวเตอร์
	 ช่วยในการให้ความรู้แก่ผู้รับบริการ
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
18 มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ
1.1.6	 มีบริเวณแสดงสื่อให้
ความรู้เรื่องสุขภาพ โดยไม่มุ่งการโฆษณา
ได้แก่ แผ่นพับ แผ่นปลิว โปสเตอร์
จัดบอร์ดความรู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่
เหมาะสมในแต่ละโอกาส พร้อม
รายละเอียด เช่น สาเหตุ อาการ การรักษา
และการป้องกัน เป็นต้น (ดังแสดงใน
รูปที่ 1.7 ถึง 1.9) ในกรณีจัดวาง
เอกสารหรือติดตั้งสื่อที่มุ่งการโฆษณาให้
มีพื้นที่จัดแยกโดยเฉพาะและไม่ควรมา
จัดไว้ในบริเวณที่ปฏิบัติงานโดยเภสัชกร
(professional service area) รวมถึง
การไม่ติดสติ๊กเกอร์หรือป้ายโฆษณายา
บริเวณตู้ยาหรือชั้นวางยาที่ต้องปฏิบัติ
การโดยเภสัชกรเท่านั้น
รูปที่ 1.7 ตัวอย่างแผ่นพับแนะน�ำความรู้สุขภาพส�ำหรับแจกให้ผู้รับบริการ
รูปที่ 1.8 ตัวอย่างการจัดบอร์ดให้ความรู้การดูแลตนเองและป้องกันโรค
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
19มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ
รูปที่ 1.9 ตัวอย่างรูป จัดบอร์ดรณรงค์การใช้ยาปฏิชีวนะให้เหมาะสม
1.1.7 มีป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ ดังนี้
	 ก.	ป้ายแสดงว่าเป็น “ร้านยา” มีขนาดที่เห็นได้เด่นชัด (ดังแสดงในรูปที่ 1.10)
รูปที่ 1.10 รูปป้ายแสดงอย่างชัดเจนว่าเป็นร้านยา
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
20 มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ
		-	ป้ายแสดงว่าเป็นร้านยา เช่น “ขายยา” “ร้าน
ขายยา” “จ�ำหน่ายยา-เวชภัณฑ์-อาหารเสริมสุขภาพ”
		 -	หลีกเลี่ยงป้ายที่อาจให้เกิดความสับสนว่าเป็น
ร้านยาหรือไม่ เช่น “จ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์“ “คลินิกเวชภัณฑ์”
		 -	หลีกเลี่ยงป้ายที่เชิญชวนให้เชื่อหรือไม่จริง
เช่น “ขายยาถูกที่สุด” “ขายยา........เห็นผลภายใน 7 วัน”
หรือ “ขายยาโดยเภสัชกรตลอดวัน” ทั้งๆ ที่ร้านมีเภสัชกร
เป็นบางเวลา
	 ข.	มีป้ายแสดงชื่อ รูปถ่ายที่ควรเป็นปัจจุบัน เลขที่
ใบประกอบวิชาชีพ และเวลาปฏิบัติการของเภสัชกรที่ก�ำลัง
ปฏิบัติหน้าที่ไว้ในที่เปิดเผย และแสดงให้ลูกค้าทราบโดย
เด่นชัดว่าขณะนี้มีเภสัชกรที่แสดงไว้ที่ป้ายว่าก�ำลังปฎิบัติ
งานอยู่ หรือ ไม่อยู่ปฎิบัติงาน หากร้านที่มีเภสัชกรหลาย
คนหมุนเวียนมาปฏิบัติงาน ควรแสดงให้ชัดเจนว่าเภสัชกร
ผู้ปฏิบัติงานในขณะนั้น คือใคร ดังแสดงในรูปที่ 1.11 ถึง
1.12
รูปที่ 1.11	ป้ายแสดงชื่อ รูปถ่ายที่ควรเป็นปัจจุบัน
	 เลขที่ใบประกอบวิชาชีพ และเวลาปฏิบัติการ
	 ของเภสัชกรที่ก�ำลังปฏิบัติหน้าที่ไว้ในที่เปิดเผย
รูปที่ 1.12 ป้ายแสดงเภสัชกรที่ก�ำลังปฏิบัติงาน
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
21มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ
	 ค. ป้ายสัญลักษณ์ที่เป็นไปตามข้อก�ำหนดของใบ
อนุญาตและประเภทของยาส�ำหรับร้านขายยาแผนปัจจุบัน
(ตามร่างกฎกระทรวงใหม่) ได้แก่
	 (๑) จัดท�ำป้ายด้วยวัตถุถาวรสีน�้ำเงิน ขนาดกว้าง
และยาวไม่น้อยกว่า ๒๐ x ๗๐ เซนติเมตร และมีข้อความ
เป็นตัวอักษรไทยสีขาว สูงไม่น้อยกว่า ๓ เซนติเมตร แสดง
ว่าเป็นสถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน หรือสถานที่ขายส่งยา
แผนปัจจุบัน (ดังแสดงในรูปที่ 1.13)
	 (๒) จัดท�ำป้ายด้วยวัตถุถาวรสีน�้ำเงิน สีเขียว หรือ
สีแดง ตามประเภทสถานที่ขายยา ขนาดกว้างและยาว
ไม่น้อยกว่า ๒๐ x ๕๐ เซนติเมตร และมีข้อความเป็น
ตัวอักษรไทยสีขาว สูงไม่น้อยกว่า ๓ เซนติเมตร แสดง
ชื่อตัว ชื่อสกุล และวิทยฐานะของผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ
(ดังแสดงในรูปที่ 1.14)
รูปที่ 1.13 ป้ายแสดงสถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน
รูปที่ 1.14 ป้ายแสดงตัวของผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
22 มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ
	 (๓) จัดท�ำป้ายด้วยวัตถุถาวรสีน�้ำเงิน สีเขียว หรือ
สีแดง ตามประเภทสถานที่ขายยา แสดงชื่อตัว ชื่อสกุล
และวิทยฐานะของผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ เลขที่ใบประกอบ
วิชาชีพหรือใบประกอบโรคศิลปะ รูปถ่ายผู้มีหน้าที่ปฏิบัติ
การหน้าเต็ม รูปสี ไม่เกินห้าปี ขนาดอย่างน้อย ๘ x ๑๕
เซนติเมตร และเวลาที่ปฏิบัติการ (ดังแสดงในรูปที่ 1.15)
	 ง. ป้าย “จุดบริการโดยเภสัชกร” แสดงบริเวณ
ที่ปฏิบัติงานโดยเภสัชกร และกิจกรรมอื่นๆ ตามความ
เหมาะสม เช่น “รับใบสั่งยา” “ให้ค�ำแนะน�ำปรึกษาโดย
เภสัชกร” (ดังแสดงในรูปที่ 1.16 และ 1.17 ตามล�ำดับ)
รูปที่ 1.15	ป้ายแสดงรูปถ่ายผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ
	 หน้าเต็มและเวลาที่ปฏิบัติการ
รูปที่ 1.16 ป้าย “รับใบสั่งยา”
รูปที่ 1.17	ป้าย “ให้ค�ำแนะน�ำ	
	 ปรึกษาโดยเภสัชกร”
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
23มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ
รูปที่ 1.18 รูปเทอร์โมมิเตอร์แบบต่างๆ
รูปที่ 1.19 เครื่องวัดความดันแบบต่างๆ
รูปที่ 1.20 สายวัดส�ำหรับวัดขนาดสัดส่วน
1.2 อุปกรณ์
	 1.2.1	มีอุปกรณ์ในการให้บริการสุขภาพที่
เหมาะสมเพื่อประโยชน์ในการติดตามผลการใช้ยา เช่น
		 -	เครื่องชั่งน�้ำหนัก นอกจากเป็น
การบริการให้ผู้ที่อยากทราบน�้ำหนักแล้ว ยังเป็นการตรวจ
สอบน�้ำหนักของผู้ป่วยให้แน่ใจเพื่อใช้ค�ำนวณขนาดยาให้
ถูกต้อง
		 - ที่วัดส่วนสูง มีประโยชน์ เช่น
การค�ำนวณดัชนีมวลกาย (BMI) การเจริญเติบโตในเด็ก
เป็นต้น
		 - ที่วัดอุณหภูมิร่างกาย โดยสามารถ
ใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบต่างๆที่ใช้ในร้านได้สะดวก เช่น
เทอร์โมมิเตอร์แบบตัวเลข (ดังแสดงในรูปที่ 1.18) มี
ประโยชน์ในการวัดภาวะไข้ของผู้ป่วย
		 - เครื่องวัดความดันโลหิต อาจใช้แบบ
ตัวเลข (ดังแสดงในรูปที่ 1.19) มีประโยชน์ในการคัดกรอง
ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง หรือยืนยัน
อาการบางอย่างที่มีสาเหตุของภาวะความผิดปกติของความ
ดันโลหิต เช่น อาการปวดศีรษะ วิงเวียน หน้ามืด เป็นต้น
ควรศึกษาวิธีการใช้เครื่องวัด และการแปรผลให้ได้ถูกต้อง
(สามารถศึกษาเพิ่มเติมในแนวทางเวชปฏิบัติโรคความดัน
โลหิตสูง สมาคมโรคความดันโลหิตที่ http://www.thai
hypertension.org/2008guideline.pdf)
		 อุปกรณ์อื่นๆ ตามกิจกรรมที่ร้านยามี
ความพร้อม เช่น
		 -	สายวัด ส�ำหรับวัดขนาดเอว (ดังแสดง
ในรูปที่ 1.20) ใช้เพื่อพิจารณาความเสี่ยงของภาวะ
โรคอ้วนลงพุง metabolic disease ตลอดจนความเสี่ยงต่อ
โรคเบาหวาน
		 -	ชุดวัดระดับน�้ำตาลในเลือด โดยวิธี
เจาะเลือดจากปลายนิ้ว (capillary blood glucose,
CBG) โดยใช้เครื่อง glucose meter แบบตัวเลข
(ดังแสดงในรูปที่ 1.21) ใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยที่มี
ความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ตลอดจนผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ที่ต้องการตรวจสอบระดับน�้ำตาลเบื้องต้นในระหว่าง
ท�ำการรักษาจากแพทย์ เภสัชกรควรศึกษาวิธีการใช้เครื่อง
ตรวจระดับน�้ำตาลในแต่ละรุ่นจากคู่มือฯ หรือผู้ขาย และ
รูปที่ 1.21 เครื่องเจาะวัดน�้ำตาลในเลือดแบบพกพา
หมายเหตุ อุปกรณ์ต่างๆ ในการให้บริการสุขภาพควรหมั่น
ตรวจสอบอย่างสม�่ำเสมอ ให้มีความถูกต้องแม่นย�ำ ป้องกัน
การผิดพลาดในการแปรผล
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
24 มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ
ฝึกซ้อมการใช้เครื่องให้ช�ำนาญก่อนให้บริการ รวมถึงวิธี
การแปรผลเพื่ออธิบายผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง ศึกษาเพิ่ม
เติมจากแนวเวชปฏิบัติส�ำหรับโรคเบาหวาน 2554 ที่
http://www.nhso.go.th/NHSOFront/SelectViewItem
Action.do?folder_id=000000000000106&item_
id=000000000027532
		 1.2.2 มีอุปกรณ์นับเม็ดยา จ�ำแนกตามกลุ่มยาที่
จ�ำเป็นในการให้บริการ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีโอกาสแพ้ยา
ได้บ่อย เช่น ยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนนิซิลิน ยาซัลโฟนาไมด์
ฯลฯ และมีเครื่องหมายแสดงโดยจ�ำเพาะอย่างชัดเจน
(ดังแสดงในรูปที่ 1.22) เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากการ
รูปที่ 1.22 ถาดนับเม็ดยา
ใช้ยาต่างชนิดกันในถาดนับเม็ดยาอันเดียวกัน ซึ่งมีความ
เสี่ยงให้เกิดการแพ้ยาได้โดยไม่ตั้งใจ เช่น การนับเม็ดยา
เพนนิซิลินวี ในถาดนับให้กับลูกค้ารายหนึ่งเสร็จ แล้ว
มีลูกค้าอีกรายซึ่งเคยมีประวัติแพ้ยาเพนนิซิลินมาขอ
ซื้อยาไอบูโพรเฟน เภสัชกรจึงเทยาไอบูโพรเฟนในถาด
เดิม แล้วนับเทใส่ซองยา เศษผงจากเม็ดยาเพนนิซิลินวี
อาจปนเปื้อนมากับยาไอบูโพรเฟน เมื่อผู้ป่วยรับประทาน
ยาแล้วมีอาการแพ้ยาหรืออาจท�ำให้เข้าใจผิดว่าแพ้ยา
ไอบูโพรเฟนได้
	 1.2.3	มีอุปกรณ์เครื่องใช้ในการให้บริการที่
สะอาด และไม่เกิดการปนเปื้อนในระหว่างการให้บริการ
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
25มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ
ได้แก่
			 -	การเช็ดท�ำความสะอาดถาดนับเม็ดยา
และอุปกรณ์นับด้วยล�ำสีชุปแอลกอฮอล์อย่างสม�่ำเสมอและ
ทุกครั้งก่อนจ่ายยาหากพบว่าถาดนั้นมีสิ่งปนเปื้อน ข้อนี้รวม
ถึงห้ามใช้มือเปล่าในการหยิบนับเม็ดยา
			 - เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ ที่ใช้อมใต้ลิ้นหรือใช้
ใส่ในรูหู ต้องท�ำความสะอาดทุกครั้งเมื่อใช้เสร็จ และเช็ด
ฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์
			 - แก้วน�้ำที่ไว้ให้ผู้รับบริการรับประทานยา
ควรใช้แบบครั้งต่อครั้ง ไม่ใช่มีแค่แก้วใบเดียวใช้ด้วยกัน
ซึ่งจะมีโอกาสแพร่กระจายเชื้อโรคได้
			 -	ในกรณีที่ใช้เครื่องมือที่มีโอกาสปนเปื้อน
เลือด สารคัดหลั่งต่างๆ ที่มีโอกาสติดเชื้อ เภสัชกรหรือ
ผู้ปฏิบัติงานควรสวมถุงมือยางเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เช่น
สวมถุงมือยาง ช่วยท�ำแผลในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้
ผู้ป่วย (ดังแสดงในรูปที่ 1.23)
	 1.2.4	มีตู้เย็นเก็บเวชภัณฑ์ที่เป็นสัดส่วนเพียงพอ
และมีการควบคุมและบันทึกอุณหภูมิอย่างสม�่ำเสมอ (ดู
รายละเอียดเพิ่มเติมที่หัวข้อ 3.1.2) และไม่เก็บรวมกับสิ่ง
อื่นๆ ที่ไม่ใช่ยา เช่น การแช่อาหารที่มีกลิ่นไว้ในตู้เย็นที่มี
รูปที่ 1.23 การปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยโดยสวมใส่ถุงมือยาง
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
26 มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ
การเก็บยา (ดังแสดงในรูปที่ 1.24)
	 1.2.5	มีภาชนะบรรจุยา โดยที่
			 ก.	ยาที่มีไว้เพื่อบริการ ควรอยู่ในภาชนะ
เดิมที่มีฉลากครบถ้วนตามที่กฎหมายก�ำหนด ไม่ควรมีการ
เปลี่ยนถ่ายภาชนะ หรือถ้ามีเหตุจ�ำเป็นต้องเปลี่ยนถ่าย
ภาชนะ ก็ต้องมีข้อความและข้อมูลที่จ�ำเป็นครบถ้วนตาม
รูปตู้เย็นภายนอก รูปตู้เย็นภายใน (ยาควรบรรจุในภาชนะป้องกันความชื้น)
รูปแสดงกล่องเก็บยาที่ต้องควบคุมอุณหภูมิให้ได้ 2-8 องศา รูปเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิในตู้เย็น
รูปที่ 1.24 ตู้เย็นและภายในตู้เย็น
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
27มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ
ที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย เช่น
			 -	ไม่ควรถ่ายเทยาเม็ดจากขวดหนึ่งไปใส่ใน
ยาอีกขวด ถึงแม้ยานั้นเป็นยาที่มีเลขที่ของการผลิตเดียวกัน
เนื่องจากการเปิดใช้ไม่พร้อมกัน การน�ำยาที่เปิดใช้นาน
แล้วไปปะปนกับยาที่เพิ่งเปิดใช้ใหม่ อาจมีความเสี่ยงที่มี
ยาเสื่อมคุณภาพหากยาเม็ดเก่าตกค้างในขวดยาใหม่เป็น
เวลานาน
			 ข.	ภาชนะบรรจุยาที่เหมาะสมส�ำหรับ
การให้บริการต่อประชาชน ต้องค�ำนึงถึง ปริมาณบรรจุ
การป้องกันยาเสื่อมคุณภาพ เช่น
			 -	ใช้ซองยาสีน�้ำตาลกันแสง ส�ำหรับยาที่
เสื่อมสลายง่ายจากแสง (ดังแสดงในรูปที่ 1.25)
			 -	ใส่ซองบรรจุสารกันชื้น ในขวดยาหรือ
กระป๋องในกรณีจ่ายยาเม็ดปริมาณมากใส่ขวดยา
			 -	ไม่แกะยาออกจากแผงที่ป้องกันการเสื่อม
จากแสงหรือความชื้นลงใส่บรรจุในขวดไว้จ่าย ยกเว้น
เตรียมเพื่อความสะดวกของผู้ป่วยบางราย หรือเตรียมเป็น
Unit dose
รูปที่ 1.25 ซองยาสีชา รูปที่ 1.26	MIMS, MIMS Pharmacy, MIMs Annual, 	
	 MIMs Annual Identa
1.3	สิ่งสนับสนุนบริการ
	 1.3.1 มีแหล่งข้อมูล ต�ำรา ที่เหมาะสมในการ
ใช้อ้างอิงและเผยแพร่ ได้แก่
	 หนังสือหรือต�ำรา เช่น
	 -	 หนังสือเพื่อใช้อ้างอิงหรือค้นหาข้อมูลยา
ตลอดจนความรู้พื้นฐานเกี่ยวเภสัชวิทยา drug
interaction, adverse reaction (ดังแสดงเป็นตัวอย่าง
ในรูปที่ 1.26 ถึง 1.35)
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
28 มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ
รูปที่ 1.27 Drug Information Handbook รูปที่ 1.28 Drug Facts and Comparisons
รูปที่ 1.29 Martindale : The Extra Pharmacopoeia รูปที่ 1.30 Pharmacotherapy :	A Pathophysiologic 	
	 Approach
รูปที่ 1.31 Pharmacotherapy Handbook รูปที่ 1.32 Drug interaction facts
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
29มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ
รูปที่ 1.34	บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2551 และ
	 คู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุผลตาม
	 บัญชียาหลักแห่งชาติ
รูปที่ 1.35	หนังสือหรือคู่มือมาตรฐานแนวทางการักษาโรคพื้นฐานเบื้องต้น (common illness) เช่น ต�ำราการตรวจรักษา
	 โรคทั่วไป แนวทางเวชปฏิบัติส�ำหรับโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและหลอดเลือด
	 โรคหืด โรคผิวหนัง ฯลฯ
รูปที่ 1.33	Goodman and Gilman’s Manual of 	
	 Pharmacology and Therapeutics	
เภสัชกรสามารถหาข้อมูลผ่าน website อื่นๆ ที่รวบรวม
ข้อมูลและงานวิจัยโดยตรง เช่น
www.cochrane.org
หรือ cochrane library ที่ http://thecochranelibrary.com/
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/
www.clinicalevidence.com
www.evidence-basedmedicine.com
www.medscape.com
การหาแหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ได้แก่
	 การค้นหาข้อมูลผ่าน search engine เช่น
www.google.co.th หรือ www.yahoo.com หรือ www.
msn.com ฯลฯ โดยใส่ key word ที่ต้องการทราบ เช่น
ถ้าอยากทราบผลของยา paracetamol ที่มีต่อตับ สามารถ
พิมพ์ค�ำว่า paracetamol + liver และกด search จะ
แสดงข้อมูลทั้งหมดที่เคยมีการรายงานหรือตีพิมพ์ อย่างไรก็
ดีข้อมูลบางอย่างอาจไม่ใช่ข้อมูลเชิงวิชาการโดยตรง ดังนั้น
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
30 มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ
	 การหาข้อมูลแนวทางการรักษาต่างๆจาก National Guideline Clearinghouse
	 ได้ที่ www.guideline.gov
	 การหาความรู้ ข้อมูลเกี่ยวโรค ยาและเรื่องสุขภาพอื่นๆ เช่น
		 www.webmd.com
		 www.cdc.gov
		 www.medlineplus.gov
		 www.mercksource.com
		 www.Rxlist.com
		 www.who.int/medicines/
		 www.fda.gov
	 การหาข้อมูลจากวารสารการแพทย์ที่มีชื่อเสียง เช่น
		 วารสาร British medical Journal ที่ www.bmj.com
		 วารสาร Lancet ที่ www.TheLancet.com
		 วารสาร New England Journal of Medicine ที่ www.nejm.org
	 การหาข้อมูลจากมหาวิทยาลัย สถาบันทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียงและเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ เช่น
		 Stanford School of Medicine ที่ http://healthlibraly.stanford.edu/
Cleveland clinic ที่ http://my.clevelandclinic.org/helth/default.aspx
		 Harvard Medical school ที่ www.intelihealth.com
		 University of Maryland medical center ที่ http://www.umm.edu/
	 การหาข้อมูลผ่านการดูภาพยนตร์โดยใช้
		 www.youtube.com
		 www.healthvideo.com
			 http://www.emedtv.com/video.html
	 หรือ สามารถดูการบรรยายวิชาการได้ที่
		 www.uctv.tv
		 www.researchchannel.org
www.cecentral.com
	 หรือ กรณีใช้เพื่อสาธิตรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว (animation) เช่น
		 www.medmovie.com
		 www.nucleusinc.com
		 www.youtube.com/user/nucleusanimation
	 การหาความรู้ผ่านการเสนอผลงาน present slide ที่ www.slideworld.org
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
31มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ
1.3.2 มีฉลากช่วย เอกสารความรู้ สนับสนุนการ
บริการอย่างเหมาะสม เช่น
		 - สติ๊กเกอร์ หรือ ฉลากเสริม ที่มีข้อความ
เกี่ยวกับข้อควรระวัง ผลข้างเคียง วิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง
หรือค�ำเตือนอื่นๆ ที่มีประโยชน์ในการใช้ยา (ดังแสดงเป็น
ในรูปที่ 1.36)
รูปที่ 1.36 สติ๊กเกอร์ หรือ ฉลากเสริม
		 - แผ่นพับแนะน�ำความรู้เรื่องโรค
การรักษา การป้องกัน เป็นต้น ส�ำหรับแจกให้ผู้รับบริการ
กลับไปอ่าน เป็นการทบทวนหรือกระตุ้นให้สนใจใน
การรักษา ตลอดจนการปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง
	 แผ่นพับดังกล่าวร้านยาอาจได้มาจากหน่วย
ราชการ องค์กรฯ สถาบันการศึกษา บริษัทยาหรือร้านยา
สามารถท�ำขึ้นมาเองตามปัญหา ความส�ำคัญหรือโรคที่พบ
บ่อยในชุมชน (ดังรูป 1.37-1.38) โดยควรบรรจุเนื้อหาใน
ตัวอย่างค�ำแนะน�ำพิเศษในสติ๊กเกอร์หรือฉลากเสริมส�ำหรับกลุ่มยาต่างๆ ดูได้ในภาคผนวก
แผ่นพับที่ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย อาจมีภาพประกอบ และ
ไม่บรรจุเนื้อหาที่ยาวเกินจ�ำเป็น หรือมีศัพท์เทคนิคที่ไม่มี
ค�ำอธิบาย ตลอดจนควรมีแหล่งที่มาของข้อมูลที่บรรจุ
ไว้ในแผ่นพับ ในกรณีแผ่นพับที่ได้สนับสนุนจากบริษัท
ยา ควรตรวจสอบเนื้อหาว่าจะไม่มีส่วนที่มุ่งแต่หวังผล
การค้ามากเกินไป หรือข้อมูลที่ไม่สามารถพิสูจน์หลักฐาน
เชิงประจักษ์ได้
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
32 มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ
รูปที่ 1.37 ตัวอย่างแผ่นแนะน�ำความรู้แก่ผู้ป่วยในรูปแบบเปิดได้คล้ายปฎิทินตั้งโต๊ะ
รูปที่ 1.38 แผ่นพับที่ร้านยาสามารถท�ำขึ้นเองได้เพื่อแนะน�ำผู้ป่วย
คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
33มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ
		 -	แนะน�ำสื่ออื่นๆ ที่ช่วยแนะน�ำความรู้
การใช้ยาให้ประชาชนทางเว็บไซต์ เช่น http://www.oryor.
com/oryor/index.html จัดท�ำโดยส�ำนักงานคณะกรรมการ
อาหารและยา
รูปที่ 1.39 การใช้ยาเหน็บทวารหนัก ช่องคลอดและอื่นๆ
รูปที่ 1.40 การใช้ยาหยอดยา รูปที่ 1.41 การใช้ยาป้ายตา
		 -	รูปภาพส�ำหรับช่วยสาธิตการใช้ยา เช่น
การใช้ยาเหน็บทวารหรือช่องคลอด ยาสูด ยาพ่นจมูก ยา
หยอดตา ยาป้ายตา การฉีดอินซูลิน เป็นต้น (ดังแสดงเป็น
ในรูปที่ 1.39 ถึง 1.41)
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ
ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ
ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ Utai Sukviwatsirikul
 
การเตรียมตัวของร้านยาเพื่อรองรับกฎกระทรวง GPP
การเตรียมตัวของร้านยาเพื่อรองรับกฎกระทรวง GPPการเตรียมตัวของร้านยาเพื่อรองรับกฎกระทรวง GPP
การเตรียมตัวของร้านยาเพื่อรองรับกฎกระทรวง GPPUtai Sukviwatsirikul
 
Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.
Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.
Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.Utai Sukviwatsirikul
 
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบันยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบันUtai Sukviwatsirikul
 
เอกสารประกอบ กฎกระทรวงร้านยา Gpp
เอกสารประกอบ กฎกระทรวงร้านยา Gppเอกสารประกอบ กฎกระทรวงร้านยา Gpp
เอกสารประกอบ กฎกระทรวงร้านยา GppUtai Sukviwatsirikul
 
ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์
ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์
ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์Utai Sukviwatsirikul
 
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัยSuradet Sriangkoon
 
GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)
GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)
GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)Utai Sukviwatsirikul
 
บทที่ 3 ยาสามัญประจำบ้าน
บทที่ 3 ยาสามัญประจำบ้านบทที่ 3 ยาสามัญประจำบ้าน
บทที่ 3 ยาสามัญประจำบ้านPa'rig Prig
 
ระบบยาและงานบริบาลเภสัชกรรม
ระบบยาและงานบริบาลเภสัชกรรมระบบยาและงานบริบาลเภสัชกรรม
ระบบยาและงานบริบาลเภสัชกรรมRachanont Hiranwong
 
ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการขายยา ตาม พรบ.ยา 2510
ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการขายยา ตาม พรบ.ยา 2510ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการขายยา ตาม พรบ.ยา 2510
ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการขายยา ตาม พรบ.ยา 2510Utai Sukviwatsirikul
 
คู่มือการใช้งานระบบคลังยา
คู่มือการใช้งานระบบคลังยาคู่มือการใช้งานระบบคลังยา
คู่มือการใช้งานระบบคลังยาamy69
 
คู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉาง
คู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉางคู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉาง
คู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉางSuradet Sriangkoon
 
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุการใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุSirinoot Jantharangkul
 
คู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสตคู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสตsivapong klongpanich
 
เอกสารประกอบการสอนวิชาเภสัชบำบัด ๓ (๗๙๑๕๕๑) หัวข้อ Assessment of Adverse drug...
เอกสารประกอบการสอนวิชาเภสัชบำบัด ๓ (๗๙๑๕๕๑) หัวข้อ Assessment of Adverse drug...เอกสารประกอบการสอนวิชาเภสัชบำบัด ๓ (๗๙๑๕๕๑) หัวข้อ Assessment of Adverse drug...
เอกสารประกอบการสอนวิชาเภสัชบำบัด ๓ (๗๙๑๕๕๑) หัวข้อ Assessment of Adverse drug...Rachanont Hiranwong
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 

La actualidad más candente (20)

ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ
ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ
ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ
 
การเตรียมตัวของร้านยาเพื่อรองรับกฎกระทรวง GPP
การเตรียมตัวของร้านยาเพื่อรองรับกฎกระทรวง GPPการเตรียมตัวของร้านยาเพื่อรองรับกฎกระทรวง GPP
การเตรียมตัวของร้านยาเพื่อรองรับกฎกระทรวง GPP
 
Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.
Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.
Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.
 
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบันยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
 
เอกสารประกอบ กฎกระทรวงร้านยา Gpp
เอกสารประกอบ กฎกระทรวงร้านยา Gppเอกสารประกอบ กฎกระทรวงร้านยา Gpp
เอกสารประกอบ กฎกระทรวงร้านยา Gpp
 
ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์
ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์
ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์
 
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
 
GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)
GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)
GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)
 
บทที่ 3 ยาสามัญประจำบ้าน
บทที่ 3 ยาสามัญประจำบ้านบทที่ 3 ยาสามัญประจำบ้าน
บทที่ 3 ยาสามัญประจำบ้าน
 
Ppt. med error.2
Ppt. med error.2Ppt. med error.2
Ppt. med error.2
 
ระบบยาและงานบริบาลเภสัชกรรม
ระบบยาและงานบริบาลเภสัชกรรมระบบยาและงานบริบาลเภสัชกรรม
ระบบยาและงานบริบาลเภสัชกรรม
 
ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการขายยา ตาม พรบ.ยา 2510
ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการขายยา ตาม พรบ.ยา 2510ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการขายยา ตาม พรบ.ยา 2510
ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการขายยา ตาม พรบ.ยา 2510
 
คู่มือการใช้งานระบบคลังยา
คู่มือการใช้งานระบบคลังยาคู่มือการใช้งานระบบคลังยา
คู่มือการใช้งานระบบคลังยา
 
คู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉาง
คู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉางคู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉาง
คู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉาง
 
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุการใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
 
คู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสตคู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสต
 
เอกสารประกอบการสอนวิชาเภสัชบำบัด ๓ (๗๙๑๕๕๑) หัวข้อ Assessment of Adverse drug...
เอกสารประกอบการสอนวิชาเภสัชบำบัด ๓ (๗๙๑๕๕๑) หัวข้อ Assessment of Adverse drug...เอกสารประกอบการสอนวิชาเภสัชบำบัด ๓ (๗๙๑๕๕๑) หัวข้อ Assessment of Adverse drug...
เอกสารประกอบการสอนวิชาเภสัชบำบัด ๓ (๗๙๑๕๕๑) หัวข้อ Assessment of Adverse drug...
 
Berodual salbutamol solution
Berodual salbutamol solutionBerodual salbutamol solution
Berodual salbutamol solution
 
Case study : dengue fever
Case study : dengue feverCase study : dengue fever
Case study : dengue fever
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
 

Destacado

(ร่าง) คู่มือการตรวจ Gpp .sep 2015
(ร่าง) คู่มือการตรวจ Gpp .sep 2015(ร่าง) คู่มือการตรวจ Gpp .sep 2015
(ร่าง) คู่มือการตรวจ Gpp .sep 2015Kanon Thamcharoen
 
Presentคำแนะนำการใช้ยาเทคนิคพิเศษ (2) (1) (1) (1) (1)
Presentคำแนะนำการใช้ยาเทคนิคพิเศษ (2) (1) (1) (1) (1)Presentคำแนะนำการใช้ยาเทคนิคพิเศษ (2) (1) (1) (1) (1)
Presentคำแนะนำการใช้ยาเทคนิคพิเศษ (2) (1) (1) (1) (1)saowaluk2556
 
การทำร้านยาสู่ Gpp
การทำร้านยาสู่ Gppการทำร้านยาสู่ Gpp
การทำร้านยาสู่ GppKanon Thamcharoen
 
Drug in pregnancy and lactation present
Drug in pregnancy and lactation presentDrug in pregnancy and lactation present
Drug in pregnancy and lactation presentAuMi Pharmaza
 
ร้านยาภายใต้กฎหมายใหม่ By ภก. เชิดชัย อริยานุชิตกุล
ร้านยาภายใต้กฎหมายใหม่ By ภก. เชิดชัย อริยานุชิตกุลร้านยาภายใต้กฎหมายใหม่ By ภก. เชิดชัย อริยานุชิตกุล
ร้านยาภายใต้กฎหมายใหม่ By ภก. เชิดชัย อริยานุชิตกุลUtai Sukviwatsirikul
 
ยุทธศาสตร์การพัฒนาร้านยา พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๕ ภญ.ดร.ศิริรัตน์ ตันปิชาติ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาร้านยา พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๕ ภญ.ดร.ศิริรัตน์ ตันปิชาติยุทธศาสตร์การพัฒนาร้านยา พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๕ ภญ.ดร.ศิริรัตน์ ตันปิชาติ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาร้านยา พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๕ ภญ.ดร.ศิริรัตน์ ตันปิชาติUtai Sukviwatsirikul
 
พรบ.ยา2510
พรบ.ยา2510พรบ.ยา2510
พรบ.ยา2510plaziiz_z
 
ยาสามัญประจำบ้าน 28 ขนาน
ยาสามัญประจำบ้าน 28 ขนานยาสามัญประจำบ้าน 28 ขนาน
ยาสามัญประจำบ้าน 28 ขนานUdomsak Chundang
 
Laura_Stewart_CV_2016-1
Laura_Stewart_CV_2016-1Laura_Stewart_CV_2016-1
Laura_Stewart_CV_2016-1Laura Stewart
 
Sep11 summary diarrhea
Sep11 summary diarrheaSep11 summary diarrhea
Sep11 summary diarrheasand whale
 
Strategies enhancing english language skills by tciap
Strategies enhancing english language skills by tciapStrategies enhancing english language skills by tciap
Strategies enhancing english language skills by tciapThai Cooperate in Academic
 

Destacado (13)

(ร่าง) คู่มือการตรวจ Gpp .sep 2015
(ร่าง) คู่มือการตรวจ Gpp .sep 2015(ร่าง) คู่มือการตรวจ Gpp .sep 2015
(ร่าง) คู่มือการตรวจ Gpp .sep 2015
 
Presentคำแนะนำการใช้ยาเทคนิคพิเศษ (2) (1) (1) (1) (1)
Presentคำแนะนำการใช้ยาเทคนิคพิเศษ (2) (1) (1) (1) (1)Presentคำแนะนำการใช้ยาเทคนิคพิเศษ (2) (1) (1) (1) (1)
Presentคำแนะนำการใช้ยาเทคนิคพิเศษ (2) (1) (1) (1) (1)
 
การทำร้านยาสู่ Gpp
การทำร้านยาสู่ Gppการทำร้านยาสู่ Gpp
การทำร้านยาสู่ Gpp
 
Drug in pregnancy and lactation present
Drug in pregnancy and lactation presentDrug in pregnancy and lactation present
Drug in pregnancy and lactation present
 
ร้านยาภายใต้กฎหมายใหม่ By ภก. เชิดชัย อริยานุชิตกุล
ร้านยาภายใต้กฎหมายใหม่ By ภก. เชิดชัย อริยานุชิตกุลร้านยาภายใต้กฎหมายใหม่ By ภก. เชิดชัย อริยานุชิตกุล
ร้านยาภายใต้กฎหมายใหม่ By ภก. เชิดชัย อริยานุชิตกุล
 
ยุทธศาสตร์การพัฒนาร้านยา พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๕ ภญ.ดร.ศิริรัตน์ ตันปิชาติ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาร้านยา พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๕ ภญ.ดร.ศิริรัตน์ ตันปิชาติยุทธศาสตร์การพัฒนาร้านยา พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๕ ภญ.ดร.ศิริรัตน์ ตันปิชาติ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาร้านยา พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๕ ภญ.ดร.ศิริรัตน์ ตันปิชาติ
 
Drugstore market 21 oct 2016
Drugstore market  21 oct 2016Drugstore market  21 oct 2016
Drugstore market 21 oct 2016
 
พรบ.ยา2510
พรบ.ยา2510พรบ.ยา2510
พรบ.ยา2510
 
ยาสามัญประจำบ้าน 28 ขนาน
ยาสามัญประจำบ้าน 28 ขนานยาสามัญประจำบ้าน 28 ขนาน
ยาสามัญประจำบ้าน 28 ขนาน
 
Laura_Stewart_CV_2016-1
Laura_Stewart_CV_2016-1Laura_Stewart_CV_2016-1
Laura_Stewart_CV_2016-1
 
Daniel Hems CV
Daniel Hems CVDaniel Hems CV
Daniel Hems CV
 
Sep11 summary diarrhea
Sep11 summary diarrheaSep11 summary diarrhea
Sep11 summary diarrhea
 
Strategies enhancing english language skills by tciap
Strategies enhancing english language skills by tciapStrategies enhancing english language skills by tciap
Strategies enhancing english language skills by tciap
 

Similar a Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา

photo gpp
photo gpp photo gpp
photo gpp rxssu su
 
คู่มือ59 เล่ม1 เหมาจ่าย
คู่มือ59 เล่ม1 เหมาจ่ายคู่มือ59 เล่ม1 เหมาจ่าย
คู่มือ59 เล่ม1 เหมาจ่ายChuchai Sornchumni
 
(ร่าง) มาตรฐานการบริการทางเภสัชกรรมชุมชน (Standard of Community Pharmacy Serv...
(ร่าง) มาตรฐานการบริการทางเภสัชกรรมชุมชน (Standard of Community Pharmacy Serv...(ร่าง) มาตรฐานการบริการทางเภสัชกรรมชุมชน (Standard of Community Pharmacy Serv...
(ร่าง) มาตรฐานการบริการทางเภสัชกรรมชุมชน (Standard of Community Pharmacy Serv...Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจสุขภาพที่จําเปนและเหมาะสมสําหรับประชาชน 2559
แนวทางการตรวจสุขภาพที่จําเปนและเหมาะสมสําหรับประชาชน 2559แนวทางการตรวจสุขภาพที่จําเปนและเหมาะสมสําหรับประชาชน 2559
แนวทางการตรวจสุขภาพที่จําเปนและเหมาะสมสําหรับประชาชน 2559Utai Sukviwatsirikul
 
Presentation Consumersouth
Presentation ConsumersouthPresentation Consumersouth
Presentation Consumersouthguest78694ed
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจHerby drinks
ตัวอย่างแผนธุรกิจHerby drinksตัวอย่างแผนธุรกิจHerby drinks
ตัวอย่างแผนธุรกิจHerby drinksNattakorn Sunkdon
 
คู่มือโฆษณา อย.
คู่มือโฆษณา อย.คู่มือโฆษณา อย.
คู่มือโฆษณา อย.Utai Sukviwatsirikul
 
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขคู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขVorawut Wongumpornpinit
 
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2557แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2557Utai Sukviwatsirikul
 
การจัดการข้อมูลยา
การจัดการข้อมูลยาการจัดการข้อมูลยา
การจัดการข้อมูลยาDMS Library
 
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์Apichat kon
 
โครงการบริการงานส่งเสริมสุขภาพในร้านยา
โครงการบริการงานส่งเสริมสุขภาพในร้านยาโครงการบริการงานส่งเสริมสุขภาพในร้านยา
โครงการบริการงานส่งเสริมสุขภาพในร้านยาZiwapohn Peecharoensap
 

Similar a Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา (20)

photo gpp
photo gpp photo gpp
photo gpp
 
คู่มือ59 เล่ม1 เหมาจ่าย
คู่มือ59 เล่ม1 เหมาจ่ายคู่มือ59 เล่ม1 เหมาจ่าย
คู่มือ59 เล่ม1 เหมาจ่าย
 
(ร่าง) มาตรฐานการบริการทางเภสัชกรรมชุมชน (Standard of Community Pharmacy Serv...
(ร่าง) มาตรฐานการบริการทางเภสัชกรรมชุมชน (Standard of Community Pharmacy Serv...(ร่าง) มาตรฐานการบริการทางเภสัชกรรมชุมชน (Standard of Community Pharmacy Serv...
(ร่าง) มาตรฐานการบริการทางเภสัชกรรมชุมชน (Standard of Community Pharmacy Serv...
 
Dm 2557
Dm 2557Dm 2557
Dm 2557
 
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
 
แนวทางการตรวจสุขภาพที่จําเปนและเหมาะสมสําหรับประชาชน 2559
แนวทางการตรวจสุขภาพที่จําเปนและเหมาะสมสําหรับประชาชน 2559แนวทางการตรวจสุขภาพที่จําเปนและเหมาะสมสําหรับประชาชน 2559
แนวทางการตรวจสุขภาพที่จําเปนและเหมาะสมสําหรับประชาชน 2559
 
Presentation Consumersouth
Presentation ConsumersouthPresentation Consumersouth
Presentation Consumersouth
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจHerby drinks
ตัวอย่างแผนธุรกิจHerby drinksตัวอย่างแผนธุรกิจHerby drinks
ตัวอย่างแผนธุรกิจHerby drinks
 
การจัดการโรคDm&htใน อปท.
การจัดการโรคDm&htใน อปท.การจัดการโรคDm&htใน อปท.
การจัดการโรคDm&htใน อปท.
 
คู่มือโฆษณา อย.
คู่มือโฆษณา อย.คู่มือโฆษณา อย.
คู่มือโฆษณา อย.
 
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขคู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
 
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2557แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2557
 
Primary Health Care System_Padkao T
Primary Health Care System_Padkao TPrimary Health Care System_Padkao T
Primary Health Care System_Padkao T
 
Rational Drug Use Hospital Manual
Rational Drug Use Hospital ManualRational Drug Use Hospital Manual
Rational Drug Use Hospital Manual
 
Rdu book
Rdu bookRdu book
Rdu book
 
บท3
บท3บท3
บท3
 
การจัดการข้อมูลยา
การจัดการข้อมูลยาการจัดการข้อมูลยา
การจัดการข้อมูลยา
 
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์
 
H&f 2010
H&f 2010H&f 2010
H&f 2010
 
โครงการบริการงานส่งเสริมสุขภาพในร้านยา
โครงการบริการงานส่งเสริมสุขภาพในร้านยาโครงการบริการงานส่งเสริมสุขภาพในร้านยา
โครงการบริการงานส่งเสริมสุขภาพในร้านยา
 

Más de Utai Sukviwatsirikul

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaUtai Sukviwatsirikul
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaUtai Sukviwatsirikul
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Utai Sukviwatsirikul
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตUtai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)Utai Sukviwatsirikul
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการUtai Sukviwatsirikul
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินUtai Sukviwatsirikul
 

Más de Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 

Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา

  • 1.
  • 2. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 2 พิมพ์ครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2555 จ�ำนวนพิมพ์ 1,000 เล่ม สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ราคา 200 บาท ISBN 978-974-401-744-4 เจ้าของผู้พิมพ์ สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) อาคารเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย (ภ.ส.ท.) เลขที่ 40 ซอยสันติสุข (สุขุมวิท 38) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0 2713 5261-3 โทรสาร 0 2713 5541 ออกแบบจัดพิมพ์โดย ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด ปันชะยา ครีเอชั่น เลขที่ 72 ซอยลาดปลาเค้า 14 แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230 โทรศัพท์ 0 2940 3813, 0 2940 3981 โทรสาร 0 2940 3813, 0 2940 3981 กด 16 E-mail : panchaya_2@yahoo.com คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา Self Development Manual on Good Pharmacy Practice in Community Pharmacy Settings
  • 3. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 3 วิรัตน์ ทองรอด ภบ., MBA (Marketing), Ph.D. (Pharmacy Administration) กรรมการและเลขาธิการสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) อาจารย์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สมบัติ แก้วจินดา ภบ. อุปนายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) เภสัชกรปฏิบัติการ ร้านชุมชนเภสัชกรรม จ.ปราจีนบุรี ภิญโญ รุจิจนากุล ภบ. กรรมการสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) อาจารย์พิเศษคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เภสัชกรเจ้าของและผู้ปฏิบัติการ ร้านหนองใหญ่เภสัช จ.ขอนแก่น ชูศักดิ์ ไมตรีมิตร ภบ., ภม. (เภสัชกรรมชุมชน), ภม. กิตติมศักดิ์ (การบริการทางเภสัชกรรม) อาจารย์พิเศษและแหล่งฝึก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เภสัชกรปฏิบัติการ บจก.นครปฐมสากลฟาร์ม่า อติชาต อรุณไพโรจน์ ภบ., บธ.ม. (MBA) เภสัชกรปฏิบัติการ ร้านบ้านยาและสุขภาพ จ.นครสวรรค์ ศิริรัตน์ ตันปิชาติ ภ.บ., บธ.ม. (การบริหารการเงินและการตลาด) กรรมการสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) เภสัชกรปฏิบัติการ ร้าน เอ็ม ที ดรั๊ก กรุงเทพฯ รายนามผู้จัดท�ำ
  • 4. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 4 ทวีสิทธิ วีระวัธนชัย, ร้อยโท ภบ. (BSc in Pharm), Micro MBA กรรมการสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) กรรมการเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ประธานเครือข่ายเภสัชกรจังหวัดอุบลราชธานี เภสัชกรปฏิบัติการ ร้านคลังยา จ.อุบลราชธานี สมศักดิ์ ตรีทิพย์สถิตย์ ภบ., ศษ.บ. (เอกปฐมวัยศึกษา), บธ.ม. (กิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารธุรกิจ) กรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ที่ปรึกษาฝ่ายพัฒนาโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี เภสัชกรปฏิบัติการ ร้านสมศักดิ์เภสัช จ.อุดรธานี วัฒนา ตั้งเกียรติก�ำจาย ภบ. เภสัชกรปฏิบัติการ ร้านโนราเภสัช จ.สงขลา วิรัตน์ เมลืองนนท์ ภบ. เภสัชกรปฏิบัติการ ร้านส่งเสริมเภสัช จ.ปทุมธานี พีระพงศ์ เหลืองอิงคะสุต ภบ.(เกียรตินิยม), บธ.บ.(การจัดการทั่วไป), วท.ม. (เภสัชวิทยา) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสถานปฏิบัติการชุมชน (ร้านยา) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เจ้าของและเภสัชกรปฏิบัติการ ร้านพีระพงศ์เภสัช จ.อุดรธานี รายนามผู้จัดท�ำ
  • 5. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 5 จิรศักดิ์ โออริยกุล ภบ. กรรมการสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) รองเลขาธิการ ชมรมร้านขายยาแห่งประเทศไทย เภสัชกรปฏิบัติการ ร้านช้างม่อยเภสัช จ.เชียงใหม่ ชูศักดิ์ โชคคติวัฒน์ ภบ., วท.ม. (เภสัชศาสตร์) เภสัชกรปฏิบัติการ ร้านเภสัชกรชูศักดิ์ จ.มหาสารคาม วราวุธ เสริมสินสิริ ภบ., ภม. (การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข) เภสัชกรช�ำนาญการ กองควบคุมยา ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ทรงศักดิ์ วิมลกิตติพงศ์ ภบ., นบ. เภสัชกรช�ำนาญการ กองควบคุมยา ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กุลธิดา สุขนิวัฒน์ชัย ภบ., ภม. (เภสัชกรรมชุมชน) เภสัชกร ส�ำนักงานโครงการพัฒนาร้านยา กองควบคุมยา ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ชาญชัย ศรีมงคลปทุม ภบ. กรรมการสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) เภสัชกรปฏิบัติการ ร้านชาญชัยเภสัช กรุงเทพฯ รายนามผู้จัดท�ำ
  • 6. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 6 ค�ำน�ำ 7 บทบรรณาธิการ 8 สาสน์จากนายกสภาเภสัชกรรม 9 สาสน์จากประธานโครงการพัฒนาร้านยา 10 สาสน์จากนายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) 11 มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ 12 มาตรฐานที่ 2 การบริหารจัดการเพื่อคุณภาพ 37 มาตรฐานที่ 3 การบริการเภสัชกรรมที่ดี 51 3.1 การจัดหา การควบคุมยาและเวชภัณฑ์ 52 3.2 แนวทางการให้บริการทางเภสัชกรรม 71 มาตรฐานที่ 4 การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และจริยธรรม 141 มาตรฐานที่ 5 การให้บริการและการมีส่วนร่วมในชุมชนและสังคม 152 ภาคผนวก 160 ดัชนี 197 สารบัญ
  • 7. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 7 “ร้านยา” คือ “สถานบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่ส�ำคัญ เป็นมิตร และใกล้ชิดประชาชน” ประชาชนสามารถ เข้าถึงบริการของร้านยากว่าหมื่นแห่งที่กระจายตามชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว เปิดบริการ ตลอดทั้งวัน ไม่ต้องเดินทางไกล หรือ คอยคิวนาน ค่าใช้จ่ายก็ย่อมเยา ดังรายงานวิจัยว่า ประชาชนส่วนใหญ่ประมาณ ร้อยละ 60-80 จะเลือกใช้บริการจากร้านยาเป็นด่านแรกเมื่อเกิด การเจ็บป่วยเบื้องต้นขึ้น และมูลค่าของยาที่กระจาย ผ่านร้านยาคิดเป็นร้อยละ 45 ของการบริโภคยาทั้งประเทศ ร้านยาจึงเป็นที่พึ่งด้านสุขภาพของชุมชนที่แท้จริง ที่คอยให้ค�ำปรึกษาและแนะน�ำเรื่องการใช้ยา ผลิตภัณฑ์ สุขภาพ การดูแลตนเอง และปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ ของชุมชน พร้อมทั้งส่งต่อไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตามระดับ ความรุนแรงของโรค ทั้งนี้เพื่อ ‘สุขภาวะของประชาชน’ เป็นเป้าหมายสูงสุด ร้านยาที่เปิดให้บริการเรื่องยาและสุขภาพแก่ชุมชนทั่วประเทศ มีรูปแบบการให้บริการที่หลากหลายแตกต่าง กัน ทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ยาและสุขภาพ สถานที่ตั้ง บริการ ฯลฯ ส่งผลให้เกิดความแตกต่างหลากหลายของคุณภาพ การให้บริการ ซึ่งเป็นประเด็นส�ำคัญที่สังคมไทยให้ความสนใจและคาดหวังให้ร้านยาเป็นที่พึ่งสามารถตอบสนอง ความต้องการที่แท้จริงของประชาชนและสังคม สภาเภสัชกรรมโดยความร่วมมือกับส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) พัฒนาเกณฑ์มาตรฐานร้านยาขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการยกระดับคุณภาพการบริการของร้านยาให้มี มาตรฐานระดับสากลตามหลักวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรม (GPP-Good Pharmacy Practices) และเป็นที่ยอมรับ ของแวดวงวิชาการ วิชาชีพ และสังคม ดังนั้น เพื่อให้เกณฑ์มาตรฐานร้านยาได้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพบริการทางเภสัชกรรมอย่างเป็น รูปธรรม สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของประชาชน ส�ำนักงานโครงการพัฒนาร้านยา ส�ำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) สมาพันธ์พัฒนาคุณภาพร้านยา และสถาบัน การศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ จึงร่วมมือกันพัฒนา “คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมใน ร้านยา” นี้ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือที่ส�ำคัญของผู้ประกอบการและเภสัชกรชุมชนได้เข้าใจและร่วมกันพัฒนาคุณภาพ บริการของร้านยาด้วยตนเองตามแนวทางวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมชุมชนอย่างแท้จริง บนพื้นฐานบริบทของ ประเทศไทย ในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจ เน้นให้สามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง มีค�ำอธิบาย พร้อมทั้งยกตัวอย่าง รูปภาพ แผนภูมิ แบบฟอร์มต่างๆ ประกอบอย่างชัดเจน คณะผู้จัดท�ำหวังว่า “คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมชุมชนในร้านยา” นี้ จะเป็น ประโยชน์ต่อการพัฒนายกระดับงานเภสัชกรรมชุมชนหรือบริการสุขภาพของร้านยาให้มีคุณภาพการให้บริการที่ดี ยิ่งขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพที่แท้จริงของประชาชน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัย ด้านการใช้ยา และส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันเชิงธุรกิจ จนเป็นสถานบริการสุขภาพปฐมภูมิที่ได้รับการยอมรับ ของประชาชนในชุมชน และส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพไทยที่ยั่งยืนตลอดไป คณะผู้จัดท�ำคู่มือ ค�ำน�ำ
  • 8. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 8 หนังสือ “คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา” จัดท�ำขึ้น ด้วยจุด มุ่งหมายเพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ประกอบการร้านยาและเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานได้น�ำไปศึกษาและ ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อร้านยา ช่วยพัฒนายกระดับบริการของร้านยาให้คุณภาพดียิ่งขึ้น ก่อให้ เกิดประสิทธิภาพในการใช้ยาอย่างคุ้มค่า ปลอดภัย ประหยัด และสมเหตุผล ตามความต้องการที่แท้จริง ของผู้รับบริการ เพื่อบรรลุถึง ‘สุขภาวะ’ ของประชาชน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดร่วมกันของสังคมไทย เมื่อผู้รับบริการได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพจากร้านยาแล้ว ย่อมจะมีความรู้สึกประทับใจและเกิด ความพึงพอใจต่อร้านยา และพัฒนาต่อเป็นความไว้เนื้อเชื่อใจ และความจงรักภักดีในที่สุด ผลตอบแทน ก็จะไหลกลับคืนสู่ร้านยา ‘ดั่งน�้ำซึมบ่อทราย’ ไม่ว่า จะเป็นการยอมรับนับถือ ชื่อเสียง การแนะน�ำ และการบอกต่อแบบปากต่อปากของคนในชุมชน ส่งผลถึงรายรับและผลประกอบการของกิจการให้ เจริญรุ่งเรือง เป็นที่นับถือของชุมชน พร้อมกับความมั่งคั่งของทรัพย์สิน อันเป็นพื้นฐานที่มั่นคงของ กิจการ “ร้านยาในฝัน” หนังสือคู่มือเล่มนี้เป็นเหมือนส่วนขยายต่อยอดของ “มาตรฐานร้านยา” ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ขยาย ความเพิ่มความชัดเจนของแต่ละมาตรฐานให้สามารถน�ำไปปฏิบัติได้จริง ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ มาตรฐานร้านยา ค�ำอธิบาย และตัวอย่างประกอบ (พร้อมรูปหรือแบบฟอร์ม-ถ้ามี) ผู้อ่านจึง สามารถศึกษาท�ำความเข้าใจได้ด้วยตนเอง และสามารถน�ำไปประยุกต์ต่อยอดสวมมงกุฎให้กับกิจการ ของตนได้อย่างสง่างามแท้จริง คณะท�ำงานประกอบด้วยผู้พัฒนามาตรฐานร้านยา ผู้เยี่ยมส�ำรวจร้านยา เภสัชกรชุมชนเจ้าของ ร้านยาคุณภาพ และเภสัชกรรุ่นใหม่ เป็นตัวแทนของทุกภาคส่วนมีมุมมองที่หลากหลายมิติ ร่วมกัน ท�ำงานเป็นทีม ทุ่มเทมุ่งมั่น ค้นคว้ารวบรวมความรู้ ประสบการณ์ และทักษะที่ส�ำคัญถ่ายทอดลงเป็น ตัวอักษรที่อ่านได้ง่าย ดังปรากฏในหนังสือเล่มนี้ กว่า 200 หน้า ด้วยความมุ่งหวังให้คู่มือเล่มนี้ได้เป็น เสมือน “เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ร้านยา” เป็นต�ำราคู่ใจข้างกายเภสัชกรชุมชนไทย สุดท้ายนี้ขอขอบคุณคณะท�ำงานที่ได้ทุ่มเทบากบั่นมุ่งมั่น ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและ ยาที่สนับสนุนด้านงบประมาณและความคิดสร้างสรรค์ที่ดี สมาคมเภสัชกรรมชุมชนที่ให้การสนับสนุน อย่างเต็มก�ำลัง และสภาเภสัชกรรมที่ได้สร้างสรรค์มาตรฐานร้านยาและร้านยาคุณภาพ และผู้ที่เกี่ยวข้อ งอื่นๆ อีกเป็นจ�ำนวนมากที่ให้การสนับสนุนการจัดท�ำหนังสือ “คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฏิบัติ ที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา” จนส�ำเร็จเป็นที่เรียบร้อย ภก.ดร.วิรัตน์ ทองรอด บรรณาธิการ บทบรรณาธิการ
  • 9. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 9 ในอดีตที่ผ่านมา เภสัชกรที่มีหน้าที่ปฏิบัติการในร้านยาจะมีการปฏิบัติที่หลากหลาย เพราะยัง ไม่มีเกณฑ์มาตรฐานที่ก�ำหนดแนวทางให้มีการปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2546 เริ่มมี การก�ำหนดมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมชุมชน และมีมาตรฐานร้านยา ท�ำให้เกิดการตื่นตัวและมี พัฒนาการเกิดขึ้นมากในการด�ำเนินการและการปฏิบัติวิชาชีพของเภสัชกรในร้านยา มีร้านยาจ�ำนวน หนึ่งที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากสภาเภสัชกรรมเป็น “ร้านยาคุณภาพ” ขณะเดียวกันทางส�ำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยาได้ช่วยกระตุ้นร้านยาต่างๆ ให้มีการพัฒนาเข้าสู่มาตรฐานให้มากขึ้นและ ช่วยสนับสนุนให้มีการเขียนคู่มือวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรม (Good Pharmacy Practices-GPP) ซึ่ง เป็นเสมือนการอธิบายเพิ่มเติมมาตรฐานร้านยาพร้อมทั้งมีการยกตัวอย่างประกอบให้เห็นเป็นรูปธรรม ง่ายต่อการท�ำความเข้าใจและปฏิบัติ เพื่อให้เภสัชกรที่เป็นเจ้าของกิจการและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการใน ร้านยาสามารถพัฒนาได้ด้วยตนเอง ช่วยให้เกิดการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกันพร้อมๆ กันได้ โดยมี เป้าหมายเพื่อเปลี่ยนร้านยาเป็นสถานประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม การผลักดันร้านยาจากสถานที่ขายยาเป็นสถานประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมนั้น เป็นนโยบายหนึ่ง ของสภาเภสัชกรรมในวาระที่ 6 นี้ และมีนโยบายที่จะสนับสนุนและผลักดันให้ร้านยามีบทบาทส�ำคัญ ในการให้บริการร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การสื่อสารท�ำความเข้าใจกับเภสัชกรที่มีหน้า ที่ปฏิบัติการในร้านยาเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สภาเภสัชกรรมให้ความส�ำคัญ เริ่มจากการที่สภาเภสัชกรรมได้ จัดหลักสูตรอบรม (1 วัน) เพื่อสื่อสารกับเภสัชกรที่เป็นเจ้าของกิจการหรือมีหน้าที่ปฏิบัติการในร้านยา ที่จะเปิดใหม่ ให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมชุมชนและวิธีปฏิบัติ ที่ดีทางเภสัชกรรม กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนความรับผิดชอบของเภสัชกรชุมชนต่อสังคม ซึ่งจะท�ำให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อวิชาชีพโดยรวม ทั้งนี้เนื่องจากร้านยาเป็นด่านแรกที่ประชาชนเข้ารับ บริการ เป็นที่พึ่งของประชาชนในพื้นที่ที่ห่างไกลจากสถานพยาบาล อีกทั้งเป็นการเตรียมร้านยาและ เภสัชกรที่มีหน้าที่ปฏิบัติการให้พร้อมรับกฎกระทรวงที่จะประกาศให้มีวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมใน ร้านยาในเร็ววันนี้ เภสัชกรเป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ด้านยาโดยตรง หากมีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิธีปฏิบัติที่ดีทาง เภสัชกรรมแล้ว สามารถที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาให้ถูกต้องได้ ช่วยป้องกัน ปัญหาการใช้ยาซ�้ำซ้อน ช่วยลดปัญหาการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่ป้องกันได้ ลดปัญหาการจัดเก็บยา ผิด ฯลฯ ซึ่งนอกจากจะช่วยเหลือผู้ป่วยโดยตรงแล้ว ยังช่วยประเทศชาติในการประหยัดงบประมาณ เรื่องยาในภาพรวมได้อีกด้วย เหนืออื่นใดคือการยกระดับการให้บริการในร้านยาที่สังคมส่วนใหญ่มัก มองว่าเป็นการประกอบธุรกิจขายยา ให้เกิดมุมมองว่าเป็นการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ไม่มีใครจะ ช่วยเหลือให้สังคมเกิดภาพพจน์ใหม่นี้ได้ นอกจากพวกเราเภสัชกรเองเท่านั้น เภสัชกรหญิง รองศาสตราจารย์ ธิดา นิงสานนท์ นายกสภาเภสัชกรรม มีนาคม 2553 สาสน์จากนายกสภาเภสัชกรรม
  • 10. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 10 วิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรม (Good Pharmacy Practice : GPP) นั้น เป็นหลักการที่ได้รับ การยอมรับในระดับสากลว่าเป็น ปฏิบัติการทางวิชาชีพ(Professional-based Practice) ที่ร้านยาพึง น�ำไปปฏิบัติเพื่อประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดแก่ผู้รับบริการ ส�ำหรับประเทศไทยนั้น ได้เริ่มเอาแนวคิดของ GPP มาใช้ด้วยการก�ำหนด “มาตรฐานร้านยาคุณภาพ” โดยสภาเภสัชกรรมขึ้น จนอาจกล่าวได้ว่า เป็น “ต้นร่าง” ในการพัฒนา GPP ขึ้นมาใช้ในวงการร้านยาของประเทศไทยนั่นเอง ตลอดช่วงกว่า 6 ปีของการด�ำเนินการขับเคลื่อนโครงการ “ร้านยาคุณภาพ” โดยใช้ “มาตรฐาน ร้านยาคุณภาพ” เป็นเป้าหมายของการพัฒนานั้น ส�ำนักงานโครงการพัฒนาร้านยาซึ่งเป็นหน่วยงาน ภายใต้กองควบคุมยา ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตระหนักว่า ในการให้บริการ ทางเภสัชกรรมของเภสัชกรชุมชนในปัจจุบัน มีรูปแบบและวิธีการให้บริการที่ดีอยู่บ้างแล้ว แต่ยังขาด การรวบรวม จัดเก็บองค์ความรู้เหล่านั้น เพื่อประโยชน์ในการถ่ายทอดและต่อยอดให้เกิดความสมบูรณ์ ยิ่งขึ้น ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงได้สนับสนุนงบประมาณแก่ สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) ในการรวบรวมประสบการณ์การให้บริการทางเภสัชกรรมในร้านยาขึ้น โดยยึดมาตรฐาน ร้านยาคุณภาพและหลักการของ GPP เป็นพื้นฐานในการรวบรวม จนได้เป็นเอกสารฉบับนี้ โดยคาด หวังหนังสือดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือส�ำคัญส�ำหรับเภสัชกรชุมชนที่ประสงค์จะยกระดับคุณภาพการ ให้บริการใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา อีกทั้งยังหวังว่าหนังสือดังกล่าวจะเป็นจุดเริ่มต้นในการแลก เปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนา GPP ให้มีความชัดเจน เหมาะสมกับบริบทของประเทศ และน�ำไปสู่ การถ่ายทอด ขัดเกลา ความเป็นวิชาชีพแก่เภสัชกรชุมชนในรุ่นต่อๆ ไป เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ในการ พัฒนาร้านยาที่ ว่า “ร้านยาในประเทศไทยเป็นสถานให้การบริบาลทางเภสัชกรรมตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการ ให้บริการด้านยา และผ่านเกณฑ์มาตรฐาน “ร้านยาคุณภาพ” โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการใช้ยาอย่างสม เหตุสมผลมีประสิทธิภาพและปลอดภัย” เภสัชกร วิศิษฏ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ประธานโครงการพัฒนาร้านยา ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สาสน์จากประธานโครงการพัฒนาร้านยา
  • 11. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 11 ระบบสุขภาพของประเทศไทย ก�ำลังพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพและ สร้างสุขภาวะที่ดีของประชาชน แต่ก็ยังไม่สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากข้อจ�ำกัดหลาย ประการ ประชาชนส่วนใหญ่ยังใช้บริการร้านยาเป็นด่านแรกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งนับวันก็เป็นปัญหาที่ซับซ้อนและใหญ่มากขึ้น ในฐานะที่เภสัชกรชุมชนจะต้องเป็นผู้ให้บริการหลักในร้านยา ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพที่ถูกต้อง ตามกฎหมาย เภสัชกรมีหน้าที่ต้องพัฒนาตนเองให้สอดรับกับสถานการณ์และสามารถแก้ไขปัญหารวม ทั้งหาแนวทางป้องกันให้กับผู้รับบริการจนสัมฤทธิ์ผล เพื่อให้เภสัชกรและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถพัฒนาโดยตนเอง สมาคมเภสัชกรรมชุมชน(ประเทศไทย) จึงได้จัดท�ำหนังสือคู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา หรือ Self Development Manual on Good Pharmacy Practice in Community Pharmacy Settings เล่มนี้ขึ้น ซึ่งเล่มนี้เป็นการพิมพ์ครั้งที่ 2 หลังจากเล่มแรกที่ได้หมดไปอย่างรวดเร็ว และมีการทบทวน เนื้อหา พร้อมทั้งแทรกบทบาทใหม่ๆที่เกิดขึ้น รวมทั้งการท�ำงานร่วมกับสหวิชาชีพ เพื่อใช้เป็นเครื่อง มือส�ำคัญในการพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ของเภสัชกรที่ร้านยาในการให้ค�ำปรึกษาและดูแลผู้ป่วยให้มีการ ได้รับยาที่ถูกต้องเหมาะสม สมาคมเภสัชกรรมชุมชน(ประเทศไทย) ขอขอบพระคุณส�ำนักยา ภายใต้คณะกรรมการ อาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขที่ได้กรุณาให้การสนับสนุนการจัดพิมพ์ครั้งแรก และหวังเป็น อย่างยิ่งว่าในการจัดพิมพ์ครั้งนี้จะยังประโยชน์ให้ผู้ด�ำเนินการร้านยา เภสัชกรตลอดจนผู้เกี่ยวข้องได้ มีความรู้ความเข้าใจบทบาทบริการต่างๆในร้านยา สามารถพัฒนาตนเองและกิจการให้เป็นที่พึ่งแรก ด้านสุขภาพของประชาชน เภสัชกรหญิงช้องมาศ นิติศฤงคาริน นายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) สาสน์จากนายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
  • 12. 12
  • 13. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 13มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ มาตรฐานร้านยา มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ ความมุ่งหมายของมาตรฐานนี้เพื่อให้มีองค์ประกอบทางกายภาพที่เหมาะสมและสนับสนุนให้เกิดการบริการที่มี คุณภาพ โดยมีการจัดแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนที่เพียงพอและเหมาะสมส�ำหรับการให้บริการ แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัด ระหว่างพื้นที่ที่ต้องปฏิบัติการโดยเภสัชกร และพื้นที่บริการอื่นๆ มีการจัดหมวดหมู่ของยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และ การเก็บรักษาที่เอื้อต่อการรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนต้องจัดหาอุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนการให้บริการที่ดี แก่ประชาชน โดยมีรายละเอียดของมาตรฐานดังนี้ 1.1 สถานที่ 1.1.1 ต้องเป็นสถานที่มั่นคง แข็งแรง มีพื้นที่เพียงพอแก่การประกอบกิจกรรม มีอาณาบริเวณแยกจากสถาน ที่แวดล้อมเป็นสัดส่วน 1.1.2 มีความสะอาด มีแสงสว่างเหมาะสม อากาศถ่ายเท รวมถึงมีระบบหรืออุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย 1.1.3 มีการจัดการควบคุมสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ 1.1.4 มีบริเวณที่จัดวางยาที่ต้องปฏิบัติการโดยเภสัชกรเท่านั้นและเป็นที่รับรู้ของผู้รับบริการอย่างชัดเจน 1.1.5 มีบริเวณให้ค�ำแนะน�ำปรึกษาที่เป็นสัดส่วน 1.1.6 มีบริเวณแสดงสื่อให้ความรู้เรื่องสุขภาพ ในกรณีจัดวางเอกสารหรือติดตั้งสื่อที่มุ่งการโฆษณาให้มีพื้นที่ จัดแยกโดยเฉพาะ 1.1.7 มีป้ายสัญญลักษณ์ต่างๆ ดังนี้ ก. ป้ายแสดงว่าเป็น “ร้านยา” ข. ป้ายแสดงชื่อ รูปถ่าย เลขที่ใบประกอบวิชาชีพ และเวลาปฏิบัติการของเภสัชกรที่ก�ำลังปฏิบัติหน้าที่ ไว้ในที่เปิดเผย ค. ป้ายสัญลักษณ์ที่เป็นไปตามข้อก�ำหนดของใบอนุญาตและประเภทของยา ง. ป้าย “จุดบริการโดยเภสัชกร” แสดงบริเวณที่ปฏิบัติงานโดยเภสัชกร และกิจกรรมอื่นๆ ตาม ความ เหมาะสม เช่น “รับใบสั่งยา” “ให้ค�ำแนะน�ำปรึกษาโดยเภสัชกร” มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ
  • 14. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 14 มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ 1.1 สถานที่ 1.1.1 - ต้องเป็นสถานที่มั่นคง แข็งแรง เพื่อป้องกัน อันตรายที่อาจขึ้นกับผู้รับบริการ ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้สัญจร ผ่าน ยกตัวอย่างเช่น โครงสร้างของอาคารที่ไม่แข็งแรง อาจพังทลายเนื่องจากภัยธรรมชาติ รวมถึงส่วนเชื่อมต่อ อาคาร ได้แก่ หลังคากันสาด ป้ายต่างๆ ควรตรวจสอบว่า มั่นคงเพียงพอต่อสภาพอากาศ หากพบว่ามีการช�ำรุดควร รีบท�ำการซ่อมแซมแก้ไข - มีพื้นที่เพียงพอแก่การประกอบกิจกรรม (โดย ตามร่างกฏกระทรวงใหม่ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และ ค�ำอธิบายพร้อมตัวอย่าง ความมุ่งหมายของมาตรฐานนี้เพื่อให้มีองค์ประกอบ ทางกายภาพที่เหมาะสมและสนับสนุนให้เกิดการบริการที่มี คุณภาพ โดยมีการจัดแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนที่เพียงพอและ เหมาะสมส�ำหรับการให้บริการ แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัด ระหว่างพื้นที่ที่ต้องปฏิบัติการโดยเภสัชกร และพื้นที่บริการ อื่นๆ มีการจัดหมวดหมู่ของยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการ เก็บรักษาที่เอื้อต่อการรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ตลอด จนต้องจัดหาอุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนการให้บริการที่ดีแก่ ประชาชน โดยมีรายละเอียดของมาตรฐานดังนี้ มาตรฐานร้านยา 1.2 อุปกรณ์ 1.2.1 มีอุปกรณ์ในการให้บริการสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์ในการติดตามผลการใช้ยา เช่น - เครื่องชั่งน�้ำหนัก - ที่วัดส่วนสูง - ที่วัดอุณหภูมิร่างกาย - เครื่องวัดความดันโลหิต - ชุดวัดระดับน�้ำตาลในเลือด ฯลฯ 1.2.2 มีอุปกรณ์นับเม็ดยา จ�ำแนกตามกลุ่มยาที่จ�ำเป็นในการให้บริการ เช่น ยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนนิซิลิน ยาซัลโฟนาไมด์ ฯลฯ 1.2.3 มีอุปกรณ์เครื่องใช้ในการให้บริการที่สะอาด และไม่เกิดการปนเปื้อนในระหว่างการให้บริการ 1.2.4 มีตู้เย็นเก็บเวชภัณฑ์ที่เป็นสัดส่วนเพียงพอและมีการควบคุมและบันทึกอุณหภูมิอย่างสม�่ำเสมอ 1.2.5 มีภาชนะบรรจุยา โดยที่ ก. ยาที่มีไว้เพื่อบริการ ควรอยู่ในภาชนะเดิมที่มีฉลากครบถ้วนตามที่กฎหมายก�ำหนด ไม่ควรมี การเปลี่ยนถ่ายภาชนะ ข. ภาชนะบรรจุยาที่เหมาะสมส�ำหรับการให้บริการต่อประชาชน ต้องค�ำนึงถึง ปริมาณบรรจุ การป้องกันยาเสื่อมคุณภาพ เป็นต้น 1.3 สิ่งสนับสนุนบริการ 1.3.1 มีแหล่งข้อมูล ต�ำรา ที่เหมาะสมในการใช้อ้างอิงและเผยแพร่ 1.3.2 มีฉลากช่วย เอกสารความรู้ สนับสนุนการบริการอย่างเหมาะสม 1.3.3 มีอุปกรณ์พิเศษที่ช่วยเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยา (ในกรณีจ�ำเป็น)
  • 15. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 15มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ เงื่อนไขการขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุ ใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต เกี่ยวกับการ ขายยาแผนปัจจุบัน ขนาดต้องไม่น้อยกว่า 8 ตาราง เมตร) มีอาณาบริเวณแยกจากสถานที่แวดล้อมเป็นสัดส่วน สามารถให้ผู้รับบริการรับทราบได้อย่างชัดเจนถึงอาณา บริเวณที่เป็นร้านยา 1.1.2 - มีความสะอาด และถูกสุขอนามัย ควร ท�ำความสะอาดอย่างสม�่ำเสมอ ป้องกันไม่ให้มีการ สะสมของฝุ่น สิ่งสกปรกอื่นๆ เช่น หยากไย เศษแมลง ขี้แมลง คราบสกปรกอาจท�ำความสะอาดด้วยน�้ำยาฆ่า เชื้อโรค - มีแสงสว่างเหมาะสมให้เพียงพอต่อการปฏิบัติ งาน ป้องกันการผิดพลาดในการท�ำงานเนื่องจากมีแสง สว่างไม่เพียงพอ - มีอากาศถ่ายเท หรือหาอุปกรณ์เพื่อช่วยระบาย อากาศ เช่น พัดลมระบายอากาศ หากภายในร้านมีกลิ่น อับ หรือกลิ่นไม่พึ่งประสงค์ย่อมส่งผลต่อบรรยากาศในการ ปฏิบัติงาน ตลอดจนอารมณ์ของผู้รับบริการ - ควรมีระบบหรืออุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย ได้แก่ ถังดับเพลิงตามความเหมาะสมของพื้นที่ร้าน (ดังแสดง ในรูปที่ 1.1) หัวฉีดน�้ำอัตโนมัติส�ำหรับอาคารส�ำนักงาน เนื่องจากเวชภัณฑ์บางอย่างสามารถติดไฟได้ง่าย การมี อุปกรณ์ช่วยดับเพลิงจะบรรเทาความเสียหายจากอุบัติเหตุ เนื่องจากไฟไหม้ ทั้งนี้ควรตรวจอุปกรณ์ดังกล่าวอย่าง สม�่ำเสมอให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ 1.1.3 มีการจัดการควบคุมสภาวะแวดล้อมที่ เหมาะสมต่อการรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ ได้แก่ - การป้องกันแสงส่องกระทบต่อบริเวณที่เก็บ ยาโดยตรง เช่น ใช้ผ้ายางกันแดด ผ้าม่านหรือใช้วัสดุ กันแสงอื่นๆ - การป้องกันผลกระทบต่ออุณหภูมิที่ร้อนจัด เช่น การใช้พัดลมระบายอากาศ การติดฉนวนกันความร้อน การติดเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ควรน�ำยาที่เสื่อมสภาพ ได้ง่ายจากอุณหภูมิสูงไปเก็บที่ควบคุมอุณหภูมิได้ เช่น ตู้เย็น ห้องควบคุมอุณหภูมิ เป็นต้น 1.1.4 มีบริเวณที่จัดวางยาที่ต้องปฏิบัติการโดย เภสัชกรเท่านั้น และเป็นที่รับรู้ของผู้รับบริการอย่างชัดเจน โดยแสดงป้ายสัญลักษณ์บอก ณ บริเวณดังกล่าว (ดังแสดง ในรูปที่ 1.2) เช่น “จุดให้บริการโดยเภสัชกร” เป็นต้น และ จัดเรียงยาที่ต้องจ่ายเภสัชกรเท่านั้น เช่น ยาอันตราย ยา ควบคุมพิเศษ ยาเสพติด ฯลฯ ทั้งนี้เป็นการป้องกันไม่ให้ ผู้รับบริการมาเลือกซื้อยาดังกล่าวได้ด้วยตนเอง เป็นการ ป้องกันความเสี่ยงต่อการน�ำยาไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง รูปที่ 1.1 ถังดับเพลิงตามความเหมาะสม ของพื้นที่ร้าน รูปที่ 1.2 ป้ายแสดง “จุดรับบริการโดยเภสัชกร” และบริเวณที่จัดวางยา บริการโดยเภสัชกรเท่านั้น
  • 16. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 16 มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ ในทางปฏิบัติเภสัชกรจะสอบถาม และระบุความต้องการที่แท้จริงก่อน จึงสามารถจ่ายยาดังกล่าวได้ตามความ เหมาะสมหรือเงื่อนไขของกฎหมาย ใน กรณีเภสัชกรไม่อยู่เนื่องจากเหตุจ�ำเป็น ฉุกเฉินใดๆ สามารถงดให้บริการยาใน บริเวณหวงห้ามนี้แก่ลูกค้า (ดังแสดงใน รูปที่ 1.3) แต่ยังสามารถให้บริการยา สามัญประจ�ำบ้านที่ผู้รับบริการเลือกซื้อ ยาดังกล่าวได้ด้วยตนเอง 1.1.5 มีบริเวณให้ค�ำแนะน�ำ ปรึกษาที่เป็นสัดส่วน • สามารถจัดท�ำเป็นห้อง ให้ค�ำปรึกษาโดยเฉพาะ (ดังแสดงใน รูปที่ 1.4) หรือจัดบริเวณพื้นที่ในร้าน บางส่วนให้มีขนาดเหมาะสม โดยมี โต๊ะส�ำหรับท�ำกิจกรรมให้ค�ำปรึกษา มี เก้าอี้ให้ผู้รับบริการนั่งพัก (ดังแสดงใน รูปที่ 1.5) หรือมีฉากกั้นเป็นอาณาบริเวณ ให้ค�ำปรึกษา ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับการไว้วางใจ เกิดความเป็นส่วนตัวที่จะเก็บรักษาความ ลับของลูกค้า ตลอดจนป้องกันไม่ให้ลูก ค้าอื่นๆมาสอดแทรกการให้ค�ำปรึกษา นอกจากนี้ควรป้องกันเสียงรบกวนที่ส่งผล กระทบระหว่างการปฏิบัติงานให้ค�ำปรึกษา (ดังแสดงในรูปที่ 1.6) รูปที่ 1.4 ตัวอย่างห้องให้ค�ำปรึกษาโดยเภสัชกร รูปที่ 1.3 รูปแสดงป้ายการบอกให้ผู้รับบริการรับรู้กรณีเภสัชกรไม่อยู่
  • 17. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 17มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ รูปที่ 1.6 ด้านนอกบริเวณพื้นที่ให้ค�ำปรึกษามีเก้าอี้ให้ผู้รับบริการรายอื่นได้นั่งพักระหว่างรอเภสัชกร รูปที่ 1.5 บริเวณให้ค�ำปรึกษาโดยเภสัชกร โดยดัดแปลงพื้นที่บางส่วนในร้านให้เป็นสัดส่วน โดยมีฉากกั้น เพื่อความสะดวก และความเป็นส่วนตัว อีกทั้งมีจอคอมพิวเตอร์ ช่วยในการให้ความรู้แก่ผู้รับบริการ
  • 18. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 18 มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ 1.1.6 มีบริเวณแสดงสื่อให้ ความรู้เรื่องสุขภาพ โดยไม่มุ่งการโฆษณา ได้แก่ แผ่นพับ แผ่นปลิว โปสเตอร์ จัดบอร์ดความรู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่ เหมาะสมในแต่ละโอกาส พร้อม รายละเอียด เช่น สาเหตุ อาการ การรักษา และการป้องกัน เป็นต้น (ดังแสดงใน รูปที่ 1.7 ถึง 1.9) ในกรณีจัดวาง เอกสารหรือติดตั้งสื่อที่มุ่งการโฆษณาให้ มีพื้นที่จัดแยกโดยเฉพาะและไม่ควรมา จัดไว้ในบริเวณที่ปฏิบัติงานโดยเภสัชกร (professional service area) รวมถึง การไม่ติดสติ๊กเกอร์หรือป้ายโฆษณายา บริเวณตู้ยาหรือชั้นวางยาที่ต้องปฏิบัติ การโดยเภสัชกรเท่านั้น รูปที่ 1.7 ตัวอย่างแผ่นพับแนะน�ำความรู้สุขภาพส�ำหรับแจกให้ผู้รับบริการ รูปที่ 1.8 ตัวอย่างการจัดบอร์ดให้ความรู้การดูแลตนเองและป้องกันโรค
  • 19. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 19มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ รูปที่ 1.9 ตัวอย่างรูป จัดบอร์ดรณรงค์การใช้ยาปฏิชีวนะให้เหมาะสม 1.1.7 มีป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ ดังนี้ ก. ป้ายแสดงว่าเป็น “ร้านยา” มีขนาดที่เห็นได้เด่นชัด (ดังแสดงในรูปที่ 1.10) รูปที่ 1.10 รูปป้ายแสดงอย่างชัดเจนว่าเป็นร้านยา
  • 20. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 20 มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ - ป้ายแสดงว่าเป็นร้านยา เช่น “ขายยา” “ร้าน ขายยา” “จ�ำหน่ายยา-เวชภัณฑ์-อาหารเสริมสุขภาพ” - หลีกเลี่ยงป้ายที่อาจให้เกิดความสับสนว่าเป็น ร้านยาหรือไม่ เช่น “จ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์“ “คลินิกเวชภัณฑ์” - หลีกเลี่ยงป้ายที่เชิญชวนให้เชื่อหรือไม่จริง เช่น “ขายยาถูกที่สุด” “ขายยา........เห็นผลภายใน 7 วัน” หรือ “ขายยาโดยเภสัชกรตลอดวัน” ทั้งๆ ที่ร้านมีเภสัชกร เป็นบางเวลา ข. มีป้ายแสดงชื่อ รูปถ่ายที่ควรเป็นปัจจุบัน เลขที่ ใบประกอบวิชาชีพ และเวลาปฏิบัติการของเภสัชกรที่ก�ำลัง ปฏิบัติหน้าที่ไว้ในที่เปิดเผย และแสดงให้ลูกค้าทราบโดย เด่นชัดว่าขณะนี้มีเภสัชกรที่แสดงไว้ที่ป้ายว่าก�ำลังปฎิบัติ งานอยู่ หรือ ไม่อยู่ปฎิบัติงาน หากร้านที่มีเภสัชกรหลาย คนหมุนเวียนมาปฏิบัติงาน ควรแสดงให้ชัดเจนว่าเภสัชกร ผู้ปฏิบัติงานในขณะนั้น คือใคร ดังแสดงในรูปที่ 1.11 ถึง 1.12 รูปที่ 1.11 ป้ายแสดงชื่อ รูปถ่ายที่ควรเป็นปัจจุบัน เลขที่ใบประกอบวิชาชีพ และเวลาปฏิบัติการ ของเภสัชกรที่ก�ำลังปฏิบัติหน้าที่ไว้ในที่เปิดเผย รูปที่ 1.12 ป้ายแสดงเภสัชกรที่ก�ำลังปฏิบัติงาน
  • 21. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 21มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ ค. ป้ายสัญลักษณ์ที่เป็นไปตามข้อก�ำหนดของใบ อนุญาตและประเภทของยาส�ำหรับร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ตามร่างกฎกระทรวงใหม่) ได้แก่ (๑) จัดท�ำป้ายด้วยวัตถุถาวรสีน�้ำเงิน ขนาดกว้าง และยาวไม่น้อยกว่า ๒๐ x ๗๐ เซนติเมตร และมีข้อความ เป็นตัวอักษรไทยสีขาว สูงไม่น้อยกว่า ๓ เซนติเมตร แสดง ว่าเป็นสถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน หรือสถานที่ขายส่งยา แผนปัจจุบัน (ดังแสดงในรูปที่ 1.13) (๒) จัดท�ำป้ายด้วยวัตถุถาวรสีน�้ำเงิน สีเขียว หรือ สีแดง ตามประเภทสถานที่ขายยา ขนาดกว้างและยาว ไม่น้อยกว่า ๒๐ x ๕๐ เซนติเมตร และมีข้อความเป็น ตัวอักษรไทยสีขาว สูงไม่น้อยกว่า ๓ เซนติเมตร แสดง ชื่อตัว ชื่อสกุล และวิทยฐานะของผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ (ดังแสดงในรูปที่ 1.14) รูปที่ 1.13 ป้ายแสดงสถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน รูปที่ 1.14 ป้ายแสดงตัวของผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ
  • 22. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 22 มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ (๓) จัดท�ำป้ายด้วยวัตถุถาวรสีน�้ำเงิน สีเขียว หรือ สีแดง ตามประเภทสถานที่ขายยา แสดงชื่อตัว ชื่อสกุล และวิทยฐานะของผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ เลขที่ใบประกอบ วิชาชีพหรือใบประกอบโรคศิลปะ รูปถ่ายผู้มีหน้าที่ปฏิบัติ การหน้าเต็ม รูปสี ไม่เกินห้าปี ขนาดอย่างน้อย ๘ x ๑๕ เซนติเมตร และเวลาที่ปฏิบัติการ (ดังแสดงในรูปที่ 1.15) ง. ป้าย “จุดบริการโดยเภสัชกร” แสดงบริเวณ ที่ปฏิบัติงานโดยเภสัชกร และกิจกรรมอื่นๆ ตามความ เหมาะสม เช่น “รับใบสั่งยา” “ให้ค�ำแนะน�ำปรึกษาโดย เภสัชกร” (ดังแสดงในรูปที่ 1.16 และ 1.17 ตามล�ำดับ) รูปที่ 1.15 ป้ายแสดงรูปถ่ายผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ หน้าเต็มและเวลาที่ปฏิบัติการ รูปที่ 1.16 ป้าย “รับใบสั่งยา” รูปที่ 1.17 ป้าย “ให้ค�ำแนะน�ำ ปรึกษาโดยเภสัชกร”
  • 23. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 23มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ รูปที่ 1.18 รูปเทอร์โมมิเตอร์แบบต่างๆ รูปที่ 1.19 เครื่องวัดความดันแบบต่างๆ รูปที่ 1.20 สายวัดส�ำหรับวัดขนาดสัดส่วน 1.2 อุปกรณ์ 1.2.1 มีอุปกรณ์ในการให้บริการสุขภาพที่ เหมาะสมเพื่อประโยชน์ในการติดตามผลการใช้ยา เช่น - เครื่องชั่งน�้ำหนัก นอกจากเป็น การบริการให้ผู้ที่อยากทราบน�้ำหนักแล้ว ยังเป็นการตรวจ สอบน�้ำหนักของผู้ป่วยให้แน่ใจเพื่อใช้ค�ำนวณขนาดยาให้ ถูกต้อง - ที่วัดส่วนสูง มีประโยชน์ เช่น การค�ำนวณดัชนีมวลกาย (BMI) การเจริญเติบโตในเด็ก เป็นต้น - ที่วัดอุณหภูมิร่างกาย โดยสามารถ ใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบต่างๆที่ใช้ในร้านได้สะดวก เช่น เทอร์โมมิเตอร์แบบตัวเลข (ดังแสดงในรูปที่ 1.18) มี ประโยชน์ในการวัดภาวะไข้ของผู้ป่วย - เครื่องวัดความดันโลหิต อาจใช้แบบ ตัวเลข (ดังแสดงในรูปที่ 1.19) มีประโยชน์ในการคัดกรอง ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง หรือยืนยัน อาการบางอย่างที่มีสาเหตุของภาวะความผิดปกติของความ ดันโลหิต เช่น อาการปวดศีรษะ วิงเวียน หน้ามืด เป็นต้น ควรศึกษาวิธีการใช้เครื่องวัด และการแปรผลให้ได้ถูกต้อง (สามารถศึกษาเพิ่มเติมในแนวทางเวชปฏิบัติโรคความดัน โลหิตสูง สมาคมโรคความดันโลหิตที่ http://www.thai hypertension.org/2008guideline.pdf) อุปกรณ์อื่นๆ ตามกิจกรรมที่ร้านยามี ความพร้อม เช่น - สายวัด ส�ำหรับวัดขนาดเอว (ดังแสดง ในรูปที่ 1.20) ใช้เพื่อพิจารณาความเสี่ยงของภาวะ โรคอ้วนลงพุง metabolic disease ตลอดจนความเสี่ยงต่อ โรคเบาหวาน - ชุดวัดระดับน�้ำตาลในเลือด โดยวิธี เจาะเลือดจากปลายนิ้ว (capillary blood glucose, CBG) โดยใช้เครื่อง glucose meter แบบตัวเลข (ดังแสดงในรูปที่ 1.21) ใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยที่มี ความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ตลอดจนผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ต้องการตรวจสอบระดับน�้ำตาลเบื้องต้นในระหว่าง ท�ำการรักษาจากแพทย์ เภสัชกรควรศึกษาวิธีการใช้เครื่อง ตรวจระดับน�้ำตาลในแต่ละรุ่นจากคู่มือฯ หรือผู้ขาย และ รูปที่ 1.21 เครื่องเจาะวัดน�้ำตาลในเลือดแบบพกพา หมายเหตุ อุปกรณ์ต่างๆ ในการให้บริการสุขภาพควรหมั่น ตรวจสอบอย่างสม�่ำเสมอ ให้มีความถูกต้องแม่นย�ำ ป้องกัน การผิดพลาดในการแปรผล
  • 24. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 24 มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ ฝึกซ้อมการใช้เครื่องให้ช�ำนาญก่อนให้บริการ รวมถึงวิธี การแปรผลเพื่ออธิบายผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง ศึกษาเพิ่ม เติมจากแนวเวชปฏิบัติส�ำหรับโรคเบาหวาน 2554 ที่ http://www.nhso.go.th/NHSOFront/SelectViewItem Action.do?folder_id=000000000000106&item_ id=000000000027532 1.2.2 มีอุปกรณ์นับเม็ดยา จ�ำแนกตามกลุ่มยาที่ จ�ำเป็นในการให้บริการ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีโอกาสแพ้ยา ได้บ่อย เช่น ยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนนิซิลิน ยาซัลโฟนาไมด์ ฯลฯ และมีเครื่องหมายแสดงโดยจ�ำเพาะอย่างชัดเจน (ดังแสดงในรูปที่ 1.22) เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากการ รูปที่ 1.22 ถาดนับเม็ดยา ใช้ยาต่างชนิดกันในถาดนับเม็ดยาอันเดียวกัน ซึ่งมีความ เสี่ยงให้เกิดการแพ้ยาได้โดยไม่ตั้งใจ เช่น การนับเม็ดยา เพนนิซิลินวี ในถาดนับให้กับลูกค้ารายหนึ่งเสร็จ แล้ว มีลูกค้าอีกรายซึ่งเคยมีประวัติแพ้ยาเพนนิซิลินมาขอ ซื้อยาไอบูโพรเฟน เภสัชกรจึงเทยาไอบูโพรเฟนในถาด เดิม แล้วนับเทใส่ซองยา เศษผงจากเม็ดยาเพนนิซิลินวี อาจปนเปื้อนมากับยาไอบูโพรเฟน เมื่อผู้ป่วยรับประทาน ยาแล้วมีอาการแพ้ยาหรืออาจท�ำให้เข้าใจผิดว่าแพ้ยา ไอบูโพรเฟนได้ 1.2.3 มีอุปกรณ์เครื่องใช้ในการให้บริการที่ สะอาด และไม่เกิดการปนเปื้อนในระหว่างการให้บริการ
  • 25. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 25มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ ได้แก่ - การเช็ดท�ำความสะอาดถาดนับเม็ดยา และอุปกรณ์นับด้วยล�ำสีชุปแอลกอฮอล์อย่างสม�่ำเสมอและ ทุกครั้งก่อนจ่ายยาหากพบว่าถาดนั้นมีสิ่งปนเปื้อน ข้อนี้รวม ถึงห้ามใช้มือเปล่าในการหยิบนับเม็ดยา - เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ ที่ใช้อมใต้ลิ้นหรือใช้ ใส่ในรูหู ต้องท�ำความสะอาดทุกครั้งเมื่อใช้เสร็จ และเช็ด ฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ - แก้วน�้ำที่ไว้ให้ผู้รับบริการรับประทานยา ควรใช้แบบครั้งต่อครั้ง ไม่ใช่มีแค่แก้วใบเดียวใช้ด้วยกัน ซึ่งจะมีโอกาสแพร่กระจายเชื้อโรคได้ - ในกรณีที่ใช้เครื่องมือที่มีโอกาสปนเปื้อน เลือด สารคัดหลั่งต่างๆ ที่มีโอกาสติดเชื้อ เภสัชกรหรือ ผู้ปฏิบัติงานควรสวมถุงมือยางเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เช่น สวมถุงมือยาง ช่วยท�ำแผลในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้ ผู้ป่วย (ดังแสดงในรูปที่ 1.23) 1.2.4 มีตู้เย็นเก็บเวชภัณฑ์ที่เป็นสัดส่วนเพียงพอ และมีการควบคุมและบันทึกอุณหภูมิอย่างสม�่ำเสมอ (ดู รายละเอียดเพิ่มเติมที่หัวข้อ 3.1.2) และไม่เก็บรวมกับสิ่ง อื่นๆ ที่ไม่ใช่ยา เช่น การแช่อาหารที่มีกลิ่นไว้ในตู้เย็นที่มี รูปที่ 1.23 การปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยโดยสวมใส่ถุงมือยาง
  • 26. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 26 มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ การเก็บยา (ดังแสดงในรูปที่ 1.24) 1.2.5 มีภาชนะบรรจุยา โดยที่ ก. ยาที่มีไว้เพื่อบริการ ควรอยู่ในภาชนะ เดิมที่มีฉลากครบถ้วนตามที่กฎหมายก�ำหนด ไม่ควรมีการ เปลี่ยนถ่ายภาชนะ หรือถ้ามีเหตุจ�ำเป็นต้องเปลี่ยนถ่าย ภาชนะ ก็ต้องมีข้อความและข้อมูลที่จ�ำเป็นครบถ้วนตาม รูปตู้เย็นภายนอก รูปตู้เย็นภายใน (ยาควรบรรจุในภาชนะป้องกันความชื้น) รูปแสดงกล่องเก็บยาที่ต้องควบคุมอุณหภูมิให้ได้ 2-8 องศา รูปเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิในตู้เย็น รูปที่ 1.24 ตู้เย็นและภายในตู้เย็น
  • 27. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 27มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย เช่น - ไม่ควรถ่ายเทยาเม็ดจากขวดหนึ่งไปใส่ใน ยาอีกขวด ถึงแม้ยานั้นเป็นยาที่มีเลขที่ของการผลิตเดียวกัน เนื่องจากการเปิดใช้ไม่พร้อมกัน การน�ำยาที่เปิดใช้นาน แล้วไปปะปนกับยาที่เพิ่งเปิดใช้ใหม่ อาจมีความเสี่ยงที่มี ยาเสื่อมคุณภาพหากยาเม็ดเก่าตกค้างในขวดยาใหม่เป็น เวลานาน ข. ภาชนะบรรจุยาที่เหมาะสมส�ำหรับ การให้บริการต่อประชาชน ต้องค�ำนึงถึง ปริมาณบรรจุ การป้องกันยาเสื่อมคุณภาพ เช่น - ใช้ซองยาสีน�้ำตาลกันแสง ส�ำหรับยาที่ เสื่อมสลายง่ายจากแสง (ดังแสดงในรูปที่ 1.25) - ใส่ซองบรรจุสารกันชื้น ในขวดยาหรือ กระป๋องในกรณีจ่ายยาเม็ดปริมาณมากใส่ขวดยา - ไม่แกะยาออกจากแผงที่ป้องกันการเสื่อม จากแสงหรือความชื้นลงใส่บรรจุในขวดไว้จ่าย ยกเว้น เตรียมเพื่อความสะดวกของผู้ป่วยบางราย หรือเตรียมเป็น Unit dose รูปที่ 1.25 ซองยาสีชา รูปที่ 1.26 MIMS, MIMS Pharmacy, MIMs Annual, MIMs Annual Identa 1.3 สิ่งสนับสนุนบริการ 1.3.1 มีแหล่งข้อมูล ต�ำรา ที่เหมาะสมในการ ใช้อ้างอิงและเผยแพร่ ได้แก่ หนังสือหรือต�ำรา เช่น - หนังสือเพื่อใช้อ้างอิงหรือค้นหาข้อมูลยา ตลอดจนความรู้พื้นฐานเกี่ยวเภสัชวิทยา drug interaction, adverse reaction (ดังแสดงเป็นตัวอย่าง ในรูปที่ 1.26 ถึง 1.35)
  • 28. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 28 มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ รูปที่ 1.27 Drug Information Handbook รูปที่ 1.28 Drug Facts and Comparisons รูปที่ 1.29 Martindale : The Extra Pharmacopoeia รูปที่ 1.30 Pharmacotherapy : A Pathophysiologic Approach รูปที่ 1.31 Pharmacotherapy Handbook รูปที่ 1.32 Drug interaction facts
  • 29. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 29มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ รูปที่ 1.34 บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2551 และ คู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุผลตาม บัญชียาหลักแห่งชาติ รูปที่ 1.35 หนังสือหรือคู่มือมาตรฐานแนวทางการักษาโรคพื้นฐานเบื้องต้น (common illness) เช่น ต�ำราการตรวจรักษา โรคทั่วไป แนวทางเวชปฏิบัติส�ำหรับโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและหลอดเลือด โรคหืด โรคผิวหนัง ฯลฯ รูปที่ 1.33 Goodman and Gilman’s Manual of Pharmacology and Therapeutics เภสัชกรสามารถหาข้อมูลผ่าน website อื่นๆ ที่รวบรวม ข้อมูลและงานวิจัยโดยตรง เช่น www.cochrane.org หรือ cochrane library ที่ http://thecochranelibrary.com/ http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/ www.clinicalevidence.com www.evidence-basedmedicine.com www.medscape.com การหาแหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ได้แก่ การค้นหาข้อมูลผ่าน search engine เช่น www.google.co.th หรือ www.yahoo.com หรือ www. msn.com ฯลฯ โดยใส่ key word ที่ต้องการทราบ เช่น ถ้าอยากทราบผลของยา paracetamol ที่มีต่อตับ สามารถ พิมพ์ค�ำว่า paracetamol + liver และกด search จะ แสดงข้อมูลทั้งหมดที่เคยมีการรายงานหรือตีพิมพ์ อย่างไรก็ ดีข้อมูลบางอย่างอาจไม่ใช่ข้อมูลเชิงวิชาการโดยตรง ดังนั้น
  • 30. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 30 มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ การหาข้อมูลแนวทางการรักษาต่างๆจาก National Guideline Clearinghouse ได้ที่ www.guideline.gov การหาความรู้ ข้อมูลเกี่ยวโรค ยาและเรื่องสุขภาพอื่นๆ เช่น www.webmd.com www.cdc.gov www.medlineplus.gov www.mercksource.com www.Rxlist.com www.who.int/medicines/ www.fda.gov การหาข้อมูลจากวารสารการแพทย์ที่มีชื่อเสียง เช่น วารสาร British medical Journal ที่ www.bmj.com วารสาร Lancet ที่ www.TheLancet.com วารสาร New England Journal of Medicine ที่ www.nejm.org การหาข้อมูลจากมหาวิทยาลัย สถาบันทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียงและเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ เช่น Stanford School of Medicine ที่ http://healthlibraly.stanford.edu/ Cleveland clinic ที่ http://my.clevelandclinic.org/helth/default.aspx Harvard Medical school ที่ www.intelihealth.com University of Maryland medical center ที่ http://www.umm.edu/ การหาข้อมูลผ่านการดูภาพยนตร์โดยใช้ www.youtube.com www.healthvideo.com http://www.emedtv.com/video.html หรือ สามารถดูการบรรยายวิชาการได้ที่ www.uctv.tv www.researchchannel.org www.cecentral.com หรือ กรณีใช้เพื่อสาธิตรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว (animation) เช่น www.medmovie.com www.nucleusinc.com www.youtube.com/user/nucleusanimation การหาความรู้ผ่านการเสนอผลงาน present slide ที่ www.slideworld.org
  • 31. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 31มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ 1.3.2 มีฉลากช่วย เอกสารความรู้ สนับสนุนการ บริการอย่างเหมาะสม เช่น - สติ๊กเกอร์ หรือ ฉลากเสริม ที่มีข้อความ เกี่ยวกับข้อควรระวัง ผลข้างเคียง วิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง หรือค�ำเตือนอื่นๆ ที่มีประโยชน์ในการใช้ยา (ดังแสดงเป็น ในรูปที่ 1.36) รูปที่ 1.36 สติ๊กเกอร์ หรือ ฉลากเสริม - แผ่นพับแนะน�ำความรู้เรื่องโรค การรักษา การป้องกัน เป็นต้น ส�ำหรับแจกให้ผู้รับบริการ กลับไปอ่าน เป็นการทบทวนหรือกระตุ้นให้สนใจใน การรักษา ตลอดจนการปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง แผ่นพับดังกล่าวร้านยาอาจได้มาจากหน่วย ราชการ องค์กรฯ สถาบันการศึกษา บริษัทยาหรือร้านยา สามารถท�ำขึ้นมาเองตามปัญหา ความส�ำคัญหรือโรคที่พบ บ่อยในชุมชน (ดังรูป 1.37-1.38) โดยควรบรรจุเนื้อหาใน ตัวอย่างค�ำแนะน�ำพิเศษในสติ๊กเกอร์หรือฉลากเสริมส�ำหรับกลุ่มยาต่างๆ ดูได้ในภาคผนวก แผ่นพับที่ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย อาจมีภาพประกอบ และ ไม่บรรจุเนื้อหาที่ยาวเกินจ�ำเป็น หรือมีศัพท์เทคนิคที่ไม่มี ค�ำอธิบาย ตลอดจนควรมีแหล่งที่มาของข้อมูลที่บรรจุ ไว้ในแผ่นพับ ในกรณีแผ่นพับที่ได้สนับสนุนจากบริษัท ยา ควรตรวจสอบเนื้อหาว่าจะไม่มีส่วนที่มุ่งแต่หวังผล การค้ามากเกินไป หรือข้อมูลที่ไม่สามารถพิสูจน์หลักฐาน เชิงประจักษ์ได้
  • 32. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 32 มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ รูปที่ 1.37 ตัวอย่างแผ่นแนะน�ำความรู้แก่ผู้ป่วยในรูปแบบเปิดได้คล้ายปฎิทินตั้งโต๊ะ รูปที่ 1.38 แผ่นพับที่ร้านยาสามารถท�ำขึ้นเองได้เพื่อแนะน�ำผู้ป่วย
  • 33. คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา 33มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ - แนะน�ำสื่ออื่นๆ ที่ช่วยแนะน�ำความรู้ การใช้ยาให้ประชาชนทางเว็บไซต์ เช่น http://www.oryor. com/oryor/index.html จัดท�ำโดยส�ำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา รูปที่ 1.39 การใช้ยาเหน็บทวารหนัก ช่องคลอดและอื่นๆ รูปที่ 1.40 การใช้ยาหยอดยา รูปที่ 1.41 การใช้ยาป้ายตา - รูปภาพส�ำหรับช่วยสาธิตการใช้ยา เช่น การใช้ยาเหน็บทวารหรือช่องคลอด ยาสูด ยาพ่นจมูก ยา หยอดตา ยาป้ายตา การฉีดอินซูลิน เป็นต้น (ดังแสดงเป็น ในรูปที่ 1.39 ถึง 1.41)